Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66197
Title: การลดอัตราการขัดข้องในระบบปรับอากาศของอาคารสูง : กรณีศึกษาอาคาร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
Other Titles: Breakdown reduction in air-condition system for high building : a case study of Siam Commercial Bank Head Office Building
Authors: ทศพร ชุติวัฒน์
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.R@Chula.ac.th
Subjects: ธนาคารไทยพาณิชย์ -- อาคาร
อาคารสูง -- การปรับอากาศ
การปรับอากาศ -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
Siam Commercial Bank -- Buildings
Tall buildings -- Air conditioning
Air conditioning -- Maintenance and repair
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการขัดข้องของอุปกรณ์ เครื่องจักร และเพิ่มช่วงเวลาเฉลี่ยระหว่างการเกิดเหตุขัดข้องของเครื่องจักร โดยการวิเคราะห์สาเหตุการขัดข้องและจัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกันและแผนการตรวจสอบอุปกรณ์ ซึ่งจากการศึกษาระบบบำรุงรักษาเครื่องจักรในปัจจุบันมีเพียงการซ่อมแซมเครื่องจักรหลังการขัดข้องเท่านั้น และไม่มีการจัดทำข้อมูลประวัติการขัดข้องของเครื่องจักร มาวิเคราะห์สาเหตุการขัดข้องของระบบปรับอากาศ จึงทำให้อัตราการขัดข้องของระบบปรับอากาศไม่ลดลง สาเหตุของการขัดข้องของระบบปรับอากาศในการวิจัยนี้สามารถแบ่งออกเป็น การออกแบบไม่ดี การเสื่อมสภาพของเครื่องจักร การซ่อมแซมไม่ดี การใช้งานไม่ถูกต้อง และการขาดการบำรุงรักษา โดยการขัดข้องหลักของระบบปรับอากาศมาจากการขาดการบำรุงรักษามากถึง 65.08 % และช่วงเวลาเฉลี่ยระหว่างการเกิดเหตุขัดข้องของเครื่องจักรก่อนการปรับปรุงเท่ากับ 274.56 ช.ม.และมีอัตราการขัดข้องเท่ากับ 45.59 % จากการวัดผลการศึกษาได้แบ่งเครื่องจักรออกเป็น 9 อุปกรณ์หลัก คือ เครื่องทำน้ำเย็น หอผึ่งน้ำ ชุดขับดันน้ำปฐมภูมิ ชุดขับดันน้ำทุติยภูมิ ชุดขับดันน้ำระบายความร้อน เครื่องเป่าลมเย็นขนาดใหญ่ เครื่องเป่าลมเย็นขนาดเล็ก หัวจ่ายลมแปรผัน และหัวจ่ายลมคงที่ โดยหลังการปรับปปรุงอัตราส่วนการขัดข้องลดลงจาก 45.59 % เป็น 30.25 % ลดลง 15.34 % และช่วงเวลาเฉลี่ยก่อนการเกิดเหตุเพิ่มขึ้นจาก 274.56 ช.ม. เป็น 367.47 ช.ม.คิดเป็นอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น 33.83 %
Other Abstract: The objective of this case study is reduce the percentage of machine-breakdown and increat mean time between failure by preventive maintenance planning , Identify the cause of machine break-down and inspection planning. The maintenance system of this building has been found that the maintenance will be repair the machine break-down .And not repair data ,machine history is not collected to analyze cause of machine break-down .It cause of machine-breakdown not reduction. Cause of machine break-down can identify from inssufficient standard of machine design , the degeneratioof machine, insufficient repair of machine, incorrect operation of machine , and not maintenance of machine. The importance cause is not maintenance is most 45.59 percentage. The importance of case study can defind to 9 machine is water-chiller , cooling tower , primary control pump , secondary control pump , condensor pump 1 air-handling unit , fan-coil unit 1 variable air volume and constance air volume. The percentage of machine break-down reducing from 45.59 percent to 30.25 percent ; reduction 15.34 percentage. And mean time between failure is increat from 274.52 hour to 367.47 hour ; increation 33.83 percentage.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66197
ISBN: 9740303447
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Totsporn_sh_front_p.pdf875.06 kBAdobe PDFView/Open
Totsporn_sh_ch1_p.pdf674.23 kBAdobe PDFView/Open
Totsporn_sh_ch2_p.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Totsporn_sh_ch3_p.pdf899.03 kBAdobe PDFView/Open
Totsporn_sh_ch4_p.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Totsporn_sh_ch5_p.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Totsporn_sh_ch6_p.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open
Totsporn_sh_ch7_p.pdf768.93 kBAdobe PDFView/Open
Totsporn_sh_back_p.pdf5.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.