Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64463
Title: การให้ยาธัยรอยด์ฮอร์โมนสัปดาห์ละครั้ง ในการรักษาภาวะธัยรอยด์ทำงานต่ำระยะต่อเนื่อง
Other Titles: A single weekly dose of levothyroxine for maintenance treatment of hypothyroidism
Authors: พิมลรัตน์ เตโชพิทยากูล
Advisors: วิทยา ศรีดามา
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: fmedvjd@md2.md.chula.ac.th
Jiruth.S@Chula.ac.th
Subjects: ไทรอยด์ฮอร์โมThyroid gland|xDiseases
ต่อมไทรอยด์--โรค
ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
Thyroid hormones
Hyperthyroidism
Thyroid gland--Diseases
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภาวะธัยรอยด์ทำงานตํ่าเป็นภาวะที่พบบ่อยในคลินิกต่อมไร้ท่อ การรักษาต้องได้รับยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับความร่วมมือของผู้ป่วยในการบริหารยา ร่วมกับการปรับขนาดของยา levothyroxine มีความไม่สะดวกเนื่องจากมียาขนาดเดียวในประเทศไทย levothyroxine มีค่าครึ่งชีวิตนานประมาณ 7 วัน ทำให้มีความเป็นไปได้ในการบริหารยาแบบสัปดาห์ละครั้ง การศึกษาเกี่ยวกับการให้ยา levothyroxine แบบสัปดาห์ละครั้งมีน้อย และไม่เคยมีการศึกษาในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าได้ผลดี และไม่มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงเกิดขึ้น ดังนั้นการวิจัยนี้เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการให้ยา levothyroxine แบบสัปดาห์ละครั้ง ในขนาดยา 7 เท่า ของขนาดยาต่อวัน การศึกษานี้ทำในผู้ป่วยภาวะธัยรอยด์ทำงานต่ำระยะต่อเนื่องชนิดปฐมภูมิ 17 ราย ที่ได้รับยา levothyroxine ในขนาดยาคงที่ อย่างน้อย 6 สัปดาห์(ขนาดยาเฉลี่ย 1.97 ± 0.51ไมโครกรัม /1 กิโลกรัมของน้ำหนักตัว /วัน) ผู้ป่วยได้รับยา levothyroxine แบบสัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลานาน 8-12 สัปดาห์ (ระยะเวลาติดตามเฉลี่ย 9.94 ± 0.97 สัปดาห์) โดยในสัปดาห์แรกเริ่มหลังจากหยุดยาเดิมเป็นเวลา 7 วัน วัดระดับของ free thyroxine (FT4) และ thyroid stimulating hormone (TSH) ในวันที่1 (ก่อนเริ่มรับประทานยา levothyroxine แบบสัปดาห์ละครั้ง) วันที่ 2, 3, 4 และในวันที่ครบกำหนดรับยาสัปดาห์กัดไป ในสัปดาห์แรกและสัปดาห์สุดท้ายของการศึกษา สอบถามอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นโดยใช้แบบสอบถามทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์และเจาะเลือด ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยที่ยังคงอยู่ในภาวะ euthyroidism 47.10% (8 ราย) ภาวะ subclinical hypothyroidism 41.20% (7 ราย) และภาวะ subclinical hyperthyroidism 11.80% (2 ราย) FT4 ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการให้ยาแบบวันละครั้ง หรือ สัปดาห์ละครั้ง (P=0.15) TSH เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับการให้ยาแบบวันละครั้ง (P=0.04) ในสัปดาห์สุดท้ายระดับ FT4 สูงขึ้น พร้อมกับ TSH ลดตํ่าลงในวันที่ 2,3 และ 4 ของสัปดาห์และแตกต่างจาก FT4 และ TSH เฉลี่ยของวันที่1 และ8 ของสัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01 และ p=0.01 ตามลำดับ) ในการศึกษานี้ไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงใด ๆ การศึกษานี้พบว่าการให้ยา levothyroxine แบบสัปดาห์ละครั้งไม่มีประสิทธิภาพเท่าการให้ยาแบบวันละครั้งรวมทัhงระดับ FT4 และ TSH มีการแกว่งตัวในระหว่างสัปดาห์มาก แม้ว่าได้รับยามานานจนยาเข้าสู่สมดุลแล้วก็ตามซึ่งอาจเถิดผลเสียต่อผู้ป่วยได้ ดังนั้น ผลการศึกษานี้จึงไม่สนับสนุนการให้ยาแบบสัปดาห์ละครั้งในผู้ป่วยธัยรอยด์ทำงานต่าง ๆ
Other Abstract: Hypothyroidism is a common disorder in endocrine clinics. Long term treatment is required which can lead to non-compliance. Dosage adjustment can be inconvenient since only one dosage form is available in Thailand. The elimination half-life of levothyroxine is about 7 days which makes once weekly dosing possible. There are few small-s ze studies on once weekly administration of levothyroxine, none in Thailand, reported good efficacy without serious adverse effects. The aim of this study was to determine whether 7 times the daily dose of levothyroxine giving once weekly was safe and efficacious. The study enrolled 17 primary hypothyroid patients who received a stable daily dose of levothyroxine (mean dose 1.97 ± 0.51 micrograms/ kilogram of body weight) for at least 6 weeks. Single weekly doses of levothyroxine were given for 8-12 weeks (mean follow up period 9.94 ± 0.97 weeks), with the first dose starting after 7 days withdrawal of daily doses. Free thyroxine (FT4) and thyroid stimulating hormone (TSH) were measured on day 1 (prior to administrating a weekly dose), 2, 3, 4 and the day of the next dose on the first and last week of the study. Adverse effects were determined by a questionaire in every visit. The study showed that 47.10 % (8 patients) of the participants were still in euthyroid state, 41,20 % (7 patients) in subclinical hypothyroidism and 11.80 % (2 patients) in subclinical hyperthyroidism. FT4 was not statistically different between daily and weekly dosing (P=0.15). Once weekly TSH level was higher than daily TSH level (P=0.04). On the last week, FT4 and TSH levels were fluctuating during the week in spite of the steady state of the drug. No serious adverse effect was found. Once weekly administration of levothyroxine was not as efficacious as daily dosing. Furthermore, the fluctuation of FT4 and TSH level during the week may be harmful. This study does not support the use of once weekly dosing of levothyroxine for the treatment of hypothyroidism.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64463
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.269
ISBN: 9740311288
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.269
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimolrat_te_front.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ320.85 kBAdobe PDFView/Open
Pimolrat_te_ch1.pdfบทที่ 1164.89 kBAdobe PDFView/Open
Pimolrat_te_ch2.pdfบทที่ 2424.25 kBAdobe PDFView/Open
Pimolrat_te_ch3.pdfบทที่ 3164.38 kBAdobe PDFView/Open
Pimolrat_te_ch4.pdfบทที่ 4145.03 kBAdobe PDFView/Open
Pimolrat_te_ch5.pdfบทที่ 5895.77 kBAdobe PDFView/Open
Pimolrat_te_ch6.pdfบทที่ 6155.34 kBAdobe PDFView/Open
Pimolrat_te_ch7.pdfบทที่ 744.82 kBAdobe PDFView/Open
Pimolrat_te_back.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก360.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.