Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64573
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิลุบล คล่องเวสสะ-
dc.contributor.advisorรุจิโรจน์ อนามบุตร-
dc.contributor.authorสาธิมน พงษ์วัฒนาสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-03-31T04:33:28Z-
dc.date.available2020-03-31T04:33:28Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740316557-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64573-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstractงานวิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการหาทิศทางในมหาวิทยาลัย และศึกษากระบวนการหาทิศทางในสภาวะต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเลือกใช้ปัจจัยกายภาพที่แตกต่างกัน โดยทำการทดลองที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผลที่ได้จะนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบผังบริเวณที่เอื้อให้สามารถหาทิศทางได้ง่าย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการสอบถามความคิดเพื่อทราบการคาดเดาตำแหน่งของจุดหมายก่อนหาทิศทางโดยใช้แบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 2 เป็นการทดลองหาทิศทางในสภาพแวดล้อมจริงโดยให้กลุ่มตัวอย่างหาทิศทางทั้งหมด 4 ครั้ง คือ หาทิศทางจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดหมายหอสมุดกลาง หาทิศทางจากหอสมุดกลางไปจุดหมายคณะวิศวกรรมศาสตร์ หาทิศทางจากจุดหมายคณะวิศวกรรมศาสตร์ไปจุดหมายสำนักพิมพ์ และหาทิศทางจากสำนักพิมพ์กลับมาจุดเริ่มต้น โดยผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมตลอดเวลาการทดลอง โดยการติดตามสังเกตการณ์และสัมภาษณ์ถึงปัจจัยที่มีผลต่อการหาทิศทางในจุดตัดสินใจต่าง ๆ และสภาวะที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ลักษณะการตัดสินใจ ตำแหน่งกายภาพ ณ จุดตัดสินใจ ปัจจัยกายภาพที่ใช้ สาเหตุ จำนวนการตัดสินใจและเวลาที่ใช้ในการค้นหาจุดหมาย ขั้นตอนที่ 3 ทำการอภิปรายกับผู้เข้าทดลองถึงเส้นทางที่ใช้และสอบถามความคิดเห็นถึงลักษณะกายภาพที่ทำให้การหาทิศทางเป็นไปได้ยากหรือง่ายเพียงไร ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 10 คนที่ไม่คุ้นเคยกับสถานที่ทดลอง โดยแบ่งเป็นกลุ่มสถาปนิก-ภูมิสถาปนิก 5 คน และกลุ่มบุคคลทั่วไป 5 คน นำมาวิเคราะห์แบบแผนของปัจจัยในสภาวะต่าง ๆ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการหาทิศทาง คือ การจัดระเบียบผัง ทางสัญจร การมองเห็นได้ จุดอ้างอิง เนื้อหา และขอบ แต่ละปัจจัยมีความสำคัญแตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์ ณ จุดตัดสินใจต่าง ๆ โดยสถานการณ์ที่กล่าวถึงนั้นเกิดจากสภาวะทางกายภาพและสภาวทางจิตใจของบุคคลต่อจุดตัดสินใจ ประกอบกับสภาวะทางภายภาพและสภาวะทางจิตใจของบุคคลต่อจุดมหาย โดยผลสรุปสุดท้ายสามารถสรุปปัจจัยกายภาพที่สำคัญในแต่งละสภาวะและประมวลสถานการณ์ที่เป็นไปได้ ได้ทั้งหมด 54 สถานการณ์-
dc.description.abstractalternativeThis exploratory research examines physical factors affecting wayfinding, and seeks to explain wayfinding process in a complex environment such as a university campus. The study was conducted at the Bangkok campus of Ramkhamhaeng University which is an example of a complicated built environment from wayfinding point of view. The study aims to generate a design criterion for landscape designing and site planning of environment that will facilitate wayfinding. There were tree steps in data collection: Firstly, subjects were interviewed with a questionnaire to initially identify each subject’s expectation on the directions and factors to beused in finding his/her way to the target. Secondly, each subject was assigned 4 wayfinding tasks to perform. The researcher accompanied each subject and record their thoughts, behavior, and time used, and the associated physical environment along the way to reach each destination. Thirdly, upon completion of the field task, wayfinding experiences were discussed with the subjects over a layout map and a questionnaire was used to record their additional thoughts and opinions. The data was analyzed mainly by content analysis method. The results show 6 physical factors affecting wayfinding. The are: organization, circulation, visual access, reference point, content, and edges of the physical environment. The degree of importance of each factor, however, varies depending on different situations at the decision points. The situation may be explained as the physical and mental conditions at decision points depending on the physical and mental condition of which destinations the way-finder had in mind. There are 54 possible combinations identified.-
dc.language.isothen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยรามคำแหงen_US
dc.subjectการออกแบบภูมิทัศน์--ไทยen_US
dc.subjectการหาทิศทางen_US
dc.subjectRamkhamhaeng Universityen_US
dc.subjectLandscape design--Thailanden_US
dc.subjectWayfindingen_US
dc.titleปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการหาทิศทางในภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงen_US
dc.title.alternativePhysical factors affecting wayfinding in landscape of Ramkhamhaeng Universityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภูมิสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNilubol.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Satimon_po_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ922.54 kBAdobe PDFView/Open
Satimon_po_ch1_p.pdfบทที่ 1901.56 kBAdobe PDFView/Open
Satimon_po_ch2_p.pdfบทที่ 21.56 MBAdobe PDFView/Open
Satimon_po_ch3_p.pdfบทที่ 32.63 MBAdobe PDFView/Open
Satimon_po_ch4_p.pdfบทที่ 42.65 MBAdobe PDFView/Open
Satimon_po_ch5_p.pdfบทที่ 52.08 MBAdobe PDFView/Open
Satimon_po_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก648.55 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.