Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55960
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ | - |
dc.contributor.author | สิริพร มิ่งกมลกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2017-11-17T03:57:57Z | - |
dc.date.available | 2017-11-17T03:57:57Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.isbn | 9745637149 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55960 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูพลศึกษาและครูหัวหน้ากลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครูพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา โดยใช้แบบสอบถามส่งไปยังครูพลศึกษา จำนวน 80 คน และครูหัวหน้ากลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย จำนวน 35 คน ได้รับแบบยอบถามคืนมาจากครูพลศึกษาจำนวน 80 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 และได้รับแบบสอบถามคืนจากครูหัวหน้ากลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย จำนวน 34 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 97.14 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ครูพลศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมการสอนของตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด คือ พฤติกรรมการสอนด้านการปลูกฝังจริยธรรมและคุณธรรม ได้แก่ สอนให้มีระเบียบวินัย สอนให้มีความซื่อสัตย์ และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมการสอนของตนเอง อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ คือ พฤติกรรมการสอนด้านบุคลิกภาพในการสอน ได้แก่ ให้ความรัก ความยุติธรรมแก่นักเรียนอย่างทั่วถึง เอาใจใส่ในสุขภาพและความปลอดภัยของนักเรียน ด้านการประเมินผลการเรียนการสอน ได้แก่ มีความยุติธรรมในการให้คะแนน ชี้แจงให้นักเรียนทราบเกณฑ์และวิธีการทดสอบในวิชาที่สอน ด้านการดำเนินการสอน ได้แก่ ให้นักเรียนอบอุ่นร่างกายอย่างเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและพัฒนาการของร่างกายนักเรียน แนะนำนักเรียนให้รู้จักระมัดระวังการเล่นที่จะก่อให้เกิดอันตราย ด้านการมอบงานให้ปฏิบัติ ได้แก่ อธิบายหรือชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนมอบงานให้แบบฝึก เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกหัดด้วยตนเองอย่างเหมาะสม ด้านการจูงใจและเสริมแรงทางการเรียน ได้แก่ ชมเชย สนับสนุน และให้กำลังใจนักเรียนที่แสดงออกและอยากเรียน ให้ความเป็นกันเอง และมีนุษยสัมพันธ์กับนักเรียนทุกคน ด้านการเตรียมการสอน ได้แก่ ดัดแปลงวิธีสอนและเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมตามสภาพแวดล้อม เตรียมการป้องกันอุบัติเหตุ อันเกิดจากการเรียนการสอนและด้านการใช้อุปกรณ์ ได้แก่ สำรวจอุปกรณ์การสอนพลศึกษา ทั้งก่อนสอนและหลังสอน ใช้อุปกรณ์การสอนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับบทเรียน 2. ครูหัวหน้ากลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมการสอนของครูพลศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้ คือพฤติกรรมการสอนด้านการปลูกฝังจริยธรรมและคุณธรรม ได้แก่ สอนให้มีความสามัคคี รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สอนให้เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา ด้านบุคลิกภาพในการสอน ได้แก่ ให้ความรักความยุติธรรมแก่นักเรียนอย่างทั่วถึง แสดงถึงความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าตัดสินใจ ด้านการดำเนินการสอน ได้แก่ แนะนำนักเรียนให้รู้จักระมัดระวังการเล่นที่จะก่อให้เกิดอันตราย ให้นักเรียนอบอุ่นร่างกายอย่างเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและพัฒนาการของร่างกายนักเรียน และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมการสอนของครูพลศึกษา อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ คือ พฤติกรรมการสอนด้านการประเมินผลการเรียนการสอน ได้แก่ ประเมินความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรม ตามจุดประสงค์การเรียนนี้ ชี้แจงให้นักเรียนทราบเกณฑ์และวิธีการทดสอบในวิชาที่สอน ด้านการเตรียมการสอน ได้แก่เลือกวิธีสอน และกิจกรรมได้เหมาะสมกับเนื้อหาและความสามารถของนักเรียน เตรียมการป้องกันอุบัติเหตุอันเกิดจากการเรียนการสอน ด้านการจูงใจและเสริมแรงทางการเรียน ได้แก่ ให้ความเป็นกันเองและมีมนุษยสัมพันธ์กับนักเรียนทุกคน ให้กำลังใจแก่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ด้านการมอบงานให้ปฏิบัติ ได้แก่ อธิบายหรือชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนมอบงานหรือให้แบบฝึกหัด ให้แบบฝึกอย่างเหมาะสม และด้านการใช้อุปกรณ์การสอนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับบทเรียน ใช้อุปกรณ์การสอนที่เหมาะสมกับวัยและความต้องการของนักเรียน 3. