Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65384
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมุรธา วัฒนะชีวะกุล-
dc.contributor.advisorสุรศักดิ์ วาจาสิทธิ์-
dc.contributor.authorปกรณ์ คุณสาระ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-19T12:50:17Z-
dc.date.available2020-04-19T12:50:17Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741798652-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65384-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en_US
dc.description.abstractการพื้นฟูกิจการเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาทางการเงินที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากกระบวนการนอกศาลซึ่งถูกน่ามาใช้ในฐานะกระบวนการทางศาลที่มีกฎหมายรองรับ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการรักษากิจการให้กลับมามีความสามารถในการทำกำไรและการบริหารโดยไม่ต้องล้มละลายหรือชำระบัญชีอันเป็นการรักษามูลค่าของกิจการที่ยังคงดำเนินการต่อไปอันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ลูกหนี้เจ้าหนี้ ผู้มีส่วนได้เสีย และระบบเศรษฐกิจโดยรวม ในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุดประการ หนึ่งคือ กระบวนการจัดทำแผนพื้นฟูกิจการและการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยกฎหมายได้กำหนดให้ผู้ทำแผนพื้นฟูกิจการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดในเรื่องดังกล่าวเป็นการเฉพาะ และยังได้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ทำแผนพื้นฟูกิจการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและโครงสร้างของกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจ หน้าที่และความรับผิดของผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการและบทบัญญัติในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหนาที่ของผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ โดยศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายฟื้นฟูกิจการของต่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการหรือผู้ดำเนินการฟื้นฟูกิจการ เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งจากการศึกษาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ และความรับผิดของผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการและบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องพบว่ากฎหมายฟื้นฟูกิจการของไทยในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการยังไม่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นฟูกิจการและยังก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายที่ส่งผลในทางปฏิบัติแก่คดีฟื้นฟูกิจการในหลายประการ โดยเฉพาะบทบัญญัติในเรื่องคุณสมบัติของผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ หลักเกณฑ์การแต่งตั้งผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการในหลายประการ โดยเฉพาะบทบัญญัติในเรื่องคุณสมบัติของผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ หลักเกณฑ์การแต่งตั้งผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ สถานะและหน้าที่ของผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ สถานะของหนี้ที่ผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการก่อขึ้น ค่าใช้จ่ายของผู้ทำฟื้นฟูกิจการ การพ้นจากตำแหน่งของผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการและความรับผิดของผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาโดยการตีความกฎหมาย ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการเสนอแนะแนวทางและการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมหลักการดังต่อไปนี้ 1. กำหนดคุณสมบัติของผู้ทำแผนพื้นฟูกิจการในกรณีที่ผู้ทำแผนพื้นฟูกิจการมีสถานะเป็นนิติบุคคลให้มีความชัดเจนและครอบคลุมในกรณีที่เป็นปัญหา 2. กำหนดให้ลูกหนี้เป็นผู้ทำแผนพื้นฟูกิจการในกรณีลูกหนี้เป็นผู้ร้องขอพื้นฟูกิจการและแก้ไขมติของเจ้าหนี้ในการเลือกผู้ทำแผนพื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/17 วรรคสอง 3. กำหนดสถานะและมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ทำแผนพื้นฟูกิจการให้มีความชัดเจนและกำหนดหน้าที่ที่จำเป็นอื่น ๆ 4. เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องสถานะของหนี้ที่ผู้ทำแผนพื้นฟูกิจการก่อขึ้นตามมาตรา 90/77 วรรคสามในกรณีที่แผนพื้นฟูกิจการไม่ได้รับความเห็นชอบและลูกหนี้ถูกศาลมีคำลังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 5. กำหนดหลักเกณฑ์การควบคุมตรวจสอบค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนพื้นฟูกิจการในเรื่องจำนวนและการจ่ายค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนพื้นฟูกิจการ 6. กำหนดหลักเกณฑ์การพ้นจากตำแหน่งของผู้ทำแผนพื้นฟูกิจการ 7. กำหนดบทยกเว้นความรับผิดทางแฟงในกรณีที่ผู้ทำแผนพื้นฟูกิจการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย กำหนดสิทธิในการฟ้องคดีแทนลูกหนี้ และกำหนดขอบเขตความรับผิดทางอาญาของผู้ทำแผนพื้นฟูกิจการให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น-
