Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25787
Title: ผลของการใช้ตัวแบบภาพยนตร์ต่อพฤติกรรมการตั้งใจเรียนในห้องเรียน ของนักเรียนชั้นประถมปีที่หนึ่ง สถานแรกรับเด็กหญิงพญาไท
Other Titles: Effects of using film modeling on learning attention behaviors in the classroom of prathom one pupils at Phayathai Reception Home for Girls
Authors: วิศสุณี แทนประเสริฐสุข
Advisors: สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของการใช้ตัวแบบภาพยนตร์ต่อพฤติกรรมการตั้งใจเรียนในห้องเรียนของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 สถานแรกรับเด็กหญิงพญาไท จำนวน 10 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 5 คน และกลุ่มควบคุม 5 คน เป็นนักเรียนที่มีพฤติกรรมการตั้งใจเรียนน้อยในชั่วโมงเรียนวิชาภาษาไทย จากรายชื่อที่ครูประจำชั้นผู้สอนวิชาภาษาไทยเสนอ และจากการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของผู้วิจัย การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ใช้การวิจัยแบบก่อนทดลอง ระหว่างทดลอง และติดตามผลแบบมีกลุ่มควบคุม (ABF Control Group Design) โดยระยะก่อนทดลอง (A) เป็นระยะหาเส้นฐานพฤติกรรมการตั้งใจเรียนในห้องเรียน ระยะระหว่างทดลอง (B) เป็นระยะให้ตัวแบบภาพยนตร์แก่นักเรียนในกลุ่มทดลอง และระยะติดตามผล (F) เป็นระยะติดตามผลการทดลองหลังการให้ตัวแบบภาพยนตร์ใช้เวลาทดลองทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ ระยะก่อนทดลองและระยะระหว่างทดลองใช้ระยะเวลาละ 2 สัปดาห์ แล้วหยุดการทดลอง 1 สัปดาห์ ต่อมาเป็นระยะติดตามผลซึ่งใช้เวลา 1 สัปดาห์ โดยทำการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมสัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ผลการทดลองปรากฏว่าการใช้ตัวแบบภาพยนตร์สามารถเพิ่มพฤติกรรมการตั้งใจเรียนในห้องเรียนของนักเรียนในกลุ่มทดลองได้ทั้งในระยะระหว่างทดลองและระยะติดตามผล
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of using film modeling on the learning attention behaviors of students. The subjects included 10 pupils from Prathom One at Phayathai Reception Home for Girls. The subjects were devided into two groups, the experimental group and the control group. They were pupils who, on the basis of observation by their teacher of Thai and by the researcher, showed low attention in Thai class. The experiment was divided into three phases according to the ABF Control Group Design. A was the baseline phase, B was the film showing of modeling phase and F was the follow-up phase. The esperiment was carried over A period of six weeks : both A phase and B phase lasted two weeks each; after an interval of one week the F phase was carried out for another week. The behaviors were observed and recorded for a period of thirty minutes each time, four times a week. The findings indicate that film modeling increases classroom learning attention behaviors among the pupils in the experimental group during the film showing of modeling as well as during the follow-up phase.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25787
ISBN: 2529
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vissunee_Th_front.pdf423.08 kBAdobe PDFView/Open
Vissunee_Th_ch1.pdf773.27 kBAdobe PDFView/Open
Vissunee_Th_ch2.pdf381.62 kBAdobe PDFView/Open
Vissunee_Th_ch3.pdf489.5 kBAdobe PDFView/Open
Vissunee_Th_ch4.pdf331.52 kBAdobe PDFView/Open
Vissunee_Th_ch5.pdf311.6 kBAdobe PDFView/Open
Vissunee_Th_back.pdf916.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.