Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25972
Title: การวิเคราะห์ทางการเงินของอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ในประเทศไทย
Other Titles: A financial analysis of tyre industry in Thailand
Authors: สรศักดิ์ นันทมนตรี
Advisors: วิรัช อภิเมธีธำรง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาถึงการวิเคราะห์ทางการเงินของอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ในประเทศไทย โดยอาศัยงบการเงินซึ่งได้มาจากข้อมูลของทางราชการคือ กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ ในช่วงระหว่างปี 2519 – 2522 มาศึกษาถึงฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนของแต่ละบริษัทและทั้งอุตสาหกรรม รวมทั้งการศึกษาถึงโครงสร้างโดยทั่วไปและบทบาทของรัฐบาลที่มีต่ออุตสาหกรรมนี้ เช่น ความเป็นมาของอุตสาหกรรมการผลิต การตลาด ฯลฯ เป็นต้น จากการศึกษาทำให้ทราบว่า อุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่และยังเป็นการทดแทนการนำเข้าและเพื่อการส่งออกอีกด้วย ซึ่งวัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องสั่งซื้อมาจากต่างประเทศแล้วนำมาผลิตเป็นสินค้าขึ้น อุตสาหกรรมนี้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลในช่วงระยะเวลาหนึ่งในอดีต จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2515 ซึ่งมีเพียง 4 บริษัทเท่านั้นที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และได้หยุดกิจการไป 1 บริษัทในปี 2520 ส่วนผู้ผลิตที่ก่อตั้งขึ้นภายหลังไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลอีก บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะได้รับความชวยเหลือและปกป้องอุตสาหกรรมจากรัฐบาลโดยการที่รัฐบาลเรียกเก็บภาษีอากรสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้าและภาษีการค้าในอัตราที่ต่ำ และได้มีการตั้งกำแพงภาษีสำหรับการนำยางรถยนต์จากต่างประเทศเข้ามาอีกด้วย อันเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจำกัดการแข่งขันของยางรถยนต์จากต่างประเทศอีกด้วย แต่กำแพงภาษียังคงไม่สูงเพียงพอ จึงยังคงมียางรถยนต์จากต่างประเทศเข้ามาแย่งตลาดในประเทศ นอกจากนี้รัฐบาลควรจะส่งเสริมให้มีการผลิตวัตถุดิบที่สำคัญต่อการผลิตที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศให้มีการผลิตขึ้นเองในประเทศ อันเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมนี้ลงได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าแข่งขันกับต่างประเทศได้ เพราะว่ามีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ทั้งยังเป็นการช่วยให้ประหยัดเงินตราต่างประเทศในการที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศและช่วยลดดุลการค้าที่ขาดดุลอยู่ให้ลดน้อยลงได้อีกด้วย ทางด้านฐานะการเงินนั้น ได้ใช้วิธีวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญของแต่ละบริษัทในอุตสาหกรรมนี้แล้วนำมาเปรียบเทียบกันในแต่ละบริษัทและเปรียบเทียบกับของอุตสาหกรรมว่าเป็นอย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ วิเคราะห์สภาพคล่อง สภาพเสี่ยง ความสามารถในการหากำไร และสมรรถภาพในการดำเนินงาน ผลจากการวิเคราะห์ปรากฏว่า ทางด้านสภาพคล่องบริษัทไทยบริดจสโตน จำกัด ดีที่สุด รองลงมาได้แก่บริษัท ยางไฟร์สโตน(ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท กู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย) จำกัด ทางด้านสภาพเสี่ยง บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด มีสภาพเสี่ยงต่ำสุด รองลงมาแก่ บริษัท ยางไฟร์สโตน(ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทกู๊ดเยียร์(ประเทศไทย) จำกัด ทางด้านความสามารถในการหากำไร บริษัท ยางไฟร์สโตน (ประเทศไทย) จำกัดดีที่สุด รองลงมาได้แก่ บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด และบริษัท กู๊ดเยียร์(ประเทศไทย) จำกัด และทางด้านสมรรถาพในการดำเนินงาน บริษัท ยางไฟร์สโตน(ประเทศไทย) จำกัด ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด และบริษัท กู๊ดเยียร์(ประเทศไทย) จำกัด เมื่อนำมาพิจารณารวมๆกันแล้ว จะพบว่า อัตราส่วนถัวเฉลี่ยของอุตสาหกรรมทางด้านการเงินนั้น กล่าวได้ว่าเป็นที่น่าพอใจไม่ว่าจะพิจารณาทางด้านใดจึงสามารถดึงดูดนักลงทุนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วยังได้มีการวิเคราะห์ถึงแนวโน้มทางการเงินบางอัตราส่วนที่สำคัญของแต่ละบริษัทและของอุตสาหกรรม เพื่อให้เห็นการเคลื่อนไหวทางการเงินของแต่ละบริษัทและของอุตสาหกรรมเมื่อเปรียบเทียบกัน ในช่วงระหว่างปี 2519 – 2522 อีกด้วย ทางด้านการบริหารเงินทุนนั้น ทำการศึกษาโดยวิเคราะห์จากโครงสร้างของเงินทุนและงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนของแต่ละบริษัทและของทั้งอุตสาหกรรม ปรากฏว่า โครงสร้างเงินทุนของบริษัท ยางไฟร์สโตน(ประเทศไทย) จำกัด ส่วนใหญ่มาจากส่วนของเจ้าของเฉลี่ยแล้วประมาณ 57 % และเป็นส่วนของหนี้สิ้นระยะสั้นประมาณ 43% หนี้สินระยะสั้นส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้าและค่าใช้จ่ายค้างจ่าย