Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67960
Title: การเปรียบเทียบความเข้าใจลำดับของเหตุและผลในการเล่นสมมติในเด็กวัย 3-5 ปี
Other Titles: A comparison of comprehension of pretend causal sequences in 3-5 year-old children
Authors: นพพร มากทรัพย์
Advisors: เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การเล่น
ความเข้าใจ
พัฒนาการของเด็ก
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเข้าใจลำดับของเหตุและผลในการเล่นสมมติในสถานการณ์แบบไม่ซับซ้อนและในสถานการณ์แบบซับซ้อนของเด็กไทยวัยก่อนเรียนระดับอายุ 3 - 5 ปี กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งหมด 96 คน โดยแบ่งเป็นระดับอายุละ 32 คน (ชาย 16 คน และหญิง 16 คน) ผู้วิจัยได้ทำการจัดเด็กเข้าสู่กลุ่มย่อย 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยเด็กระดับอายุละ 8 คน เพื่อให้มีการถ่วงสมดุล (Counterbalance) ประเภทของสถานการณ์ที่ใช้ในการทดสอบซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือสถานการณ์แบบไม่ซับซ้อนและสถานการณ์แบบซับซ้อน และ ถ่วงสมดุลชุดของสถานการณ์ที่มีอยู่ 2 ชุด คือชุด A และชุด B ซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วยสถานการณ์ สมมติ 3 สถานการณ์ ดังนั้น เด็กแต่ละคนได้รับการทดสอบสถานการณ์สมมติทั้งหมด 6 สถานการณ์ ประกอบด้วยสถานการณ์สมมติแบบไม่ซับซ้อน 3 สถานการณ์ และสถานการณ์สมมติแบบซับซ้อน 3 สถานการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง รูปแบบประสม (3X2 Analysis of Variance ( Mixed Design )) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประเภทของสถานการณ์สมมติและอายุของเด็กไม่ส่งผลร่วมกันต่อความเข้าใจในลำดับของ เหตุและผลในการเล่นสมมติ 2. เมื่อไม่คำนึงถึงระดับอายุของเด็ก เด็กวัยก่อนเข้าเรียนมีคะแนนจากการทดสอบ ความสามารถในการเข้าใจลำดับของเหตุและผลในการเล่นสมมติ ในสถานการณ์สมมติแบบไม่ซับซ้อนสูงกว่าสถานการณ์สมมติแบบซับซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เมื่อไม่คำนึงถึงประเภทของสถานการณ์สมมติ เด็กระดับอายุ 4 ปี และ 5 ปี มีความสามารถในการเข้าใจลำดับของเหตุและผลในการเล่นสมมติมากกว่าเด็กอายุ 3 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่คะแนนความสามารถในการเข้าใจลำดับของเหตุและผลในการเล่นสมมติของเด็กอายุ 4 ปี และเด็กอายุ 5 ปี ไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this thesis was to compare the ability to understand pretend causal sequences between simple and complex episodes of 96 preschool children, aged 3 - 5 years old. In each age group, there were 32 subjects (16 boys and 16 girls). One fourth of the children within each age group were allocated to each of four subgroups in order to counterbalance 2 types of episodes: simple and complex, and 2 sets of episodes: A and B (each set containing 3 episodes). Therefore, each child was tested on six episodes consisting of three simple episodes and three complex episodes. A 3 X 2 Analysis of Variance (Mixed Design) was conducted for statistical analysis. The results are as follows; 1. There is no interaction effects between age levels and types of episodes. 2. The preschoolers perform significantly better in their understanding of pretend causal sequences on the simple episodes than on the complex episodes (p<.05) across all age levels. 3. Four- and five-year-olds perform significantly better than three-year-olds in their understanding of pretend causal sequences (p<.05) across the two types of episodes. However, there is no difference between four- and five-year-olds on their understanding of pretend causal sequences.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67960
ISBN: 9746395513
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nopporn_ma_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ879.27 kBAdobe PDFView/Open
Nopporn_ma_ch1_p.pdfบทที่ 12.08 MBAdobe PDFView/Open
Nopporn_ma_ch2_p.pdfบทที่ 21.17 MBAdobe PDFView/Open
Nopporn_ma_ch3_p.pdfบทที่ 3682.47 kBAdobe PDFView/Open
Nopporn_ma_ch4_p.pdfบทที่ 4987.49 kBAdobe PDFView/Open
Nopporn_ma_ch5_p.pdfบทที่ 5708.07 kBAdobe PDFView/Open
Nopporn_ma_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.