Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27488
Title: ความคิดเห็นของครูภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษา เกี่ยวกับแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
Other Titles: Opinions of secondary school English teachers concerning the communicative approach in English language teaching
Authors: อุไรวรรณ ศฤงคาร์นันท์
Advisors: สุมิตร คุณานุกร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจของครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเกี่ยวกับแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจของครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเกี่ยวกับแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร ตลอดจนหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยครูภาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวนทั้งสิ้น 900 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและสอบความรู้ความเข้าใจรวม 2 ฉบับ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง แบบสอบถามและแบบสอบนี้ได้ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิฉบับละ 5 ท่าน และมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .87 ค่าความเที่ยงของแบบสอบเท่ากับ .74 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า F จากการศึกษาความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจของครูภาษาอังกฤษในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ปรากฎดังนี้ 1. เกี่ยวกับความคิดเห็นต่อแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร ครูภาษาอังกฤษส่วนให้มีความเห็นด้วยในระดับมากกว่า แนวการสอนเพื่อการสื่อสารเหมาะกับสภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย แนวการสอนเพื่อการสื่อสารช่วยให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษมีประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม และกล้าแสดงออกในการพูดและโต้ตอบเป็นภาอังกฤษ นักเรียนเห็นประโยชน์ของแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร และสามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในการประกอบอาชีพและในการศึกษาต่อ แนวการสอนเพื่อการสื่อสารเป็นการสอนภาษาโดยยึดหลักการเรียนรู้และการรับรู้ตามธรรมชาติ และครูภาษาอังกฤษส่วนใหญ่มีความเห็นในระดับมากกว่า แนวการสอนเพื่อการสื่อสารไม่เหมาะกับชั้นเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมากเกินไป แนวการสอนเพื่อการสื่อสารทำให้นักเรียนขาดความแม่นยำในด้านกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ แนวทางการสอนเพื่อการสื่อสารต้องใช้ทั้งกิจกรรมและการสร้างสถานการณ์ทำให้ครูต้องเสียเวลามากครูภาษาอังกฤษเองยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับแนวการสอนเพื่อการสื่อสารดีพอที่จะจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นครูยังไม่มีชั่วโมงสอนมาก ทำให้ไม่มีเวลาจัดเตรียมกิจกรรมตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร และแนวการสอนเพื่อการสื่อสารเหมาะสำหรับนักเรียนเก่งเท่านั้น 2. เกี่ยวกับระดับชั้นที่ควรเริมใช้การสอนเพื่อการสื่อสาร ครูภาษาอังกฤษส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยในระดับมากกว่า ควรเริ่มใช้แนวการสอนเพื่อการสื่อสารในระดับประถมศึกษา เนื่องจากเป็นระดับเริ่มแรกของการเรียนภาษาอังกฤษ นักเรียนจึงควรเริ่มพัฒนาทักษะการใช้ภาษาตั้งแต่ต้น นอกจากนั้นนักเรียนวัยนี้มักเกิดความเพลิดเพลินกับการเรียนที่ตนมีโอกาสร่วมทำกิจกรรมมาก 3.เกี่ยวกับความสอดคล้องของแนวการสอนเพื่อการสื่อสารกับหลักสูตรแบบเรียนและการประเมินผลการเรียนภาอังกฤษ ครูภาษาอังกฤษส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยในระดับมากกว่า แนวการสอนเพื่อการสื่อสารสอดคล้องกับหลักสูตรภาษาอังกฤษในปัจจุบัน จุดประสงค์ของหลักสูตรเน้นการพัฒนาความสามารถในการ สื่อสารของนักเรียนแบบเรียนภาษาอังกฤษมีความสอดคล้องกับแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร และภาษาที่ใช้ในแบบเรียนเป็นภาษาที่ใช้ได้จริงในการสื่อสาร แต่การประเมินผลการเรียนภาษาอังกฤษยังไม่สอดคล้องกับแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร 4. จากการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาในส่วนกลางและภูมิภาคเกี่ยวกับแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร พบว่า ครูภาษาอังกฤษมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5. เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาต่อแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร พบว่า ครูภาษาอังกฤษส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวการสอนเพื่อการสื่อสารในระดับปานกลาง 6. จากการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูภาษาอังกฤษในส่วนกลางและภูมิภาคเกี่ยวกับแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร พบว่า ครูภาษาอังกฤษมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวการสอนเพื่อการสื่อสารไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 7. ครูภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ครูผู้สอนควรได้รับการอบรมเกี่ยวกับแนวการสอนเพื่อการสื่อสารอย่างทั่วถึง ควรมีการประสานงานกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและมัธยมศึกษาในการจัดหลักสูตรและการประเมินการเรียนภาษาอังกฤษจำนวนนักเรียนในแต่ละชั้นและชั่วโมงสอนของครูไม่ควรมีมากเกินไป จึงจะสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ครูภาษาอังกฤษมีความเห็นว่าแบบเรียนแต่ละเล่มควรมีคู่มือการสอนสำหรับครูด้วย
