Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66463
Title: | การค้าชายแดนไทย-พม่าในบริบทของกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง |
Other Titles: | Thai-Myanmar border trade in the context of Ayeyawady-Chaopraya-Mekong economic cooperation strategy |
Authors: | พัชรพล จงไพบูลย์กิจ |
Advisors: | พรพิมล ตรีโชติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Pornpimon.T@Chula.ac.th |
Subjects: | ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไทย -- การค้ากับต่างประเทศ -- พม่า ไทย -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ -- พม่า Economic cooperation Thailand -- International trade -- Burma Thailand -- Foreign economic relations -- Burma |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เล่นนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสภาพการค้าและปัจจัยที่ส่งผลต่อการค้าระหว่างอำเภอแม่สายและเมืองท่าขี้เหล็ก 2) เพื่อศึกษานโยบายของรัฐต่อการค้าชายแดนระหว่างไทยกับพม่าและความเป็นมาของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอำเภอแม่สายและเมืองท่าขี้เหล็ก 3) เพื่อศึกษาทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการในการค้าชายแดน การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการศึกษาพบว่า การค้าชายแดนไทย-พม่ามีแนวโน้มที่จะมีขยายตัวและมีความสำคัญมากขึ้นด้วยปัจจัยหลายประการ ได้แก่ 1) ความก้าวหน้าของการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจโดยมีนโยบายเปิดประตูมุ่งลงใต้ของจีนเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ส่งผลให้การค้าผ่านแดนไทย-จีนถือเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการค้าชายแดนไทย-พม่า 2) นโยบายกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนและแผนยุทธศาสตร์จังหวัดเชียงรายภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง หรือ ACMECS จะเป็นปัจจัยให้การค้าชายแดนไทย-พม่ามีอัตราสูงขึ้น 3) ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมโดยเฉพาะในผู้ประกอบการที่มีเชื้อสายจีน ทั้งในประเทศไทย พม่าและจีนเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการค้าชายแดนไทย-พม่า และการค้าผ่านแดนกับจีน ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่พบในการศึกษาครั้งนี้ พบว่าปัญหาทางการเมืองภายในของพม่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการค้าชายแดนไทย-พม่า ตลอดจนความร่วมมือในกรอบสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจและกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง หรือ ACMECS ทั้งนี้เพราะพม่ายังไม่สามารถทำความตกลงกับกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยในพื้นที่รัฐฉานซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตความร่วมมือระหว่างประเทศได้ ส่งผลให้รัฐบาลพม่ายังมีมาตรการคุมเข้มทางการเมืองและเศรษฐกิจในบริเวณชายแดน รวมถึงพื้นที่ในรัฐฉาน และมีการกำหนดกฎระเบียบด้านการค้าที่ไม่เอื้อต่อการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนั้น ยังพบว่าขาดความพร้อมทางด้านประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ด้านการค้า โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่เอื้อต่อการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาการค้าชายแดนภายใต้กรอบ ACMECS และแผนยุทธศาสตร์รองรับของจังหวัดเชียงรายได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาอุปสรรคดังกล่าวในส่วนของไทย ในขณะเดียวกันก็เอื้อต่อการพัฒนาในพม่าด้วย การสนับสนุนด้านการค้าและการลงทุนในเขตนี้ให้มากขึ้น โดยบางส่วนได้มีดำเนินการเสร็จลุล่วงแล้ว เช่น การอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า การลงทุน และการลงทุนด้าน การเกษตรและอุตสาหกรรมในพม่า นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศจีนได้เข้ามามีบทบาทต่อการค้าชายแดนไทย-พม่า อย่างค่อนข้างมากผ่านการดำเนินการของผู้ประกอบเชื้อสายจีนทั้งในไทยและพม่า |
Other Abstract: | The objectives of this are as follows: 1) to study the conditions and factors that affect border trade between Mare Sai, Chiangrai province and Tachilek, Shan State, Myanmar 2) to study Thai’s policy toward the Thai-Myanmar border trade at Mae Sai-Tachilek 3) to study the attitudes of state offices and entrepreneurs involved in the border trade. This thesis a qualitative research. The finding of this is that the border trade is expanding due to many factors such as 1) the development of infrastructure in the Quadrangle Economic CO-operation encouraged by “go south policy” of China supports the expansion of border trade to China 2) the Thai’s policy to develop economic at border areas and Chiangrai province’s strategy in the framework of ACMECS are significant factors to the growth of border trade and 3) the social and cultural relationships among Thai, Myanmar, and Chinese entrepreneurs are also vital factors for the dynamism of these trades. However, despite the promising growth of trades and economic cooperation in these areas, there are still some factors which could hinder the success such as the power struggle between the Myanmar governments and the ethnics armed groups in Shan State which lead to unfavorable regulations for border trades and the intervention of security activities in the border areas. Apart from that, it is found that some of Myanmar officers are inefficient to handle trade regulations. Lack of inefficient infrastructures is also another obstacle. Realizing these advantages, Thailand has tried her best to overcome the obstacles by encouraging many projects involving trade and investments in Myanmar such as agriculture and industry sectors. Another significant finding is the Chinese entrepreneurs in Thailand, Myanmar and Yunnan (China) is a vital factors for economic growth in these areas. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พัฒนามนุษย์และสังคม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66463 |
ISBN: | 9741761902 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patcharapon_jo_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 922.87 kB | Adobe PDF | View/Open |
Patcharapon_jo_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Patcharapon_jo_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Patcharapon_jo_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Patcharapon_jo_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Patcharapon_jo_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 2.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.