Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31526
Title: การคัดเลือกต้นยาสูบ (Nicotiana tbacum L.) ที่ต้านทานโรคตากบโดยการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
Other Titles: Selection of tobacco nicotiana Tabacum L. for frogeye disease resistance throygh plant tissue culture
Authors: เพ็ญผกา โพธิ์เรียง
Advisors: นาฏฉลวย หลายชูไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การคัดเลือกต้นยาสูบ (Nicotiana tabacum L.) พันธุ์เวอร์จิเนีย โคเกอร์ 347 เพื่อให้ได้ต้นที่ต้านทานโรคตากบ (frogeye) ทำโดยการนำส่วนของลำต้น, ก้านใบ และใบมาเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารที่ดัดแปลงจากสูตร ของ Murashige และ Skooge (1962) ต้นใหม่ที่เกิดจากการเลี้ยงเนื้อเยื่อเมื่อนำไปทดสอบด้วย spore suspension ของเชื้อรา Cercospora nicotianae Ell & Ev. ที่มีจำนวนสปอร์ 40 x 2.5 x 105 สปอร์ต่อ 100 มิลลิลิตร ได้ต้นยาสูบที่สามารถต้านทานโรคสูง(ระดับ 2) ถึง 4 เปอร์เซ็นต์ แต่ต้นที่เพาะจากเมล็ดโดยตรงไม่ต้านทานโรค และเมื่อนำต้นที่ต้านทานโรคสูงมาเลี้ยงเนื้อเยื่ออีกครั้งหนึ่งแล้วนำไปทดสอบซ้ำต้นที่ได้ยังคงรักษาความต้านทานนั้นไว้ได้มี 3.33 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการคัดเลือกแคลลัสที่ต้านทานต่อ spore suspension ที่มีจำนวนสปอร์ 30 x 2.5 x 105 สปอร์ต่อ 100 มิลลิลิตร ปรากฏว่ามีเปอร์เซ็นต์การรอดตายของแคลลัสถึง 16 เปอร์เซ็นต์ และเจริญเป็นต้นได้ 3.25 เปอร์เซ็นต์ และเจริญเป็นต้นได้ 3.25 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนำออกปลูกเป็นต้นแล้วแล้วทดสอบซ้ำด้วย spore suspension พบว่าได้ต้นยาสูบที่มีความต้านทานโรคปานกลาง(ระดับ 3) ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ในทำนองเดียวกันได้ทดลองใช้สารพิษที่สกัดจากเชื้อรา C. nicotianae Ell &Ev. ในความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ (2 กรัมในน้ำ 100 มิลลิลิตร) ผสมลงในอาหารที่ใช้เลี้ยงแคลลัสพบว่ามีเปอร์เซ็นต์การรอดตายประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์ และเจริญเป็นต้นได้ 5.5 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใช้สารพิษเข้มข้น 4 เปอร์เซ็นต์ พบว่ามีแคลลัสรอดตาย 12 เปอร์เซ็นต์ และเจริญเป็นต้นได้ 3.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำต้นที่รอดตายออกปลูก แล้วทดสอบซ้ำด้วย spore suspension ต้นพืชที่ได้จากแคลลัสซึ่งเลี้ยงในอาหารที่มีสารพิษ เข้มข้น 2 และ 4 เปอร์เซ็นต์ มีความต้านทานโรคปานกลางประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ และต้านทานสูงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และเมื่อนำต้นที่ต้านทานโรคจากการทดลองนี้ไปนับจำนวนโครโมโซนพบว่าไม่มีความผิดปกติ คือยังมีจำนวนโครโมโซม 48 แท่ง
Other Abstract: Selection of frogeye disease resistance in tobacco (Nicotiana tabacum L.) was conducted by culturing tissue from stem, petiole and leave of variety Virginia Coker 347 on modified Murashige and Shooge medium. Regenerated plants were tested with 40 x 2.5 x 105 spores/100 ml. spore suspension of Cercospora nicotianae Ell & Ev. Resilts showed that 4 % of the rgenerated plants were resistant to these disease as compared with normal seedings. When the resistant plants were cultured and reinnoculated, 3.33 % remained resistant. In other experiment, spore suspension with 30 x 2.5 x 105 spore/100 ml. was applied in the callus stage for selection, the percentage of survival and regeneration were 16 % and 3.25 % respectively. After planting and testing again with spore suspension, there were about 20 % resistant plants Similar test was also conducted by using 2 % ( 2 g / 100 ml. ) of the prepared fungal toxin instead of spore suspension. About 16 % of the callus survived of with 5.5 % regenerated into plants. If the fungal toxin concentration was increased to 4 % the percentages of survival and regeneration were decreased to 12 % and 3.5 %, respectively. The survived plants was planted and reinoculate with 40 % spore suspension. Regenerated plants from callus culture treated with 2 % and 4 % toxin could withstand the disease about 30 % and hight resistant about 5 %, respectively. The somatic cell of these consisted of the normal 48 chromosome and no aberration was observed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31526
ISBN: 9745790281
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phenpaga_po_front.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Phenpaga_po_ch1.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Phenpaga_po_ch2.pdf998.93 kBAdobe PDFView/Open
Phenpaga_po_ch3.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open
Phenpaga_po_ch4.pdf943.88 kBAdobe PDFView/Open
Phenpaga_po_ch5.pdf372.16 kBAdobe PDFView/Open
Phenpaga_po_back.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.