Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25454
Title: การใช้แผนการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต : การศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดลพบุรี
Other Titles: The use of lesson plan in the area of life experiences : a case study of Changwat Lop Buri
Authors: วิไล ทองแผ่
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเชิงประเมินสภาพการใช้แผนการสอน ประเมินปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการใช้แผนการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2528 ซึ่งเป็นการศึกษาในลักษณะเฉพาะกรณีจังหวัดลพบุรี โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นศึกษานิเทศก์จังหวัด 7 คน ศึกษานิเทศก์อำเภอ 22 คน ผู้บริหารโรงเรียน 10 คน ครูผู้สอน 16 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต รวมทั้งสิ้น 6 ชุด พร้อมทั้งคัดลอกข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลัง ลักษณะของโรงเรียนและลักษณะของนักเรียนในจังหวัดลพบุรี จากหน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัดลพบุรี นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการคำนวณค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการใช้แผนการสอน 1.1 ครูผู้สอนใช้แผนการสอนประกอบการสอนร้อยละ 100 ตามความเห็นของครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียน และร้อยละ 84.38 ตามการสังเกตของผู้วิจัย โดยเฉลี่ยแล้วใน 1 สัปดาห์ใช้แผนการสอนทุกครั้งที่สอนร้อยละ 68.75 ตามความเห็นของครูผู้สอน 1.2 ขั้นตอนและลักษณะการใช้แผนการสอน ครูผู้สอนสอนตามเนื้อหาในแผนการสอนโดยไม่กำหนดเวลามากที่สุดร้อยละ 40.63 สอนโดยวิธีบรรยายมากที่สุดร้อยละ 37.50 สอนให้นักเรียนเกิดความความคิดรวบยอดโดยบอกความคิดรวบยอดให้และให้นักเรียนจำมากที่สุดร้อยละ 71.88 ไม่ได้ให้นักเรียนปฏิบัติจริงร้อยละ 75 เป็นกระบวนการกลุ่มร้อยละ 53.13 สอนข่าว เหตุการณ์และวันสำคัญสม่ำเสมอตลอดปีร้อยละ 75 และไม่ได้ทำการประเมินผลร้อยละ 40.62 1.3 การใช้วิทยุโรงเรียนประกอบแผนการสอน ครูผู้สอนไม่ใช้วิทยุโรงเรียนประกอบแผนการสอน ร้อยละ 75 ตามความเห็นของครูผู้สอน 1.4 การใช้หนังสือเรียนประกอบแผนการสอน ครูผู้สอนสอนโดยใช้หนังสือเรียนของกรมวิชาการประกอบการสอนทุกเล่มรวมทั้งหนังสือแบบทดสอบตามจุดประสงค์ร้อยละ 100 ตามความเห็นของครูผู้สอน 1.5 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนการสอนเป็นแนวทางในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับปานกลาง 1.6 ความรู้ ความเข้าใจตามวัตถุประสงค์กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของนักเรียนตามการรับรู้ของครูผู้สอน อยู่ในระดับปานกลาง 1.7 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต จัดได้สอดคล้องในระดับมาก 2. ปัญหาการใช้แผนการสอน 2.1 ปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการและสาระทางวิชาการ/เฉพาะแขนง ครูผู้สอนมีความเห็นว่า เป็นปัญหาน้อย 2.2 ปัญหาด้านความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนมีความเห็นว่าเป็นปัญหาน้อยและพฤติกรรมในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง 2.3 ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตรและการใช้แผนการสอนที่เป็นปัญหามากได้แก่ด้านเนื้อหา กิจกรรม หนังสืออ้างอิง ภาคผนวก การใช้วิทยุโรงเรียนประกอบแผนการสอน การใช้หนังสือเรียนประกอบแผนการสอน 2.4 ปัญหาการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนส่งเสริมทางวิชาการของศึกษานิเทศก์ที่เป็นปัญหามากได้แก่ ครูผู้สอนไม่มีโอกาสไปขอคำแนะนำจากศึกษานิเทศก์ ศึกษานิเทศก์ขาดการติดตามและประเมินผล ด้านการใช้สื่อการเรียนและไม่จัดให้มีการอบรมเรื่องการประเมินผล 2.5 ปัญหาการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนส่งเสริมทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ที่เป็นปัญหามากได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนจัดแผนการสอนให้ไม่เพียงพอกับความต้องการของครู ขาดการติดตามประเมินผลด้านการใช้แผนการสอนของครู หลังจากที่ส่งครูไปอบรมแล้วก็มิได้ให้ครูผู้นั้นกลับมาเผยแพร่ให้ครูในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตทราบ จัดสื่อการเรียนยังไม่เพียงพอกับความต้องการของครู และขาดการติดตามประเมินผลในเรื่องการประเมินผลการสอนของครู 3. ข้อเสนอแนะในการใช้แผนการสอนของครูผู้สอน พบว่า 1. ต้องการให้ลดเนื้อหาลงทุกหน่วยการเรียน หรืออาจจะเพิ่มจำนวนคาบเรียนให้มากขึ้นอีก 2. ต้องการให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องสื่อการเรียน จัดสื่อการเรียนให้เพียงพอ 3. ต้องการให้เพิ่มภาคผนวกในเรื่องของเนื้อหา การผลิตสื่อการเรียน เกม และเพลง 4. ต้องการให้ลดจุดประสงค์ในหลักสูตรให้น้อยลง
