Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66394
Title: อุบัติการณ์ของภาวะโลหิตจางที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ของผู้ป่วยใน แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Incidence of anemia occurred during admission in general medicine in-patients of King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: พีระพล วอง
Advisors: ธานินทร์ อินทรกำธรชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: เลือดจาง
Anemia
Medicine
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ อาจพบภาวะโลหิตจ่างร่วมกับโรคทางระบบอื่น ๆ หรือ อาจพบเป็นภาวะแทรกซ้อนขณะรับการรักษา อย่างไรก็ตามในปัจจุบันอุบัติการณ์ และสาเหตุของภาวะโลหิตจางที่เกิดขึ้นขณะที่อยู่ในโรงพยาบาลยังไม่มีการรวบรวมไว้ ระเบียบวิธีวิจัย รวบรวมผู้ป่วยอายุรกรรมที่ไม่มีภาวะโลหิตจางแรกรับ และเข้ารับการรักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วงเดือนมีนาคม ถึง พฤศจิกายน 2544 โดยผู้ป่วยต้องอยู่รักษาในโรงพยาบาลไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์ หาอุบัติการณ์ของภาวะโลหิตจางที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล โดยผู้ชายมีค่าฮีโมโกลบินน้อยกว่า 13 กรัมต่อเดซิลิตร และผู้หญิงมีค่าฮีโมโกลบินน้อยกว่า 12 กรัมต่อเดซิลิตร ทำการตรวจค้นหาสาเหตุของภาวะโลหิตจางที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยที่ไม่พบภาวะโลหิตจางจะได้รับการตรวจ CBC อีกครั้งภายใน 48 ชั่วโมง ก่อนกลับบ้านเพื่อยืนยัน บันทึกปริมาณเลือดที่ใช้เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้งหมดขณะอยู่ในโรงพยาบาล ผลการวิจัย พบอุบัติการณ์ของภาวะโลหิตจาง 64 คน จาก 98 คน (65.3%) สาเหตุเป็นจากการเสียเลือดที่ชัดเจน 35.7%, ภาวะโลหิตจางจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง 32.1%, การเสียเลือดในทางเดินอาหารที่มองไม่เห็น 23.2%และภาวะโลหิตจากจากการแตกของเม็ดเลือด 8.9% ปริมาณเลือดที่ใช้ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเฉลี่ยในกลุ่มที่เกิดภาวะโลหิตจาง (147 มิลลิลิตร, พิสัย 28-545 มิลลิลิตร) มากกว่ากลุ่มที่ไม่เกิดภาวะโลหิตจาง (52 มิลลิลิตร, พิสัย 5-114 มิลลิลิตร) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณเลือดที่ใช้ตรวจทางห้องปฏิบัติการมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันกับความรุนแรงของภาวะโลหิตจาก (r = 0.638, p < 0.05) สรุป ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยถึงสองในสามของผู้ป่วยที่อยู่รักษาในโรงพยาบาลสาเหตุสำคัญเป็นจากการเสียเลือดที่ชัดเจน และจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง อย่างไรก็ตามการเสียเลือดจากการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นสาเหตุร่วมที่สำคัญสาเหตุหนึ่ง แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยควรตระหนักถึงปัญหานี้ และพิจารณาอย่างรอบคอบ ในการส่งเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัยโรค
Other Abstract: Background : Anemia is a common medical problem faced by every clinician. It is manifested by most systemic diseases or occurs as a complication during treatment. The incidence and etiologies of hospital-acquired anemia however has not been previously investigated. Methods : All non-anemic patients admitted in general medicine wards at least 1 week were included in the study. Outcome of interest was anemia (male, hemoglobin < 13 g/dl; female, hemoglobin < 12 g/dl) developed during admission. Value of hemoglobin and hematocrit within 48 hours before discharge was performed in non-anemic patients. Causes of anemia were investigated accordingly in each patient. The total volume of blood collected for investigations during admission was recorded. Results : Of the 98 evaluable patients, 64 (65.3%) developed anemia. The causes of anemia according to the incidence were as the following : obvious blood loss (35.7%) anemia of chronic disease (32.1%), occult gastrointestinal blood loss (23.2%), hemolysis (8.9%). The mean blood volume collected for investigation in anemic patients (147 ml, range, 28-545 ml) was significantly higher than the non-anemic group (52 ml, range, 5-114 ml) (p < 0.05). Mean investigational blood loss correlated significantly with degree of anemia (r = 0.638, p < 0.05) Conclusions : Anemia was a commo complication occurred in almost two-third of patients admitted in the hospital. Obvious blood loss and anemia of chronic disease were the two leading causes. However blood loss from investigations is an important contributing factor. Clinician therefore should take more consideration in drawing blood for investigations in patients admitted in the hospital.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66394
ISBN: 9741703287
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peerapon_wo_front_p.pdf870.48 kBAdobe PDFView/Open
Peerapon_wo_ch1_p.pdf700.5 kBAdobe PDFView/Open
Peerapon_wo_ch2_p.pdf893.15 kBAdobe PDFView/Open
Peerapon_wo_ch3_p.pdf664.21 kBAdobe PDFView/Open
Peerapon_wo_ch4_p.pdf684.36 kBAdobe PDFView/Open
Peerapon_wo_ch5_p.pdf666.52 kBAdobe PDFView/Open
Peerapon_wo_ch6_p.pdf690.21 kBAdobe PDFView/Open
Peerapon_wo_ch7_p.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Peerapon_wo_ch8_p.pdf795.8 kBAdobe PDFView/Open
Peerapon_wo_ch9_p.pdf640.1 kBAdobe PDFView/Open
Peerapon_wo_back_p.pdf748.1 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.