Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66418
Title: ผลของการเต้นแอโรบิกที่พัฒนาจากทักษะกีฬาประจำชาติไทยต่อสมรรถภาพทางกาย
Other Titles: Effects of aerobic dance developing from Thai National Sport skills on physical fitness
Authors: รองรัก สุวรรณรัตน์
Advisors: ชัชชัย โกมารทัต
วันชัย บุญรอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chuchchai.G@Chula.ac.th
Wanchai.B@Chula.ac.th
Subjects: การเต้นแอโรบิก
แอโรบิก (กายบริหาร)
สมรรถภาพทางกาย
Aerobic dancing
Physical fitness
Aerobic exercises
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะกีฬาประจำชาติไทย ให้เป็นการเต้นแอโรบิกแบบกีฬาประจำชาติไทยที่มีความเหมาะสมตามองค์ประกอบของการเต้นแอโรบิก และเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกแบบกีฬาประจำชาติไทยที่มีต่อน้ำหนักของร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะพัก ความอ่อนตัว เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา ความจุปอด และสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครเพศหญิงของ ตำบลชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช อายุ 40-50 ปี ที่มีสุขภาพดี จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มแรกเป็นกลุ่มตัวอย่างช่วงการสร้างรูปแบบการเต้นแอโรบิกแบบกีฬาประจำชาติไทย ใช้เวลาในการทดลองเต้นแอโรบิกแบบกีฬาประจำชาติไทย 4 สัปดาห์ กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มตัวอย่างช่วงศึกษาผลของการเต้นแอโรบิกแบบกีฬาประจำชาติไทย ใช้เวลาในการทดลองเต้นแอโรบิกแบบกีฬาประจำชาติไทย 12 สัปดาห์ ทั้งสองกลุ่มตัวอย่างทำการทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที กลุ่มที่สองจะทำการวัดสมรรถภาพทางกายก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำข้อมูลหลังการทดลองมาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way analysis of variance with repeated measures) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของตูกี(เอ) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะกีฬาประจำชาติไทยสามารถพัฒนาให้เป็นการเต้นแอโรบิกแบบกีฬาประจำชาติไทย ที่มีคุณค่าด้านสมรรถภาพทางกายและมีความเหมาะสมตามองค์ประกอบของการเต้นแอโรบิกได้ โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันว่าชุดรูปแบบการเต้นแอโรบิกแบบกีฬาประจำชาติไทยมีความตรงตามเนื้อหา และมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมตามองค์ประกอบของการเต้นแอโรบิกคือ 3.54 อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก 2 . หลังการทดลองเต้นแอโรบิกแบบกีฬาประจำชาติไทย 12 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างช่วงศึกษาผลของการเต้นแอโรบิกแบบกีฬาประจำชาติไทย มีสมรรถภาพทางกายด้านน้ำหนักของร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะพัก ความอ่อนตัว เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้าเนื้อแขนและขา ความจุปอด และสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ที่ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to develop the skills of Thai national sport into Thai national sport aerobic dance so as to be the suitability on aerobic dance composition and to compare the effects of Thai national sport aerobic dance on physical fitness to be consist of body weight, resting heart rate, resting blood pressure, flexibility, percent of body fat, arm and leg muscle strength, vita capacity and maximum oxygen uptake. The subjects were volunteered female of Chu-uat district in Nakornsrithammarat province, aged between 40-50 years old. They were divided into two groups, 20 persons for each group. The first group was subjects in stage of Thai national sport aerobic dance construction and performing exercise for 4 weeks. The second group was subjects in stage of studying effects of Thai national sport aerobic dance and performing exercise for 12 weeks, the both groups were experimented in 45 minutes per day, 3 days a week and testing physical fitness 4 times, before experimentation, after 4 weeks, after 8 weeks and after 12 weeks. The obtained data were then statistically analyzed in term of means and standard deviation. One-way analysis of variance with repeated measures and Turkey (a) method were also employed to determine the significant difference at the .05 level, respectively The results were as follows : 1. The national sport skills could be developed into Thai national sport aerobic dance so as to be the valuable in physical fitness and suitability on aerobic dance composition. The expert opinion accepted the Thai national sport aerobic dance to have content validity and means of suitability on aerobic dance composition were 3.54, very good level. 2. After the 10 weeks of training, body weight, resting heart rate resting blood pressure flexibility, percent of body fat, arm and leg muscle strength, vital capacity and maximum oxygen uptake were better to be significantly at the .05 level
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66418
ISBN: 9741438621
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rongrak_su_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.11 MBAdobe PDFView/Open
Rongrak_su_ch1_p.pdfบทที่ 11.19 MBAdobe PDFView/Open
Rongrak_su_ch2_p.pdfบทที่ 24 MBAdobe PDFView/Open
Rongrak_su_ch3_p.pdfบทที่ 31.06 MBAdobe PDFView/Open
Rongrak_su_ch4_p.pdfบทที่ 42.99 MBAdobe PDFView/Open
Rongrak_su_ch5_p.pdfบทที่ 51.58 MBAdobe PDFView/Open
Rongrak_su_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก7.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.