Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64355
Title: | การป้องกันการเกิดการควบแน่นของฉนวนใยแก้วในระบบผนังอาคาร |
Other Titles: | The prevention of condensation on insulation in wall system |
Authors: | จันทร์รุ่ง มนต์วิเศษ |
Advisors: | สุนทร บุญญาธิการ พรรณชลัท สุริโยธิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ความชื้น ผนัง ฉนวนความร้อน ความร้อน -- การถ่ายเท |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความชื้นในผนังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการควบแน่นในผนังและทำให้เกิดความเสียหายต่อการป้องกันความร้อนของฉนวนผนังอาคาร วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้มุ่งหาวิธีป้องกันความชื้นซึมผ่านเข้าถึงเซลล์ฉนวนโดยมีวิธีการทดลองดังนี้ โดยการติดตั้งฉนวนใยแก้วในผนังทดสอบขนาด0.60x0.60 ม. ผนังที่ใช้ทดสอบได้แก่ ผนังก่ออิฐ, ผนังคอนกรีตมวลเบา, ผนัง EIFS,โดยการนำไปติดตั้งบนอาคารทดลองขนาด 3.00x3.00x2.40 ม. ผนังอาคารทำจากวัสดุโฟมหนา 10 ซม. ความหนาแน่นประมาณ 1 ปอนด์ เพื่อป้องกันความร้อนและความชื้นรั่วซึมเข้าภายในอาคาร ภายในติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อควบคุมอุณหภูมิเพดานอาคารติดตั้งฉนวนใยแก้วเพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อนผ่านทางหลังคาเข้ามาภายในอาคารตามแบบอาคารปรับอากาศทั่วไป การเก็บข้อมูลโดยการติดตั้งหัววัดอุณหภูมิและความชื้นบริเวณผิวฉนวนริมด้านในและผิวฉนวนริมด้านนอกภายในผนังทดสอบ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการควบแน่นคือความชื้นจากอากาศภายนอก ทำให้เกิดการสะสมความชื้นในช่องผนัง ในกรณีอาคารปรับอากาศอุณหภูมิภายในผนังจะลดต่ำถึงจุดน้ำค้าง จะทำให้เกิดการควบแน่น ผนังชนิดใดมีจุดน้ำค้างอยู่สูง แสดงว่าเกิดการควบแน่นได้ง่ายและป้องกันความชื้นน้อย แนวทางการป้องกันความชื้นจากภายนอกและลดความชื้นภายในช่องผนังในการทดลองมีดังนี้ การเปรียบเทียบผนังกันความชื้นที่ขอบฉนวนและผนังไม่กันความชื้นที่ขอบฉนวนพบว่า ชุดผนังกันความชื้นที่ขอบฉนวนมีจุดควบแน่นต่ำกว่าชุดผนังไม่กันความชื้นที่ขอบฉนวน โดยที่เปรียบเทียบระหว่างผนังคอนกรีตมวลด้วยกันเบามีค่าต่างกัน1 องศาเซลเซียส, ระหว่างผนังก่ออิฐต่างกัน 1 องศาเซลเซียส, ระหว่างผนัง EIFSพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน และพบว่า เมื่อป้องกันความชื้นที่ขอบฉนวนผนังคอนกรีตมวลเบามีจุดควบแน่นเท่ากับ 16 องศาเซลเซียส สูงกว่าผนังก่ออิฐ 2 องศาเซลเซียสและสูงกว่าผนัง EIFS 2 องศาเซลเซียส, การเปรียบเทียบผนังติดวอลเปเปอร์และไม่ติดวอลเปเปอร์ พบว่า ชุดผนังติดวอลเปเปอร์จุดควบแน่นสูงกว่าชุดผนังไม่ติดวอลเปเปอร์ โดยเปรียบเทียบระหว่างผนังคอนกรีตมวลเบาด้วยกันต่างกัน 9 องศาเซลเซียส, ระหว่างผนังก่ออิฐต่างกัน6 องศาเซลเซียส ระหว่างผนัง EIFS ต่างกัน 3 องศาเซลเซียส และพบว่า เมื่อติดวอลเปเปอร์ผนังคอนกรีตมวลเบามีจุดควบแน่นเท่ากับ 19 องศาเซลเซียส สูงกว่าผนังก่ออิฐ 4 องศาเซลเซียส และสูงกว่าผนัง EIFS 7 องศาเซลเซียส การเปรียบเทียบผนังทาสีและไม่ทาสีพบว่า พบว่า ชุดผนังทาสีจุดควบแน่นต่ำกว่าชุดผนังไม่ทาสี โดยที่เปรียบเทียบระหว่างผนังคอนกรีตมวลเบาต่างกัน 4 องศาเซลเซียส,ระหว่างผนังก่ออิฐต่างกัน 0 องศาเซลเซียส ระหว่างผนัง EIFS ต่างกัน 2 องศาเซลเซียสและพบว่า เมื่อทาสีที่ผนังภายนอกผนังคอนกรีตมวลเบามีจุดควบแน่นเท่ากับ 17 องศาเซลเซียส สูงกว่าผนังก่ออิฐ 4 องศาเซลเซียส และสูงกว่าผนัง EIFS 9 องศาเซลเซียส การเปรียบเทียบผนังมีช่องระบายอากาศและมีช่องไม่ระบายอากาศ พบว่าชุดผนังมีช่องระบายอากาศเกิดการควบแน่นแล้วทุกผนัง ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสส่วนชุดผนังมีช่องไม่ระบายอากาศยังไม่เกิดการควบแน่นแต่พบว่า ผนังคอนกรีตมวลเบามีจุดควบแน่นเท่ากับ 13 องศาเซลเซียส มากกว่าผนังก่ออิฐและผนัง EIFS 1 องศา สรุปได้ว่า ปริมาณความชื้นสูงที่อยู่ภายนอกอาคารจะมีแรงดันไอน้ำสูง สามารถซึมผ่านผนังเข้ามากระทบกับความเย็นในช่องผนังและทำให้เกิดการควบแน่น ถ้ามีการป้องกันโดยการลดความชื้นจากผิวผนังภายนอก เช่น การทาสี จะเป็นการช่วยลดการควบแน่นได้ แต่สิ่งที่ไม่ควรทำก็คือ ไม่ควรสกัดกั้นความชื้นที่ผิวหนังภายในอาคารจะทำให้การระบายปริมาณไอน้ำเข้าสู่ภายในเป็นไปได้ยาก และจะทำให้เกิดการสะสมความชื้นในช่องผนังมากขึ้น เช่น การติดวอลเปเปอร์ที่ผนังภายในอาคาร ทำให้เพิ่มโอกาสการเกิดควบแน่นได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นผนังภายในอาคารจึงควรระบายความชื้นผ่านเข้าไปผสมกับอากาศแห้งภายในอาคารจะดีกว่า |
