Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62831
Title: จลนพลศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงเมทานอลเป็นก๊าซโซลีน โดยใชัตัวเร่งปฏิกิริยาวานาโดซิลิเคต
Other Titles: Kinetics of methanol conversion to gasoline via vanadosilicate catalyst
Authors: สุชาติ ไตรบำรุงสุข
Advisors: อุรา ปานเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ตัวเร่งปฎิกิริยาวานาโดซิลิเคต
แอลคีน
เมทานอล
แกสโซลีน
ไฮโดรคาร์บอน
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากความสำเร็จของ Chang และ Silvestri ในการเปลี่ยนเมทานอลเป็นก๊าซโซลีนบนตัวเร่งปฏิกิริยา ZSM-5 ซึ่ง เป็นซีโอไลท์สังเคราะห์ชนิดใหม่ได้มีการทำวิจัยปฏิกิริยานี้โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีโครงสร้างแตกต่างกันรวมทั้งตัวเร่งปฏิกิริยาวานาโดซิลิเคต ในการศึกษาเชิงวิศวกรรมของตัวเร่งปฏิกิริยาวานาโดซิลิเคต พบว่าตัวเร่งที่มีอัตราส่วนซิลิกาต่อวานาเดียมเท่ากับ 90 มีคุณสมบัติการเลือกผลิตภัณฑ์สารโอลิฟินที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำสูง ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในการวิจัยนี้ทำการศึกษาปฏิกิริยาขั้นต้นของการเกิดสารไฮโดรคาร์บอนบนตัวเร่งปฏิกิริยาวานาโดซิลิเคต ที่มีอัตราส่วนซิลิกาต่อวานาเดียมเท่ากับ 90 ที่อุณหภูมิ 280 , 320 และ 360 องศาเซลเซียส โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบไมโครที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 6 มิลลิเมตร พบว่ากลไกของปฏิกิริยามีลักษณะเดียวกับปฏิกิริยาบนตัวเร่งปฏิกิริยา ZSM-5 และอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่ได้เป็นแบบอินทรินซิค (Intrinsic rate) ค่าคงที่ของปฏิกิริยาในแบบจำลอง จลนพลศาสตร์พบว่าอัตราการเกิดของอีทีนจากสารออกซิจิเนตมีค่าใกล้เคียงกับอัตราการทำปฏิกิริยาระหว่างสารออกซิจิเนตกับผลิตภัณฑ์โอลิฟินที่ 280 องศาเซลเซียส เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นที่ 320 และ 360 องศาเซลเซียส อัตราการเกิดของอีทีนจะช้าลงเมื่อเทียบกับของปฏิกิริยาระหว่างสารออกซิจิเนตกับสารโอลิฟินตามลำดับ และได้ค่าพลังงานกระตุ้นที่ปรากฏของปฏิกิริยาระหว่างสารออกซิจิเนตกับสารโอลิฟินจากสมการของอาลีเนียสเท่ากับ 29, 569.78 ต่อกรัมใมล และค่าคงที่เท่ากับ 3.56 × 1014 ในช่วงอุณหภูมิที่ทำการวิจัย
Other Abstract: Since the success of Chang and Silvestri in Methanol conversion to Gasoline via ZSM-5 as a new Zeolite catalyst. There have been many studies on this reaction by using the new different structure catalysts, including Vanadosilicate. In the engineering test, Vanadosilicate (Si/V = 90) has high selectivity on light olefins (C2 – C4 olefins) which are the important raw materials in Petrochemical Industries. In this research, the kinetics of initial stages of the hydrocarbon formation reaction on Vanadosilicate (Si/V = 90) at temperature of 280, 320 and 360℃ had been studied in a Microreactor (diameter = 6 mm.). It find that its reaction mechanism is the same as mechanism on ZSM-5 catalyst. The rate of reaction in this research is the intrinsic rate because of using the microreactor and high space velocity. The values of the rate constants from the kinetic model suggest that the initial rate of formation of ethylene from oxygenates is nearly at 280℃. When temperature increases to 320 and 360℃, the initial rate of ethylene formation is slower respectively than the rate of reaction of oxygenates with the product olefins. The appearant activated energy of the reaction of oxygenates with the product olefins by Arrhenius’s equation is 29,569.78 calories/g-mole and its constant is 3.56 × 1014 in this temperature region.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62831
ISBN: 9745676144
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchart_tr_front_p.pdf13.25 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_tr_ch1_p.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_tr_ch2_p.pdf22.64 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_tr_ch3_p.pdf12.13 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_tr_ch4_p.pdf9.09 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_tr_ch5_p.pdf12.45 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_tr_ch6_p.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_tr_back_p.pdf29.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.