Other Abstract: This research was a case study of Pratopmsuka 6 student in Changwat Lop buri in the area of life experiences teachers’ lesson plan using in the academic year 1985. The purposes of this study were: 1. To evaluate the situations of using the lesson plan. 2. To find out the lesson plan using problems. There were 4 groups of samples: (1) 7 changwat educational supervisors (2) 22 amphoe educational supervisors (3) 10 school administrators and (4) 16 teachers. The data were collected by using of questionnaires, interviewing and observation. Besides this, the schools and the students bachground descriptions were collected from the office of the changwat educational supervisors. The data were analyzed by using Mean , Standard Deviation, Frequency Distribution and Percentage. The finding of this research were as follow: 1. The lesson plan using situations 1.1 According to the school administrators and teachers’ opinions, 100 percent of the teachers used the lesson plan. But from researcher’s observation, 84.38 percent of them did and according to the teachers’ opinions, 68.75 percent of the teachers used the lesson plan every time they taught in average a weekday. 1.2 About the steps and methods of using the lesson plan were found out that: According to the teachers’ opinions, 40.63 percent of the teachers followed the subject matters in the lesson plan, 37.50 percent used lecture method, 71.88 percent did not prvide direct experience to their students, 53.13 percent used the group process technique, 75 percent always taught about news, circumstance and memorial day all year round and 40.62 percent did not evaluated. 1.3 According to the teachers’ opinions, 75 percent of the teachers did not use school radio programmes for supplementing the lesson plan. 1.4 According to the teachers’ opinions, 100 percent of the teachers used the text books and work books from the academic Department. 1.5 The using of the lesson plan in the teaching and learning process was rated “Mediam”. 1.6 According to the teacher’s opinions, the affective domain understanding of the students was rated “Mediam.” 1.7 The serving objectives of the school teaching and learning activities was rated “fair.” 2. The lesson plan using Problems. 2.1 The principles and the subject matters knowledges problem of the teacher was rated “little” 2.2 The knowledges and the capacities of helding teaching and learning activities problem was rated “little” But the behavior of teaching and learning problem was rated “mediam”. 2.3 Subject matters, activities, referenceses, appendixes, school radio Programmes and text books using with the lesson plan were the main problems of curriculum and lesson plan usage. 2.4 Lacking of opportunity of teachers to request advices from educational supervisors, no follow up and evaluation in using instructional media from educational supervisors, and no work shop in evaluating system were the main problems of the academic helping and supporting from the educational supervisors. 2.5 Not enough provided plans, no lesson plan using follow up and evaluation, no knowledges and experiences contribution from the trained teachers, not enough instructional media and evaluation of the teacher evaluation system were the academic supported from school administrators problems 3. Teachers’ suggestions for using the lesson plan. 3.1 Each unit, subject matters should be decreased or learning time should be increased. 3.2 Instructional media in the lesson plan book should be sufficiently provided. 3.3 Instructional media production process should be added as appendixes in the lesson plan books. 3.4 Objectives in the curriculum should be decreased.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25454
ISSN: 9745668451
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vilai_To_front.pdf704.36 kBAdobe PDFView/Open
Vilai_To_ch1.pdf650.62 kBAdobe PDFView/Open
Vilai_To_ch2.pdf871.55 kBAdobe PDFView/Open
Vilai_To_ch3.pdf694.5 kBAdobe PDFView/Open
Vilai_To_ch4.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_To_ch5.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_To_back.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.