Other Abstract: | Humidity in the wall is an important cause for condensation เก the wall and cause damage to prevention of heat insulation of building walls. The objective of this research are to find a preventive method to protect against humidity permeation through the insulated cells with the following testing method as follows: By installing fiberglass in the testing wall of dimensions 0.60x0.60 m. The testing walls include brick wall, light-concrete wall and EIFS wall by installing on the testing building with dimensions 3.00x3.00x2.40 m. The building walls are made of 10-cm. Thick foam with density about 1 lb. To protect against heat and humidity permeation into the building. Inside the building was air-conditioned to control the temperature. The building ceiling was fitted with fiberglass to prevent heat transfer through the roof to the building in accordance with the air-conditioned buildings in general. Data collection was made by installing temperature and humidity thermometers at humidity thermometers at the interior and exterior surfaces of the insulation inside the testing walls The factor to cause condensation was the humidity from the outside air causing accumulated humidity in the wall gap. In case of the air-conditioned building, the interior temperature was reduced to the dew point causing condensation. A wall type with high dew point means easy condensation and less protection against humidity. Protecting guidelines against outside humidity and reduction of inside humidity in the wall gap are as follows : Comparison of the insulated wall and the non-insulated wall at the edges found that the insulated walls at the edge had a condensation point lower than the non-insulated wall at the insulation edge. By comparing between the light-mass wall of the concrete had 1 °c different value, between the brick wall had 1 °c and between the EIFs found on difference. It was also found that upon humidity prevention at the edge of the light-mass concrete wall had a condensation point equals to 16 °c, higher than the brick wall and the EIFS 2 °c Comparison between papered and non-papered walls, it was found that the papered wall had a higher condensation point than the non-papered wall, the difference between the light-mass wall 9 °c, brick wall 6°c and EIFS 3 °c. but when the walls were papered, the light-mass wall had the condensation point equals to 19 °c, higher than the brick wall 4 °c and higher than the EIFS 7 °c Comparison of painted and non-painted walls found the painted walls had the condensation point lower than the non-painted walls. By comparing between the light-mass concrete wall 4 °c between the brick wall 0 °c and between the EIFS wall differed 2 °c. Also found the outside of the painted walls of the light-mass concrete had a condensation point equals to 17°c, higher than the brick wall 4 °c and higher than the EIFS 9 °c Comparison of the walls with air-vent and non-air vent walls found the air vent walls had condensation at the temperature of 25 °c, while the non-air vent walls found no condensation but the light-mass wall had the condensation point equals to 13 °c more than the brick and EIFs walls 1 °c IF can be concluded that the high humidity at the outside of the building had higher vapour that can be permeated through the wall to come into contact with the cold in the wall gap that caused condensation. In case of prevention by reducing outside humidity such as painting could help to reduce condensation. But the thing that should not be made was blocking humidity at the interior walls as it could make dispersion of vapor difficult and so caused accumulation of humidity in the wall gap much more. For instance, pasting of wallpaper in the interior wall can increase the chance of condensation easily. Therefore the interior walls should be better vented to outside for the humidity to go to mix with the dry air outside the building. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีอาคาร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64355 |
ISBN: | 9743325336 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Junroung_mo_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Junroung_mo_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 735.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
Junroung_mo_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Junroung_mo_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 4.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Junroung_mo_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 12.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Junroung_mo_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 785.55 kB | Adobe PDF | View/Open |
Junroung_mo_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.