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างครูพลศึกษากับครูหัวหน้ากลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมการสอนของครูพลศึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to compare the opinions of physical education teachers and heads of character development subject area towards teaching behaviors of physical education in the primary school. Questionnaires were sent to 80 physical education teachers and 35 heads of character development subject area. Eighty questionnaires or 100 percent were returned by the physical education teachers. Thirty four questionnaires of 97.14 percent were returned by heads of character development subject area. The obtained data were then analyzed into percentages, means, standard deviation, and t-test. The results were : 1. The physical education teachers rates their own teaching behavior in the highest level were the instilling moral and virtue which were teaching how to be self-descriptived and to be honesty. It was indicated that the rating of their own teaching behavior as high level were listed in the order of importance as followed on personality for teaching, there were the fairness towards students and in taking care of health and safety of the students. On the evaluation, there were the fairness on the grading and indicating the standard and the method which used to evaluate the course. On the instructional process, there were the providing of proper warm-up exercises to each student and suggest them to take care of themselves in order to get away from dangerous. On the assignment, explanation to students in order to understand the assignment and exercise which gave student to practice by themselves. On motivation and reinforcement in teaching, there was giving approval and encouraging students to express themselves and being at case and having good human relations with all student. On lesson planning, there was adapted the teaching method and subject according to the environment and preparing for accident which could happen on the instruction. On instructional medias, there was checking equipments before and after classes and using proper media in order to teach student. 2. The heads of character development subject area rated that physical education teachers teaching behavior were in the highest level were listed in the order of importance as followed on instilling moral and virtue there must be able to cooperative with others and to be a good sportmanship. On personality for teaching there were the fairness towards students and taught them to be self confidence. On the instructional process taught students how to take care of themselves in order to get away from dangerous and providing proper warm-up exercises to each student. It was indicated that physical education teachers teaching behavior were rated as high level were listed in the order of importance as followed on evaluation, capability evaluation and behavior evaluation which depended upon on the cause objective which indicated to the students standard and method which used to evaluate the course. On lesson planning, there was selecting methodology and activity according to the course objectives and capabilities of the students and preparing for accident which could happen during the instructional period. On motivation and reinforcement in teaching, there was being at ease and having good human assignment, explanation to students in order to understand the assignment and exercise and giving them with the appropriate assignment. On using instructional media, there must used the proper media in order to teach student and using appropriate instructional media according to the need and age of the student. 3. There was no significant difference at the level of .05 between the physical education teachers and heads of character development subject area concerning the physical education teachers' behaviors. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) | en_US |
dc.subject | ครูพลศึกษา -- การประเมินศักยภาพ | en_US |
dc.subject | Physical education and training -- Study and teaching (Elementary) | en_US |
dc.subject | Physical education teachers -- Rating of | en_US |
dc.title | การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูพลศึกษา และครูหัวหน้ากลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย เกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครูพลศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | A comparision of opinions of physical education teachers and head of character development subject area concerning teaching behaviors of physical education teachers in primary school under the auspies of the Office of Primary Education, Bangkok metropolis | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พลศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Thanomwong.K@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siriporn_mi_front.pdf | 2.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriporn_mi_ch1.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriporn_mi_ch2.pdf | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriporn_mi_ch3.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriporn_mi_ch4.pdf | 8.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriporn_mi_ch5.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriporn_mi_back.pdf | 4.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.