Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28554
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรพล วิรุฬห์รักษ์-
dc.contributor.advisorสุนันท์ อุดมเวช-
dc.contributor.authorเอื้อมพร เนาว์เย็นผล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-01-18T08:20:49Z-
dc.date.available2013-01-18T08:20:49Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746329952-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28554-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องไทยทรงดำมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาถึงรูปแบบวิธีการฟ้อนแบบดั้งเดิม ณ จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2536 – 2538 และเปรียบเทียบการฟ้อนที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันใน 4 จังหวัดคือ เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี โดยการศึกษาจากข้อมูลที่เป็นเอกสารงานวิจัย จากการสัมภาษณ์ การสังเกต และปฏิบัติด้วยตนเอง ผลจากการวิจัยพบว่า ฟ้อนไทยทรงดำเป็นการฟ้อนตามประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยชาวไทยทรงดำ ณ จังหวัดเพชรบุรี เป็นเวลากว่า 200 ปี การฟ้อนเป็นส่วนหนึ่งในประเพณีอิ้นคอน ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งความสนุกสนานหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว ที่จัดขึ้นในช่วงเดือนห้าและเดือนหกของทุกๆปี ช่วงเทศกาลนี้ชาวไทยทรงดำในแต่ละท้องถิ่นจะแต่งกายด้วยชุดพื้นบ้านอันสวยงาม เพื่อมาพบปะสังสรรค์กัน ณ ลายข่วง และมีการละเล่นที่เรียกว่า อิ้นคอน คือการโยนลูกคอนให้แก่กันระหว่างหนุ่มสาว ลูกคอนนี้ทำด้วยถุงผ้า ข้างในบรรจุด้วยเมล็ดนุ่นหรือเมล็ดมะขามทำฟูห้อยให้ดูสวยงาม มีเชือกยาวสำหรับจับเหวี่ยงโยนระหว่างที่มีการเล่นคอนจะมีการฟ้อน แอ่วลาว เซิ้งลำแคน และการขับลำ โดยมีแคนเป็นดนตรีประกอบการเล่นสลับกันไป การฟ้อนไทยทรงดำดังกล่าวพบว่ามี 2 แบบ คือ การฟ้อนแบบดั้งเดิมและการฟ้อนแบบปัจจุบันลักษณะท่าฟ้อนแบบดั้งเดิมนั้นในแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะเหมือนกัน โดยมีลักษณะเด่นของการเคลื่อนไหวร่างกาย 6 ส่วนคือ 1.การใช้เท่ามี 2 ลักษณะคือ การย่ำเท้าและการก้าวเท้า การก้าวเท้ามี 5 วิธี ได้แก่ ก้าวย่าง ก้าวไขว้ ก้าวลากเท้า ก้าวเขยิบเท้า และก้าวยั้งเท้า 2. การใช้ขามี 2 ลักษณะ คือการงอขาและการนั่งยองๆ 3.การใช้ลำดับมี 3 ลักษณะ คือลำตัวตั้งตรง ลำตัวเอนไปด้านหลัง และลำดับเอนไปด้านข้าง 4. การใช้มือมี 7 ลักษณะ ได้แก่ ม้วนมือ ช้อนมือ ไขว้มือ ควงมือ โฉบมือ ตักมือ และมือปัดป้อง 5. การใช้แขนมี 2 ลักษณะ ได้แก่ ตั้งวงสูง ตั้งวงต่ำ 6. การใช้สะโพก โดยมีลักษณะเด่น คือ การทรงตัวโดยยืนย่อเข่าโย้ตัวฟ้อน การนั่งยองๆ ฟ้อนในลักษณะจ้ำติดดิน สำหรับการฟ้อนจะขึ้นอยู่กับทำนองเพลง 4 เพลง ตามลำดับคือ 1. แคนช้า หรือแคนเดิน 2. แคนเร็ว หรือแคนแล่น 3. แคนแกร หรือแคนกะแล่ 4. แคนเวียงหรือแคนเยิบ แคนเดินเปรียบเสมือนหนุ่มสาวสร้างความคุ้นเคยซึ่งกันและกัน แคนแล่นเปรียบเสมือนหนุ่มเล้าโลมและสาวหลบหลีก แคนกะแล่เปรียบเสมือนหนุ่มสาวสมัครสมานในรสรัก แคนเยิบเปรียบเสมือนชายหญิงที่แสดงถึงความสุขสมหวังในความรัก ส่วนการฟ้อนแบบปัจจุบันอาศัยรูปแบบการฟ้อนดั้งเดิมอยู่บ้าง แต่จะประยุกต์ขึ้นใหม่ตามสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแต่ละท้องถิ่นของกลุ่มชนไทยทรงดำ-
dc.description.abstractalternativeThe study of Thai Songdam Dance aims at studying the traditional dance style of the Petchaburi province during 1993 -1995, and to compare this with those of Ratchaburi, nakon Pathom and Supanburi. The research methodology is based upon the documents, researches, interviews, observations and self practice. The research finds that Thai Songdam Dance of the Thai Songdam people at Petchaburi has a very long history of over 200 years. Dance is a part of the In – Kon tradition which takes place after harvesting or during the fifth or sixth month of the lunar calendar. During this time the Thai Songdam people will dress in their traditional costume. They all meet together at the village playground or Kwang. Here the Yong and unmarried males and females will play In – kon, the game of throwing colourful been bags. Concurrently, music and dance called aeo - lao, soeng – lam - khaen, and khab - lam are playing by villagers. Thai Songdam Dance has two types, the traditional and the modern. The traditional styles in each province are similar. There are based upon six distinctive movements. There are six footsteps, two leg positions, three body positions, seven hand gestures, two arm positions and a hip trusting. Dance has a four part series according to the four dance tunes. Each part probably depicts male and female acquaintance, wooing, seduction, and happiness respectively. The modern style is still based upon the traditional pattern but adapted to suit different Thai Songdam communities today.-
dc.format.extent4612206 bytes-
dc.format.extent2543025 bytes-
dc.format.extent13348993 bytes-
dc.format.extent11272453 bytes-
dc.format.extent23199677 bytes-
dc.format.extent12358028 bytes-
dc.format.extent3788989 bytes-
dc.format.extent29988570 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleฟ้อนไทยทรงดำen
dc.title.alternativeThai Songdam danceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eumporn_na_front.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open
Eumporn_na_ch1.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open
Eumporn_na_ch2.pdf13.04 MBAdobe PDFView/Open
Eumporn_na_ch3.pdf11.01 MBAdobe PDFView/Open
Eumporn_na_ch4.pdf22.66 MBAdobe PDFView/Open
Eumporn_na_ch5.pdf12.07 MBAdobe PDFView/Open
Eumporn_na_ch6.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open
Eumporn_na_back.pdf29.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.