Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65393
Title: ภาพลักษณ์ขององค์การสหประชาชาติจากการนำเสนอของหนังสือพิมพ์ การเปิดรับข่าวสหประชาชาติ การรับรู้ ทัศนคติ และภาพลักษณ์ต่อองค์การสหประชาชาติของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Image of the united nations, as portrayed in local newspapers ; Bangkok residents' exposure to UN news, and their perception of, attitude toword and image of the United Nations
Authors: เตือนใจ จวบสมัย
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: tanawadee.b@chula.ac.th
Subjects: สหประชาชาติ
ภาพลักษณ์องค์การ
การรับรู้
ทัศนคติ
United Nations
Corporate image
Perception
Attitude ‪(Psychology)‬
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ (1) ศึกษาภาพลักษณ์ขององค์การสหประชาชาติจากการนำเสนอของหนังสือพิมพ์รายวัน (2) ศึกษาการเปิดรับข่าวสหประชาชาติ การรับรู้ ทัศนคติ และภาพลักษณ์ต่อสหประชาชาติของประชาชนในกรุงเทพมหานคร (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสหประชาชาติ การรับรู้ ทัศนคติ และภาพลักษณ์ต่อสหประชาชาติของประชาชนที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน โดยใช้ (1) วิธการวิเคราะห์เนื้อหาข่าวเกี่ยวกับสหประชาชาติในหนังสือพิมพ์รายวัน 4 ชื่อฉบับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545 รวมจำนวน 360 ฉบับ และ (2) การวิจัยเชิงสำรวจประชาชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 259 คน ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS PC และคำนวณโดยใช้ค่าสถิติ คือ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และสหสัมพันธ์อย่างง่าย ผลการวิเคราะห์เนื้อหาข่าวพบว่า หนังสือพิมพ์รายวันในประเทศไทยมีการนำเสนอข่าวสหประชาชาติที่ให้ภาพลักษณ์ด้านบวกมากกว่าภาพลักษณ์เป็นกลาง ๆ หรือด้านลบ ประเด็นที่นำเสนอมากที่สุดคือ ข่าวเกี่ยวกับงานด้านการรักษาสันติภาพรองลงมาคือข่าวด้านความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่ทางสหประชาชาติเป็นผู้สนับสนุน และงานด้านสิทธิมนุษยชน ประเด็นข่าวที่มี ภาพลักษณ์ทางบวกสูงสุดคือ ข่าวของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับภูมิภาพเอเชียและแปซิฟิค ข่าวที่นำเสนอส่วนใหญ่เป็นข่าวหลักที่เกี่ยวกับงานของสหประชาชาติโดยตรง ที่มีลักษณะข่าวธรรมดา และข่าวใหญ่ในหน้าต่าง ๆ โดยมีแหล่งข่าวจากสำนักข่าวหรือแหล่งข่าวต่างประเทศ เป็นข่าวที่มีทีศทางข่าวเชิงบวกและลบใกล้เคียงกัน หนังลือพิมพ์รายวันแต่ละฉบับมีการนำเสนอข่าวสหประชาชาติแตกต่างกันไปและหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษมีปริมาณการนำเสนอข่าวสหประชาชาติมากกว่าหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย โดยหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์มีการนำเสนอข่าวสหประชาชาติมากที่สุด ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า 1. ประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ แตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวสหประชาชาติแตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีอายุ แตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวสหประชาชาติไม่แตกต่างกัน ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษาและอาชีพ แตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวสหประชาชาติในประเด็นต่าง ๆ แตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวสหประชาชาติในประเด็นต่าง ๆ ไม่แตกต่างกัน 2. ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ แตกต่างกันมีการรับรู้บทบาทขององค์การสหประชาชาติ และมีทัศนคติต่อองค์การสหประชาชาติแตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันมีการรับรู้บทบาทขององค์การสหประชาชาติ และมีทัศนคติต่อองค์การสหประชาชาติไม่แตกต่างกัน 3. ประชาชนที่มีอายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกันมีภาพลักษณ์ต่อองค์การสหประชาชาติแตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกันมีภาพลักษณ์ต่อองค์การสหประชาชาติไม่แตกต่างกัน 4. การเปิดรับข่าวสารสหประชาชาติมีความสัมพันธ์กับการการรับรู้บทบาทหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติทัศนคติและภาพลักษณ์ต่อองค์การสหประชาชาติ 5. การรับรู้บทบาทหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติมีความสัมพันธ์กับทัศนคติ และภาพลักษณ์ ต่อองค์การสหประชาชาติ 6. ทัศนคติต่อองค์การสหประชาชาติมีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ที่มีต่อองค์การสหประชาชาติ
Other Abstract: This research assessed the image of the United Nations and its entities (UN) from two research methods: (1) An analysis of content and coverage of UN-related news is selected Thailand daily newspapers (2) An attitude and information exposure survey of residents of Bangkok The process involved four elements: (1) Reviewing the kind of and character of coverage of the UN in 360 editions of 4 Bangkok daily newspapers (Thai Rath; Matichon; Bangkok Post; The Nation) over the period January to June 2002. (2) A survey of 259 selected residents of metropolitan Bangkok to study their exposure to, perception of, attitude toward and image of the UN, encompassing the following groups: students; teachers/professors; government officials; soldiers; police; diplomats; state enterprise workers; private sector workers; international organization and NGO staff; business owners; and professionals. (3) An analysis of differences of perception among different demographic groups within the Bangkok population. (4) An analysis of correlations among and between demographic groups surveyed. For data analysis, the following were used: SPSS/PC+; T-test; one-way ANOVA; and Pearson’s Product Moment Correlation. The findings were as follows: The survey of newspaper articles about the UN indicated positive coverage exceeded negative or neutral coverage. Most of the coverage was about the UN’s normal activities with occasional big stories. Most of the news came from international news organizations and there was a preponderance of positive over negative. The most reported news was about UN peacekeeping activities, followed by assistance aid, human rights, international aid funds, and meetings. The most positive coverage was of UNESCAP. The amount of UN coverage in newspapers varied with English-language dailies reporting more than Thai dailies. The Bangkok Post carried more news about the United Nations than others. The results supported the following conclusions: 1. Gender, education, and occupation differences correlate with differences in media exposure. Age differences do not correlate with media exposure. Those people who differ in age, education, and profession also differ in exposure to different kinds of news about the UN. Gender differences do not correlate with exposure to UN news. 2. Age, education, and gender differences correlate with perception of and attitude toward the UN. However, differences in gender do not correlated with perception of and attitude toward the UN. 3. Age and education differences correlate with differences on the image of the UN, while gender and occupation differences do not. 4. Exposure to UN news had little to medium correlation with perception of, attitude toward, and image of the UN. 5. Perception of the role of the UN correlates with the attitude toward and image of the UN. 6. Attitude toward the UN correlates with the image of the UN.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65393
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.528
ISBN: 9741713142
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.528
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tuenjai_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อและสารบัญ873.81 kBAdobe PDFView/Open
Tuenjai_ch_ch1_p.pdfบทที่ 11.08 MBAdobe PDFView/Open
Tuenjai_ch_ch2_p.pdfบทที่ 22.39 MBAdobe PDFView/Open
Tuenjai_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3947.64 kBAdobe PDFView/Open
Tuenjai_ch_ch4_p.pdfบทที่ 42.77 MBAdobe PDFView/Open
Tuenjai_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.92 MBAdobe PDFView/Open
Tuenjai_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.