โครงสร้างเงินทุนของบริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด ส่วนใหญ่มาจากส่วนของเจ้าของเช่นกัน ซึ่งมีจำนวนมากถึงประมาณ 80% และส่วนของหนี้สินประมาณ 20% เป็นหนี้สินระยะสั้นเกือบทั้งหมด ยกเว้นปี 2519 และปี 2520 มีหนี้สินระยะยาวในการผ่อนชำระหนี้เครื่องจักรฯประมาณปีละ 1.5% สำหรับหนี้สินระยะสั้นนั้นส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้า ตั๋วเงินจ่ายและภาษีเงินได้ค้างจ่าย ส่วนบริษัท กู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย) จำกัด นั้น มีเงินทุนส่วนใหญ่มาจากหนี้สินเฉลี่ยแล้วประมาณ 63% ซึ่งเป็นหนี้สินระยะสั้นทั้งหมดและส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยืมและเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมจากบริษัทในเครือ สำหรับโครงสร้างของเงินทุนของอุตสาหกรรมนั้น ส่วนใหญ่เป็นเงินทุนส่วนของเจ้าของเฉลี่ยแล้วประมาณ 62% และเป็นส่วนของหนี้สินระยะสั้นเกือบทั้งหมดเฉลี่ยแล้วประมาณ 38% สำหรับวิธีการจัดหาเงินทุนนั้นพบว่า อุตสาหกรรมยังมีวิธีการจัดหาและใช้ไปของเงินทุนไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ดี กล่าวคือ ในช่วงปี 2520 และปี 2521 นั้น อุตสาหกรรมฯ ได้มีการนำเงินทุนจากแหล่งระยะยาวไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ทำให้อุตสาหกรรมมีสภาพคล่องสูง มีความเสี่ยงน้อย แต่ผลตอบแทนที่ได้รับย่อมต่ำด้วย เพราะว่าเงินทุนจากแหล่งระยะยาวมีต้นทุนที่สูงและการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนให้รายได้ไม่มากนักอีกด้วย ส่วนในช่วงปี 2522 นั้น อุตสาหกรรมมีการนำเงินทุนจกแหล่งระยะสั้นไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ทำให้อุตสาหกรรมอาจประสบปัญหาในเรื่องสภาพคล่องได้ และมีความเสี่ยงในการที่จะต้องชำระหนี้คืนให้ทันภายในกำหนดระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้เพราะว่าอุตสาหกรรมอาจจะไม่สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์ถาวรให้เป็นเงินสดได้ทันก็ได้ อย่างไรก็ตามเราจะพบว่า อัตราผลตอบแทนของอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง แต่ก็ยังเป็นอัตราที่น่าพอใจ ทั้งนี้เพราะต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ราคาไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้เท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เพราะว่าเป็นสินค้าควบคุมชนิดหนึ่งนอกจากนี้ยังพบว่าได้มีการเตรียมพร้อมที่จะผลิตเพิ่มสำหรับความต้องการในอนาคตไว้ด้วยแล้ว โดยที่ปัจจุบันได้มีการใช้กำลังการผลิตอย่างเกือบเต็มกำลังอยู่แล้ว เมื่อรวมกำลังการผลิตทั้งบริษัทเล็กๆที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเข้ามาด้วยกันแล้ว จะมีปริมาณการผลิตรวมใกล้เคียงกับปริมาณความต้องการของตลาดอย่างมาก ถ้าดูจากแนวโน้มของรถยนต์ที่จดทะเบียน (รูปที่ 11 )จะพบว่า รถยนต์บรรทุกและรถอื่น ๆ ที่มิใช่รถยนต์นั่ง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตลอดช่วงที่ทำการวิเคราะห์ ซึ่งผู้ผลิตควรให้ความสนใจยางรถยนต์ประเภทบรรทุกและอื่น ๆ ที่มิใช่รถยนต์นั่งให้มากขึ้น แต่ถ้าหากไม่สามารถหาตลาดต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ก็ไม่ควรที่จะลงทุนตั้งโรงงานผลิตยางฯขึ้นใหม่
Other Abstract: The Thesis studies the financial aspects of tyre industry in Thailand. The source of data is mainly the financial statements collected from the Department of Commercial Registration, the Ministry of Commerce during 1976 to 1979. The purposes of the study were on the firm’s and the industry’s financial status, the operation, sources and uses of funds. In addition, the general structures of the industry and the role of the government to this industry such as the history of the industry, production, and marketing were studied. The study revealed that the tyre industry produced goods mainly for domestic demand as well as import substitution and exportation by importing necessary raw material from abroad. This industry was granted promotion by the government until June, 1962. Only four firms were granted promotion and one of them was repealed in 1977. The other firms, exhibited after the four firms above, were not granted promotion by the government. The government granted and protected the industry, by charging a low rate of custom duty for imported raw materials and business tax, and through tariff for imported tyre. But the tariff is not high enough to limit the tyre from aboard. Besides the government should encourage domestic firms to produce the important raw materials locally in stead of importing from aboard. It will decrease the cost of production and will be able to compete aboard. Hence, it will save the foreign exchange from importing