Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25155
Title: โครงสร้างการคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศไทย
Other Titles: The structure of industrial protection in Thailand
Authors: บุบผา ตันตระกูล
Advisors: วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาประเทศหนึ่ง ปัญหาที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ในการพัฒนาให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาอื่นๆก็คือ ปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุล และการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ วิธีที่รัฐบาลใช้เพื่อแก้ปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุล ซึ่งสืบเนื่องมาจากดุลการค้าขาดดุล โดยการปรับปรุงระบบอัตราภาษีอากร และส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ เพื่อที่จะสามารถผลิตสินค้าทดแทนสินค้าเข้าและส่งเป็นสินค้าออกได้ จะเห็นว่าปัญหาทั้ง 2 ประการมีความสัมพันธ์กัน เมื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งก็จะส่งผลไปยังอีกปัญหาหนึ่งเป็นลูกโซ่ จึงอาจจะกล่าวรวมๆได้ว่า นโยบายต่างๆของรัฐบาลที่ใช้ในการพัฒนาให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลง ได้แก่ ระบบภาษีอากร การควบคุมสินค้าเข้าและออก นโยบายควบคุมราคาสินค้าและการจัดตั้งอุตสาหกรรมภายในประเทศ การส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ การให้สินเชื่อ การช่วยเหลือสินค้าส่งออก การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น นโยบายต่างๆเหล่านี้มีผลทางด้านการคุ้มครองอุตสาหกรรม มุ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแก่อุตสาหกรรมที่มีต้นทุนการผลิตสูง ในการศึกษานี้จึงมุ่งที่จะวัดอัตราการคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศไทย ในปี 2518 โดยใช้นโยบายภาษีอากรและนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ทางด้านภาษีอากรเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ เพื่อที่จะดูว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวจะมีผลต่อโครงสร้างการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือไม่เพียงใด อุตสาหกรรมแต่ละแห่งได้รับอัตราการคุ้มครองมากหรือน้อยเท่าใด ซึ่งในการวิเคราะห์นี้จะแบ่งอุตสาหกรรมออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมทดแทนสินค้าเข้า อุตสาหกรรมภายในประเทศ อุตสาหกรรมส่งออก การวัดอัตราการคุ้มครองอุตสาหกรรมจะวัดทั้ง nominal protection rate (NPR) และ effective protection rate (EPR) ซึ่ง NPR คือ เปอร์เซ็นต์ของความแตกต่างระหว่างราคาของผู้ผลิตภายในประเทศกับราคาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไม่มีมาตรการคุ้มครองและ EPR คือ เปอร์เซ็นต์ของความแตกต่างระหว่างมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมภายในประเทศ กับมูลค่าเพิ่มที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไม่มีมาตรการคุ้มครอง การวัด EPR จะเหมาะสมกว่า NPR ในการวัดการคุ้มครอง เพราะ NPR จะวัดเฉพาะอัตราการคุ้มครองของผลผลิตเท่านั้น แต่ EPR จะวัดอัตราการคุ้มครองต้นทุนของวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในการผลิตด้วย ในการคำนวณ EPR จะใช้ทั้งวิธีของ Balassa และ Corden ทั้ง 2 วิธีจะต่างกันที่ข้อสมมติฐานเกี่ยวกับต้นทุนของปัจจัยการผลิตประเภท non-traded เนื่องจากมีการคุ้มครองอุตสาหกรรม ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นจริง (actual exchange rate) สูงกว่าค่าที่เป็นจริง (overvaluation) จึงต้องทำการปรับให้เป็นอัตราแลกเปลี่ยนในกรณีที่มีการค้าเสรี (free trade exchange rate) และทำการวัด net NPR และ net EPR ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการผลิตของอุตสาหกรรม นอกจากนี้ก็ยังมีการวัดอัตราของการส่งเสริมอุตสาหกรรม (promotion effect) เพื่อที่จะดูว่าแต่ละอุตสาหกรรมได้รับการส่งเสริมแตกต่างกันอย่างไร และมีการวัดอัตราการทดแทนสินค้าเข้า (import substitution rate) เพื่อจะพิจารณาว่า นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมทดแทนสินค้าเข้าซึ่งเป็นนโยบายหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมได้รับผลสำเร็จเพียงใด ผลของการวิเคราะห์โดยทั่วไปจะสรุปได้ว่า อุตสาหกรรมภายในประเทศจะได้รับการคุ้มครองมากกว่าอุตสาหกรรมทดแทนสินค้าเข้าและอุตสาหกรรมส่งออกอย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมส่งออกก็เริ่มที่จะได้รับความสนใจจากรัฐบาลมากขึ้น เมื่อพิจารณาจากค่าของอัตราการส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งออกซึ่งสุงกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งออก นอกจากนี้ค่าของ net NPR ยังแสดงให้เห็นว่าเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออกเท่านั้นที่มีประสิทธิภาพในการผลิต ส่วนอัตราการทดแทนสินค่าข้าวของอุตสาหกรรมทดแทนสินค้าเข้าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ผลที่ได้เหล่านี้อาจจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลในการจัดทำนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมในปีต่อๆไป
Other Abstract: As Thailand is one of those developing countries, the quests for industrialization, like others, are deficits in balance of payment and domestic industrial development. Thai government has been solving the deficits in balance of payment derived from deficits in balance of trade through changing tariff rates and promoting local industrial products to substitute imports and increase exports. The two major problems encountered are related in a way that once one problem has been solved, it can feed the effects back on the other. By and large, the policies have been used by the government since the and of the second world war are taxation; import-export, price and industry control; credit subsidization; export promotion, industrial promotion and exchange control. These policies of course affect industrial protection and increase the efficiency of high cost industries. This study intends to measure the protection rates of Thai industries in 1975 by using tariff and industrial promotion policies which give privileges on taxes and to examine whether change in the policies will affect the structure of industrial development, how and how much each industry is protected. According to the study, industries are classified into three groups namely import competing industries, non import competing industries and export industries. Nominal and effective protection rates are used to measure the industrial protection. The nominal rate of protection in the percentage excess of domestic price over the price when protective measures have not been applied. The effective rate of protection is the percentage difference in domestic value added due to protective measures and free trade world value added. The effective protection is considered to be a more appropriate measure because it takes into account the effects of nominal protection on the prices of both the outputs and inputs while the nominal protection neglects the inputs. The effective rate of protection will be measured according to Balassa and Corden methods which differs in the treatment of non-traded inputs. Due to the existence of protection, it implies an overvalued exchange rate compared to the situation under free trade. This makes it necessary to find the nominal and effective rates at the free trade exchange show the efficiency of industries. The promotion effect and import substitution rate are included in this analysis to measure the degree of promotion which each industry has recieved, and prove the success of import substitution policy which is the most import ant policy in industrial development. In brief, non import competing industries gain more protection than import competing and export industries. However, the promotion effect of export industries indicates the government's attention of export industrial promotion Net effective rate of protection shows that only export industries have efficiency in producing and the rate of import substitution of import competing group is in the satisfactory level. In any case, it has been hoped that the results will be useful for the government to develop industrial development policies in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25155
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Buppha_Tu_front.pdf511.55 kBAdobe PDFView/Open
Buppha_Tu_ch1.pdf577.95 kBAdobe PDFView/Open
Buppha_Tu_ch2.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Buppha_Tu_ch3.pdf698.22 kBAdobe PDFView/Open
Buppha_Tu_ch4.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Buppha_Tu_ch5.pdf520.64 kBAdobe PDFView/Open
Buppha_Tu_back.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.