Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68044
Title: พฤติกรรมของแรงดันน้ำในดินอ่อนที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยทราย
Other Titles: Pore water pressure behavior in sandstabilized soft soil
Authors: ธนากร นาเชียงใต้
Advisors: สุรพล จิวาลักษณ์
สุรฉัตร สัมพันธารักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: แรงเฉือนของดิน
ดินเหนียว
ความเครียดและความเค้น
Pore water
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวกรุงเทพฯ ด้วยการใช้ทรายเป็นสารผสมเพิ่ม เพื่อศึกษา ถึงพฤติกรรมของหน่วยแรง, ความเครียด และแรงดันน้ำ จากการทดสอบแบบแรงอัดสามแกน (Triaxial Test) โดยมีปัจจัยที่ทำการศึกษาและควบคุมคือ 1. ปัจจัยของปริมาณของสารผสมเพิ่ม(ทราย) ที่ 0%,20%,40% ,60% โดยน้ำหนัก 2. ปัจจัยของระดับความดันอัดตัวคายน้ำ 3. ปัจจัยของพฤติกรรมของหน่วยแรง, ความเครียด และแรงดันน้ำ ในการทดสอบทำการเตรียมตัวอย่างทดสอบด้วยการบดอัดดินผสม โดยวิธีการอัดตัวอย่างทดสอบแบบ static compression ที่จุด maximum dry density และ optimum moisture content ตามกราฟที่ได้จากการบดอัดแบบมาตราฐาน ในแต่ละชุดของดินผสม ซึ่งพบว่าเมื่อปริมาณทรายเพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ maximum dry density เพิ่มขึ้นและทำให้ optimum moisture content ลดลง โดยในการทดสอบนี้ได้ใช้ double suction เพื่อช่วยในการทำให้ตัวอย่างทดสอบอิ่มตัวด้วยน้ำ (saturated) จนได้ค่าดีกรีของการอิ่มตัวด้วยน้ำประมาณ 95%-100% ทำการทดสอบการรับแรงเฉือนโดยการทดสอบแบบ Consolidated Undrain และใช้ความดันอัดตัวคายนํ้าที่ 15, 45 ,60 ,90 ปอนด์/นิ้ว2 ในการอัดตัวคายน้ำก่อนทำการรับแรงเฉือน หลังจากการทดสอบพบว่าเมื่อปริมาณทรายเพิ่มขึ้น มีผลทำให้กำลังรับแรงเฉือนเพิ่มขึ้นและทำให้ แรงดันน้ำส่วนเกิน (excess pore pressure) ลดลง โดยที่ปริมาณทรายน้อยกว่า 40% การปรับปรุงคุณ ภาพมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของแรงดันน้ำน้อยมาก ทำให้กำลังรับแรงเฉือน (shear strength) ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อปริมาณทรายตั้งแต่ 40% เป็นต้นไปจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน คือมีผลทำให้เกิดพฤติกรรมของการพองตัว (Dilatation) ของทรายแน่น (Dense Sand) ซึ่งเกิดขึ้นจากผลของการ บดอัดและความดันอัดตัวคายน้ำประสิทธิผล มีผลทำให้กำลังรับแรงเฉือนที่จุด yield เพิ่มขึ้น 1.8 ถึง 3.7 เท่าของดินเหนียวบดอัด เมื่อปริมาณทรายตั้งแต่ 40% ขึ้นไป
Other Abstract: The efficiency of the strength improvement and the stress, strain, strength and pore pressure behaviour of the compacted clay, mixing with sand were studied. The factors being investigated were 1. the factor of sand content (0%,20%,40% and 60% by weight); 2. the factor of the effective consolidation stress.; and 3. the stress, strain, strength and pore pressure behaviour. For studying these factors, the standard Procter test was firstly carried out to identify the maximum dry density and optimum moisture content for each sand content. The maximum dry density was found to increase with the percentage of sand in the dry side and almost in Sinification on the wet side. While as the reduction of the optimum moisture content was observed with the increased in sand content. The static compacted samples were prepared at the corresponding standard dynamic proctor density maximum density and optimum moisture content, for every test. Double suction method was adopted to increased the degree of saturation of the sample which the B-value of all samples were between 95-100%. Isotropically consolidated undrained triaxial tests were performed at each percentage of sand, at several effective confining stresses of 15, 45, 60, and 90 psi. were applied prior to shearing. It was found that the effect of sand content when the sand content was less than 40%, the improvement in strength and the change in excess pore water pressure characteristics were minor. However, considerably increase in strength of mixed sample, as well as the decreased in excess pore water pressure, were observed, when the sand content increased beyond 40%, resulting from the dilatation, behaviour of the very dense sand which occurs, as the result of the compaction and the magnitude of effective consolidation stress. The gained in shear strength at yield point about 1.8 to 2.6 time, when the sand content is about 40%
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68044
ISBN: 9743320571
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanakon_na_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.16 MBAdobe PDFView/Open
Thanakon_na_ch1_p.pdfบทที่ 1721.16 kBAdobe PDFView/Open
Thanakon_na_ch2_p.pdfบทที่ 21.73 MBAdobe PDFView/Open
Thanakon_na_ch3_p.pdfบทที่ 31.38 MBAdobe PDFView/Open
Thanakon_na_ch4_p.pdfบทที่ 43.94 MBAdobe PDFView/Open
Thanakon_na_ch5_p.pdfบทที่ 5667.76 kBAdobe PDFView/Open
Thanakon_na_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก826.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.