Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31397
Title: ศึกษากระบวนการโคแอกกูเลชันด้วยการใช้แมกนีไทต์
Other Titles: Study of coagulation process by magnetite
Authors: สุรวุฒิ ศิราธรรม
Advisors: เขมรัฐ โอสถาพันธุ์
ชัยพร ภู่ประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Khemarath.O@chula.ac.th
Chaiyaporn.P@Chula.ac.th
Subjects: แมกนีไทต์ -- การรวมตะกอน
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การหาสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการโคแอกกูเลชันด้วยแมกนีไทต์กับน้ำเสียชนิดต่าง ๆ อันได้แก่พีเอช ปริมาณแมกนีไทต์ และความเร็วรอบการกวน รวมถึงความเร็วเริ่มต้นของการตกตะกอนและการนำกลับมาใช้ใหม่ การทดลองใช้น้ำเสียที่มีความขุ่น 30 และ 100 NTU น้ำเสียที่มีความเข้มข้นของแอมโมเนีย 500 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำเสียโลหะหนักที่มีความเข้มข้นของโครเมียมและอาร์เซนิก 50 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยเริ่มต้นศึกษาหาพีเอชที่เหมาะสม หาปริมาณแมกนีไทต์ที่เหมาะสม และหาความเร็วรอบ การกวนเร็วที่เหมาะสม จากนั้นนำสภาวะที่เหมาะสมที่ได้ไปใช้เพื่อหาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียที่มีส่วนผสมของความขุ่น แอมโมเนีย และโลหะหนัก ผลการทดลองกับน้ำเสียสังเคราะห์ พบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดความขุ่นของแมกนีไทต์ คือ พีเอช 3 ปริมาณแมกนีไทต์ 2 กรัมต่อลิตร ความเร็วรอบการกวนเร็ว 100 รอบต่อนาที สภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดแอมโมเนียของแมกนีไทต์ คือ พีเอช 7 ปริมาณแมกนีไทต์ 2 กรัมต่อลิตร และความเร็วรอบการกวนเร็ว 150 รอบต่อนาที สภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดโลหะหนักของแมกนีไทต์ คือ พีเอช 3 ปริมาณแมกนีไทต์ 2.5 กรัมต่อลิตร และความเร็วรอบการกวนเร็ว 150 รอบต่อนาที เมื่อทดลองกับน้ำเสียผสม พบว่า ประสิทธิภาพในการบำบัดความขุ่นเท่ากับ 83% ประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโมเนียเท่ากับ 17.46% ประสิทธิภาพในการบำบัดโครเมียมเท่ากับ 29.76% และประสิทธิภาพในการบำบัดอาร์เซนิกเท่ากับ 14.42% เมื่อนำค่าที่ได้ไปทำการทดลองกับน้ำเสียจริง พบว่า ประสิทธิภาพในการบำบัดความขุ่นเท่ากับ 77.27% ประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโมเนียเท่ากับ 31.03% ประสิทธิภาพในการบำบัดโครเมียมเท่ากับ 41.67% และประสิทธิภาพในการบำบัดอาร์เซนิกเท่ากับ 37.90% ในส่วนการหาความเร็วตกตะกอนและการนำกลับมาใช้ใหม่ ผลการทดลอง พบว่า แมกนีไทต์มีความเร็วของการตกตะกอนเริ่มต้น 3 เซนติเมตรต่อวินาที (10.8 เมตรต่อชั่วโมง) การนำแมกนีไทต์มาใช้บำบัดความขุ่นทั้งหมด 5 ครั้ง พบว่า ประสิทธิภาพในการบำบัดลดลง 16.28% จากการใช้งานครั้งแรก
Other Abstract: The purpose of this study is to investigate the optimum conditions which are pH, magnetite dose, mixing velocity, initial settling velocity, and regeneration of magnetite. This study uses 30 and 100 NTU turbidity wastewater, 500 mg/l of ammonia wastewater, and 50 mg/l of chromium and arsenic wastewater. The method starts with investigating optimum pH, then optimum dose of magnetite, and mixing velocity. According to the method, we get optimum conditions to test with the mixed wastewater and real wastewater. The result with synthetic wastewater found that the optimum conditions for turbidity wastewater are pH 3, magnetite dose 2 g/l, and mixing velocity 100 rpm. The optimum conditions for ammonia wastewater are pH 7, magnetite dose 2 g/l, and mixing velocity 150 rpm. The optimum conditions for chromium and arsenic wastewater are pH 3, magnetite dose 2.5 g/l, and mixing velocity 150 rpm. The result with mixed wastewater found that treatment efficiency of turbidity was equal to 83%, treatment efficiency of ammonia was equal to 17.46%, treatment efficiency of chromium was equal to 29.76%, and treatment efficiency of arsenic was equal to 14.42% The result with real wastewater found that treatment efficiency of turbidity was equal to 77.27%, treatment efficiency of ammonia was equal to 31.03%, treatment efficiency of chromium was equal to 41.67%, and treatment efficiency of arsenic was equal to 37.90% The initial settling velocity of magnetite was at 3 cm/s. Five-cycle regeneration of turbidity wastewater found that the treatment efficiency decreased 16.28% from the first used.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31397
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.550
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.550
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surawut_si.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.