raw material and reduce the deficit balance of trade. The financial analysis aspect of the industry was studied by comparing the important financial ratios of each firm in the industry and with the industry as a whole. The analysis was concentrated on four aspects: liquidity, leverage, profitability, and efficiency. In terms of liquidity, Thai Bridgestone Co., Ltd., was the best, and followed by Firestone (Thailand) Co., Ltd., and Goodyear (Thailand) Co., Ltd., respectively. In terms of leverage, Thai Bridgestone Co., Ltd., had the lowest risk and followed by Firestone (Thailand) Co., Ltd., and Goodyear Thailand) Co., Ltd., respectively. In terms of profitability, Firestone (Thailand) Co., Ltd., was the most profitable firm and followed by ThaiBridgestone Co., ltd., and Goodyear (Thailand)Co., Ltd., respectively. In terms of efficiency, Firestore (Thailand) Co., Ltd., was the most efficient firm and followed by Thai Bridgestone Co., Ltd., and Goodyear (Thailand) Co., Ltd., respectively. For the whole industry the average financial ratios of the industry were satisfied and rather attractive to the investors. Morever, trend analysis of financial ratios was studied in order to compare the movement of each firm’s financial ratios with the whole industry during 1976 to 1979. Fund management of the industry was studied by analyzing the capital structure and sources and uses of funds statement for each firm and the whole industry. The analysis indicated that: The capital structure of Firestone (Thailand) Co., Ltd., was composed of equity averaging 57% and of short-term liability averaging 43%. The capital structure of Thai Bridgestone Co., Ltd., was composed of equity averaging 80% and of short-term liability averaging 20%. Except in 1976-1977 they were long-term liability averaging 1.5 % each year for machinery installment payment. The capital structure of Goodyear (Thailand) Co., Ltd., was mainly composed of short-term Liability averaging 63% in the form of loans overdraft from banks and loans from subsidiary companies. For the capital structure of the industry was mostly composed of equity averaging 62% and of short-term liability averaging 38%.For the financing method of the industry, this study indicated that the financing method was not suitable in 1977-1978 because long-term loans were used to finance temporary assets. This brought about high degree of liquidity and low degree of risk and the return was lower because of cost of long-term loan was high while the return of temporary asset was usually low. In 1979 the short-term loans were used to finance permanent assets. This brought about low degree of liquidity and high degree of risk since the maturity of short-term loans was less than a year while the industry might not be able to convert permanent assets into cash on time. However, the analysis indicated that rate of return of tyre industry in Thailand was declining but it was a satisfactory rate. The cost of production increased steadily, but the price could not be raised equal to the increasing cost since it was controlled by the government. Besides the study indicated that the three firms have been prepairing to increase their productivity for the increasing demand in the future. At present the capacity of production is almostly full. When combining the capacity of the granted with non-granted promotion firms revealed that the quantity of supply and the quantity of demand is almost equal. From figure 11, the number of cars registered besides passenger cars had the tendency to increase during the period of study. The tyre manufacturers should concentrate on producing more tyres for trucks and other cars.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การธนาคารและการเงิน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25972
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sorasuk_Na_front.pdf586.57 kBAdobe PDFView/Open
Sorasuk_Na_ch1.pdf287.61 kBAdobe PDFView/Open
Sorasuk_Na_ch2.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Sorasuk_Na_ch3.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Sorasuk_Na_ch4.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Sorasuk_Na_ch5.pdf356.65 kBAdobe PDFView/Open
Sorasuk_Na_back.pdf690.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.