dc.description.abstractalternativeBusiness Reorganization is one method for solving the financial problems of debt-ridden companies. Business Reorganization developed from out-of-court procedures, and has been subsequently recognized by law as one of court proceeding in this country. The major objective of Business Reorganization is to maintain the profitability and value of an indebted business for going concern value while avoiding bankruptcy or liquidation. Business Reorganization is beneficial to debtors, creditors, interested parties, and the global economy. In order to achieve the objectives mentioned above, the most significant step is to prepare the reorganization plan and to manage the business and the assets of the debtors. Under the law, it is planners' duty and responsibility to handle these matters. To assist planners, there are provisions that support planners allowing him to achieve the objectives of the laws. The purpose of this thesis is to study the structure and rationale of business reorganization laws, especially the powers, duties and liabilities of business reorganization planners, and other provisions concerning planners, in comparison to Thailand’s Bankruptcy Act B.E. 2483 (A.D. 1940). The main finding of this thesis, unfortunately, is that the Thai Bankruptcy Act empowers and establishes responsibilities for planners in a manner not convenient to business reorganization. This generates legal problems that affect business reorganization lawsuits in many aspects, namely the qualification of planners, the rules regarding the appointment of planners, the status and duties of planners, the obligations incurred by planners, the expenses of planners, the 'emoval of planners from their position, and the accountability of planners. The foregoing problems can not be solved by interpretation of the law. As a result of the foregoing problems, this thesis proposes suggestions and guidelines to amend Bankruptcy Act B.E. 2483 (A.D. 1940) and other relevant laws in order tc cover for the following topics: 1. Specify the qualifications of planners, especially planners who are juristic persons, precisely and thoroughly. 2. Appoint debtors as planners in cases where the debtor files the business reorganization petition, and amend the resolution of the creditors on election of planners in accordance with Section 90/17, second paragraph. 3. Clearly establish the legal status and the standard of duties of planners including other necessary duties. 4. Establish the rules regarding the status and treatment of debts incurred by planners in cases where business reorganization is not approved, and the courts order the debtors to be under absolute receivership. 5. Establish rules to audit the expenses and expenditures of planners including the payment of such expenses by planners. 6. Establish rules for the removal of planners from their positions. 7. Clearly establish the immunity of planners from civil liability in those cases where planners perform his duties according to the law, establish the right to file claims on behalf of the debtors, and precisely specify the responsibilities and limitations for criminal actions of planners.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฟื้นฟูบริษัท -- ไทยen_US
dc.subjectกฎหมายบริษัท -- ไทยen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483en_US
dc.subjectCorporate reorganizations -- Thailanden_US
dc.subjectCorporation law -- Thailanden_US
dc.titleอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการen_US
dc.title.alternativePowers, duties and liabilities of the planneren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pakorn_ku_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อและสารบัญ873.4 kBAdobe PDFView/Open
Pakorn_ku_ch0_p.pdfบทนำ850.36 kBAdobe PDFView/Open
Pakorn_ku_ch1_p.pdfบทที่ 11.88 MBAdobe PDFView/Open
Pakorn_ku_ch2_p.pdfบทที่ 23.09 MBAdobe PDFView/Open
Pakorn_ku_ch3_p.pdfบทที่ 32.85 MBAdobe PDFView/Open
Pakorn_ku_ch4_p.pdfบทที่ 42.77 MBAdobe PDFView/Open
Pakorn_ku_ch5_p.pdfบทที่ 5787.31 kBAdobe PDFView/Open
Pakorn_ku_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก694.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.