Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67745
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรี ขาวเธียร-
dc.contributor.advisorบุญยง โล่ห์วงศ์วัฒน-
dc.contributor.authorประพิศลา เทพสิทธา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-08-27T08:07:42Z-
dc.date.available2020-08-27T08:07:42Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743346139-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67745-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการบำบัดกากตะกรันที่เกิดจากการถลุงแร่เซรัสไซต์เพื่อผลิตตะกั่วแท่งบริสุทธิ์ กากตะกรันนั้เป็นของแข็งปนเปื่อนโลหะหนักซึ่งถูกจัดว่าเป็นของเสียอันตราย ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 6 พ.ศ. 2540 วิธีการบำบัดของแข็งปนเปื่อนโลหะหนักที่เหมาะสมคือ การทำเสถียรและ /หรือการทำให้เป็นก้อน ขั้นตอนในการศึกษาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ การศึกษาลักษณะสมบัติของกากตะกรัน การศึกษาการทำเสถียรกากตะกรันด้วยปูนขาว และการศึกษาการทำให้เป็นก้อนแข็งของกากตะกรัน โดยการศึกษาการทำให้เป็นก้อนจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการทำให้เป็นก้อนด้วย ได้แก่ ชนิดของวัสดุประสาน ขนาดอนุภาคของกากตะกรัน ปริมาณวัสดุประสาน และอัตราสาวนน้ำต่อวัสดุประสาน นอกจากนี้ ยังศึกษาผลของระยะบ่มด้วยเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการพิจารณาความเหมาะสมต่างๆ ได้แก่ กำลังรับแรงอัด ความหนาแน่น และความเข้มข้นของตะกั่วในน้ำสกัด นอดจากนี้ยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการบำบัด และปริมาตรสุดท้ายของของเสียที่เกิดขึ้นด้วย ผลการศึกษาลักษณะสมบัติของกากตะกรันพบว่ากากตะกรันนี้มีปริมาณตะกั่วประมาณร้อยละ 8 โดย น้ำหนัก ความเข้มข้นของตะกั่วในน้ำสกัดมีค่าประมาณ 9 มิลลิกรัมต่อลิตรซึ่งมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานของเสีย อันตรายของกระทรวงอุตสาหกรรม ผลการทดลองทำเสถียรกากตะกรัน พยว่า กำลังแรงอัดมีค่าต่ำมากและไม่ สามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐานของทางราชการได้ ในขณะที่มีเพียงการใช้ปริมาณปูนขาวร้อยละ 100 เทียบกับน้ำ หนักกากตะกรันเท่านั้น ที่สามารถทำให้ความเข้มข้นของตะกั่วในน้ำสกัดสามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ ซึ่งที่ อัตราส่วนนี้จะทำให้ของเสียมีปริมาตรสุดท้ายเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่าของปริมาตรเดิม นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้ระยะเวลาบ่มเพิ่มขึ้น จาก 7, 14 และ 28 วันก็ไม่สามารถทำให้คุณสมบัติต่างๆ ของก้องตัวอย่างขึ้นได้จนได้ตามข้อกำหนดของทางราชการ ผลการศึกษาการทำให้เป็นก้อนของกากตะกรันพบว่า การใช้ปูนซีเมนต์ร้อยละ 12 เทียบกับน้ำหนักของ กากตะกรันเป็นวัสดุประสาน และอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.8 สามารถทำให้คุณสมบัติต่างๆ ของของเสียผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 6 พ.ศ. 2540 นอกจากนี้ยังพบว่าขนาดอนุภาคของกากตะกรันมีผลต่อการทำให้เป็นก้อนด้วยปูนซีเมนต์ โดยเมื่อใช้วัสดุประสานน้อย กากตะกรันที่มีขนาดอนุภาคเล็กจะมีคุณสมบัติต่างฟ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายได้ ในขณะที่กากตะกรันทีมี ขนาดอนุภาคใหญ่กว่าไม่สามารถอยู่เป็นก้อนได้ เมื่อเปรียบเทียบการบำบัดทั้งสองวิธีข้างต้น การบำบัดโดยการทำให้เป็นก้อนแข็งด้วยปูนซีเมนต์ในอัตรา ส่วนร้อยละ 12 เทียบกับน้ำหนักกากตะกรัน มีความเหมาะสมกว่าการผสมด้วยปูนขาว โดยประสิทธิภาพในการทำให้ตะกั่วคงตัวมีค่าร้อยละ 50 และอยู่ในค่าเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับค่าใช้จ่าย ในการบำบัดจะตกปนะมาณ 364 บาทต่อตันของกากตะกั่ว ทั้งนี้ไม่รวมค่าสถานที่ฝังกลบ-
dc.description.abstractalternativeThe research is to investigate the treatment of slag generating from Ce-rusite smelter producing pure lead ingot. The slag. containing heavy metals, has been categonzed as hazardous waste according to the Notification of the Ministry of Industry No. 6 (B.E.2540). The appropriate methods for treatment of heavy metal slag are stabilization and/or solidification. This study was divided into three tasks as follows: the characteristics. of slag, the stabilization of slag with lime, and the solidification of slag. Factor affecting the solidification of slag such as type and amount of binder, size of slag, and water/binder ratio as well as curing time been taken into consideration. The cntenon for proper were compressive strength, density. concentration of lead in extractant. preliminary solidification cost and final volume of the end product. The result of the Investigation had shown that the Ce-rusite smelting’s slag contained approximately 8 percent of lead by weigth. The concentration of lead in extractant was approximately 9 mg/t which exceeded the hazardous waste standard set by the Ministry of Industry. The stabilization of slag with had shown very low compressive strength and could not meet the govemment standard Only the mixing of 100 percent of lime to slag could produce lead concentration in the extractant meeting the official standard, but increased the final volume of waste by 2 times. Besides. If the cunng time was increased from 7 to 28 days, it did not improve the characteristics of the specimen to meet the official standard. The solidification of slag had shown that the use of 12 percent portiand cement by weight as a binder and a water/binder ratio of 0.8 could improve and meet the cntena set by the Notification No. 6/2540 of Ministry of Industry. Besides, if using low amount of Portland cement as a binder, the solidification of smailer the size of slag could meet the official standard but the bigger the slag size could not. When compare the two methods of slag treatment, the solidification by 12 percent portland cement by weight was prefer to the stabilization using lime. The stabilization efficiency of lead was 50 percent and meeting the Ministry of Industry’s standard the treatment cost was about 364 per ton of slag excluding landfill cost.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectของเสียอันตราย-
dc.subjectโลหะหนัก-
dc.subjectการทำให้เป็นของแข็ง-
dc.titleการทำเสถียรและการทำให้เป็นก้อนของตะกรันจากการถลุงแร่เซรัสไซต์-
dc.title.alternativeStabilization and solidification of the slag from Ce-rusite smelting-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_U
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapisala_th_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.1 MBAdobe PDFView/Open
Prapisala_th_ch1_p.pdfบทที่ 1685.29 kBAdobe PDFView/Open
Prapisala_th_ch2_p.pdfบทที่ 2658.24 kBAdobe PDFView/Open
Prapisala_th_ch3_p.pdfบทที่ 34.49 MBAdobe PDFView/Open
Prapisala_th_ch4_p.pdfบทที่ 41.14 MBAdobe PDFView/Open
Prapisala_th_ch5_p.pdfบทที่ 53.39 MBAdobe PDFView/Open
Prapisala_th_ch6_p.pdfบทที่ 6716.1 kBAdobe PDFView/Open
Prapisala_th_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.