Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51357
Title: การศึกษาความแตกต่างของแบบแผนทางโปรตีโอมิกส์ในเนื้อเยื่อระหว่างแต่ละชนิดย่อยทางพยาธิวิทยาของผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: A study of different proteomics patterns of subtypes of lung adenocarcinoma at The King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: เบญญาพัชร์ เอี่ยมธนะสินชัย
Advisors: วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์
ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Virote.S@Chula.ac.th,vsmdcu40@gmail.com,vsmdcu40@gmail.com
Trairak.P@chula.ac.th,trairak@gmail.com
Subjects: ปอด -- มะเร็ง
มะเร็ง -- พยาธิวิทยาเซลล์
โปรตีโอมิกส์
Lungs -- Cancer
Cancer -- Cytopathology
Proteomics
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา มะเร็งปอด เป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุข กระบวนการเกิดมะเร็งปอดมีความซับซ้อน การศึกษากลไกการเกิดมะเร็งปอดจึงต้องศึกษาการแสดงออกของยีนส์ในระดับmRNAและการแสดงออกของโปรตีน ผู้วิจัยจึงศึกษาการแสดงออกของโปรตีนในมะเร็งปอด และวิเคราะห์แบบแผนที่ผิดปกติของการแสดงออกของโปรตีน วัตถุประสงค์ การศึกษาความแตกต่างของแบบแผนทางโปรตีโอมิกส์ในเนื้อเยื่อระหว่างแต่ละชนิดย่อยทางพยาธิวิทยาของผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา วิธีการศึกษา ผู้ป่วยมะเร็งปอดอะดีโนคาร์ซิโนมาที่ได้รับการผ่าตัดปอดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 ถึง ธันวาคม 2557 ทบทวนบันทึกในเวชระเบียน ส่งตรวจชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์แบบแผนทางโปรตีโอมิกส์โดยใช้วิธีการตรวจแมสสเปคโตรเมทรี และนำมาวิเคราะห์ความแตกต่างของแบบแผนทางโปรตีโอมิกส์ กับ ชนิดย่อยของมะเร็งปอดชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับปัจจัยทางคลินิกที่เกี่ยวข้องได้แก่ ระยะเวลาการอยู่ รอด, การรักษาเสริมเคมีบำบัด, การกลับเป็นซ้ำของโรค ผลการศึกษา การศึกษาแบบแผนทางโปรตีโอมิกส์ในเนื้อเยื่อที่ได้ทั้งหมด 27 ตัวอย่าง โดยหาความสัมพันธ์กับลักษณะชนิดย่อยทางพยาธิวิทยาของมะเร็งปอดชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา สามารถหาความสัมพันธ์ต่อชนิดย่อยทางพยาธิวิทยาได้เมื่อใช้วิธี supervised เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มย่อย solid เปรียบเทียบกับกลุ่มย่อยอื่นๆ คือ non-solid ได้แก่ acinar, micropapillary, papillary, lepidic พบว่าแบบแผนทางโปรตีโอมิกส์ของ solid pattern มีความแตกต่างกับกลุ่ม non-solid pattern ด้วยวิธีการจัดแบบ hierarchical clustering analysis และ principal component analysis และปัจจัยทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับ solid pattern คือ เพศชาย, การรักษาเสริมเคมีบำบัด และการกลับเป็นซ้ำของโรค มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.006, 0.029, 0.012 ตามลำดับ) สรุป แบบแผนทางโปรตีโอมิกส์ในจำนวนตัวอย่างที่จำกัด สามารถแยกความแตกต่างกลุ่ม solid predominant กับ non-solid predominantได้ และsolid pattern สัมพันธ์กับเพศชาย, ระยะเวลาปลอดโรค และการได้รับการรักษาเสริมเคมีบำบัด ส่วนโปรตีนที่พบในsolid pattern อาจนำมาพัฒนาเป็นตัวบ่งชี้ในการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้ในอนาคต
Other Abstract: Background: Lung cancer is a leading cause of mortality worldwide including Thailand. The major histologic subtype is adenocarcinoma. Recently a revised histopathological classification including adenocarcinoma subtypes has been implemented. The classification is heavily relied on morphological appearance of lung cancer. Objective: To characterize proteomics signatures to distinguish subtypes of the lung adenocarcinoma which may suitable for a molecular classification Methods: All patients were early stage resected lung adenocarcinoma diagnosed and treated at the King Chulalongkorn Memorial Hospital during January 2551 to December 2557. Demographic and clinical information were collected from medical record review. All collected tumor tissue were analyzed with mass spectrometry technique for possible proteomics patterns. Proteomics patterns were analyzed for signatures of individual histologic pattern. Additional correlative analyses of proteomics signatures with available clinical data were performed. Result: Total 27 samples were included in the study. Under supervised classification, we could find proteomics patterns to distinguish between solid versus non- solid adenocarcinoma subtypes. We found a group of robust signatures for solid histology by hierarchical clustering and principal component analysis. In the solid group. Clinical factors associated with the solid pattern was male gender, adjuvant chemotherapy and recurrence of the disease that associated with a statistically significant (P = 0.006, 0.029, 0.012, respectively). Conclusion: Proteomics patterns could distinguish between solid versus non-solid predominant subtype. Solid pattern associated with gender, DFS and adjuvant chemotherapy. A larger cohort will be needed to confirm the important of this proteomic signatures of solid subtype lung adenocarcinoma and may serve as biomarker for lung cancer in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51357
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.680
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.680
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774104930.pdf4.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.