Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28679
Title: การวิเคราะห์หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2527-2534
Other Titles: An analysis of elementary school mathematics textbooks issued by the Ministry of Education during B.E. 2527 to B.E. 2534
Authors: เอื้อมพร หมอนลี
Advisors: ดวงเดือน อ่อนน่วม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจัดทำโดยสถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2527-2534 ใน 2 ส่วน คือ ส่วนแรก สาระ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาคณิตศาสตร์ สมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ และจิตพิสัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และส่วนที่สองคือ แบบการนำเสนอสาระ ผลการิวัยพบว่า 1. เนื้อหาคณิตศาสตร์ในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 1 – 6 เป็นเรื่องจำนวนมากที่สุด สมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 5 เป็นความเข้าใจมากที่สุด ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 เป็นการแก้โจทย์ปัญหามากที่สุด และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 6 เป็นการใช้วิธีการพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มากที่สุด จิตพิสัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 เป็นการเพิ่มพูนความสนใจในวิชาคณิตศาสตร์มากที่สุด ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 เป็นการปลูกฝังความอยากรู้อยากเห็นมากที่สุด 2. แบบการนำเสนอสาระในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 เป็นประเภทแบบฝึกหัดมากที่สุด
Other Abstract: The purpose of this study was to analyze the Elementary School Mathematics Textbooks issued by the Ministry of Education, produced by The Institute for The Promotion of Teaching Science and Technology (IPST) and issued during B.E. 2527 to B.E. 2534. An analysis consisted of 2 parts : (1) context : content, performance expectations, and affective domain and (2) presentation of context. The findings were as follows : 1. In terms of the content in the Elementary School Mathematics Textbooks Prathom Suksa One – Six, handling numbers was found to be presented most. According to the performance expectations for mathematics, in Prathom Suksa One and Five, understanding was emphasized most, in Prathom Suksa Two and Three, problem solving was emphasized most, and in Prathom Suksa Four and Six fundamental procedures in mathematics was emphasized most. According to the affective domain on mathematics, in Prathom Suksa One and Two, promoting interest in mathematics was emphasized most, while in prathom Suksa Three to Six, cultivating and inquiring mind was emphasized most. 2. The presentation of context in the Elementary School Mathematics Textbooks Prathom Suksa One to Six was largely exercise – based.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28679
ISBN: 9745839922
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aeoumporn_mo_front.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open
Aeoumporn_mo_ch1.pdf6.46 MBAdobe PDFView/Open
Aeoumporn_mo_ch2.pdf21.9 MBAdobe PDFView/Open
Aeoumporn_mo_ch3.pdf7.99 MBAdobe PDFView/Open
Aeoumporn_mo_ch4.pdf35.86 MBAdobe PDFView/Open
Aeoumporn_mo_ch5.pdf9.03 MBAdobe PDFView/Open
Aeoumporn_mo_back.pdf10.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.