Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43207
Title: | บทบาทของวรรณกรรมที่มีต่อตัวละครเอกในนวนิยายและภาพยนตร์ |
Other Titles: | ROLE OF LITERATURE ON PROTAGONISTS IN NOVELS AND FILMS |
Authors: | สุพิชชา วิมลโสภารัตน์ |
Advisors: | ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | prapassornch@hotmail.com |
Subjects: | ตัวละครและลักษณะนิสัยในวรรณกรรม นวนิยาย ภาพยนตร์ Characters and characteristics in literature Fiction Motion pictures |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยที่เกี่ยวกับการอ่านและบทบาทของวรรณกรรมที่มีต่อชีวิตมีมากมายหลายเรื่อง หากแต่ในงานวิจัยชิ้นนี้ผู้วิจัยมุ่งที่จะศึกษาและวิเคราะห์ถึงบทบาทของวรรณกรรมที่มีต่อตัวละครเอกซึ่งมีชีวิตอยู่ในเรื่องเล่าทั้งในนวนิยายและภาพยนตร์ จึงได้เรื่องเล่าที่วรรณกรรมมีบทบาทหลักต่อพัฒนาการของตัวละครเอกและเรื่องราวจำนวน 7 เรื่อง ดังนี้ สุภาพบุรุษจำแลง, ฟาเรนไฮต์ 451 เผาหนังสือให้หมดโลก, มาทิลดา นักอ่านสุดวิเศษ, ชายชราผู้อ่านนิยายรัก, เดอะ รีดเดอร์, หัวใจน้ำหมึก และจอมโจรหนังสือ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาผ่านแนวคิดพลังของวรรณกรรม องค์ประกอบของการเล่าเรื่อง และการดัดแปลงสื่อ ผลการวิจัยพบว่า ด้านบทบาทของวรรณกรรมที่มีต่อตัวละครเอกในนวนิยายและภาพยนตร์นั้น คือ ความสามารถในการสร้างความรื่นรมย์และจินตนาการ, ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจากความไม่รู้เป็นความรู้ และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร สำหรับการเล่าเรื่องในนวนิยายและภาพยนตร์สามารถแบ่งตามลักษณะของการเล่าเรื่องได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1.วรรณกรรมเป็นจุดเริ่มต้นทำให้เกิดเรื่อง 2.วรรณกรรมมีส่วนในการดำเนินเรื่อง โดยวรรณกรรมเปรียบเสมือนตัวละครตัวหนึ่งที่ฉุดดึงและเชื่อมร้อยเหตุการณ์ตลอดทั้งเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ 3.วรรณกรรมเป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง ซึ่งปรากฏภาพของการอ่านและคลุกคลีกับหนังสือของตัวละครเอก แต่วรรณกรรมไม่ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อตัวเรื่องโดยตรง ส่วนการดัดแปลงภาพยนตร์จากนวนิยาย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 2 ลักษณะทั้งในตัวเรื่องและตัวละคร โดยในตัวเรื่องพบว่ามีการขยายความ ตัดทอน และปรับเปลี่ยน ภายในองค์ประกอบของเรื่องเล่า อย่างไรก็ตามองค์ประกอบด้านแก่นเรื่องเป็นส่วนที่คงเดิมไว้ในตัวบทปลายทาง โดยเทคนิคที่ภาพยนตร์นิยมนำมาใช้คือการตัดสลับเหตุการณ์ใหม่ให้สอดคล้องกับเรื่องราวที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ส่วนตัวละครมีการเพิ่มมิติและบทบาทให้กับตัวละครประกอบ โดยเฉพาะตัวละครที่เป็นผู้ช่วยเหลือตัวละครเอก |
Other Abstract: | This research was aimed to study and analyze role of literature that impact protagonists who lived in narrative both novels and films. A sample was chosen by character of protagonists who enchanted books or pay attention to read. Therefore, In this research had 7 stories about literature which was the main role in progress of protagonists and stories including Yentl the Yeshiva Boy, Fahrenheit 451, Matilda, The Old Man Who Read Love Stories, The Reader, Inkheart and The Book Thief. The research methodology was based on a textual analysis through 3 concepts; consist of power of literature, component of narrative and adaptation. The result of this research are as follows : 1. Role of literature on protagonists lead to pleasantness and imagination, know how to think wisely and can be build up friendship. 2. Narrative in novels and films able to classified in 3 types : 1) Literature is a cause of story; 2) Literature is involve in story, and; 3) Literature is on the part of story. 3. Adaptation from novels to films cause changes in 2 details: 1) Story has extension, reduction and modification in elements of narrative; nonetheless, It remains the same theme in films or secondary text; 2) Characters have increase dimension and role of minor characters especially the donor and the helper. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43207 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.744 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.744 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584705528.pdf | 5.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.