Other Abstract: The purposes of this study were to study the opinions and the understanding of secondary school English teachers in Bangkok Metropolis as well as in the other Geographical Regions concerning the communicative approach in English language teaching to compare the opinions and the understanding of secondary school English teachers in Bangkok Metropolis and the other Geographical Regions, and to find out helpful recommendations to improve the implementation of the communicative approach in English language teaching. The subjects of this research were 900 secondary school English teachers from 90 secondary schools in Bangkok Metropolis and in the other Geographical Regions. The questionnaire and the test constructed by the researcher, which were approved by 5 specialists for each, were used as the instruments for data collection. The reliability of the questionnaire was .87, and that of test was .74. The obtained data were analysed by mean of percentage, mean, standard deviation and F – test. The results of the study were as follows : 1. Concerning the communicative approach in English language teaching, most English language teachers agreed at high level that the communicative approach was appropriate for English learning and teaching condition in Thailand. Students studied by the communicative approach had good attitude towards English learning. By using the communicative approach, learning and teaching English became more effective. The communicative approach enabled students to use English appropriately; moreover, students also had courage to speak and interact in English. Students realized the advantages of communicative language teaching since they could use English in their daily life, in their professional work, as well as in their further studies at higher level. Besides, the communicative approach provided a natural way for language acquisition and perception. However, this approach was not suitable for an excessive class. It caused students to be weak in grammar. Excessive time was needed for teachers to prepare language learning activities and situations. Teachers of English were still unqualified to use this approach effectively. Having excessive periods to teach, English teachers did not have enough time for preparing communicative activities, and the communicative approach seemed to be appropriate only for clever students. 2. Concerning the most suitable level for beginning using the communicative approach, most English teachers agreed at high level that the primary education level was the most suitable one for the reason that students should practice using language skill from the first stage of learning. Besides, students at this age often enjoyed participating in language learning activities. 3. Concerning the relevance of the communicative approach to the English curriculum, textbooks and evaluation, most English teachers agreed at high level that this approach was relevant for the current English curriculum since the curriculum had put great emphasis on the development of students’ communicative competence. The English textbooks were also relevant for the communicative approach as they provided students with adequate content for communicative activities. Moreover, they also provided the students with authentic language as used in real life situation. However, the present evaluation process of English language learning was not relevant for the communicative approach. 4. In comparing the opinions of secondary school English teachers in Bangkok Metropolis and in the other Geographical Regions concerning the communicative approach in language teaching, It was found that English teachers’ opinions were not significantly different at the level of .05. 5. For the understanding of secondary school English teachers concerning the communicative approach, most teachers illustrated moderate level of understanding. 6. In comparing the understanding of secondary schools English teachers in Bangkok Metropolis and the other Geographical Regions concerning the communicative approach, it was found that English teachers’ understanding was not significantly different at the level of .05. 7. Most English teachers suggested that they should receive more knowledge and practice about the communicative approach. There should be more direct cooperation in planning the English curriculum and evaluation procedure. English teachers should not have excessive teaching load and excessive students in each class, in order that teaching and learning procedure could be more effectively organized. Moreover, there should be a teacher guide for each textbook used in school.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27488
ISBN: 9745630624
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uraiwan_Sa_front.pdf578.6 kBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_Sa_ch1.pdf457.21 kBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_Sa_ch2.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_Sa_ch3.pdf455.94 kBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_Sa_ch4.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_Sa_ch5.pdf918.57 kBAdobe PDFView/Open
Uraiwan_Sa_back.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.