Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68605
Title: พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Health promotion behaviors among students of upper secondary school in Bangkok Metropolis
Authors: นิลภา จิระรัตนวรรณะ
Advisors: องอาจ วิพุธศิริ
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: นักเรียนมัธยมศึกษา
การส่งเสริมสุขภาพ
พฤติกรรมสุขภาพ
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย สุขภาพจิต และ การปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติ จึงได้ดำเนินการสำรวจเชิงพรรณนาชนิดตัดขวาง กับนักเรียนจำนวน 2,874 คน ใน 26 โรงเรียน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนระดับที่ทำการศึกษาทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร ซึ่งแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบแล้วได้ถูกแจกและเก็บโดยผู้วิจัยภายใต้การดูแลจากครู ในช่วงระหว่างธันวาคม 2541 ถึง กุมภาพันธ์ 2542 และสามารถเก็บคืนได้ทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ตอบเป็นเพศหญิง 62.6% และเพศชาย 36.7% อายุเฉลี่ย 16.9 ปี ซึ่งศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษารัฐบาล 35.4% มัธยมศึกษาเอกชน 15.4% อาชีวศึกษารัฐบาล 8.5% และอาชีวศึกษาเอกชน 40.7% นักเรียนส่วนมากมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดี โดย กินอาหารครบ 5 หมู่, ครบ 3 มื้อ, ดื่มน้ำเพียงพอ, เลือกกินอาหารปรุงสุก และสะอาด อย่างไรก็ตามนักเรียน 1 ใน 3 ระบุว่าชอบกินอาหารไขมันสูง, รสจัด และไม่ใช้ช้อนกลาง มี นักเรียน 39.3% นิยมดื่มน้ำอัดลมมาก ส่วนผู้ที่ชอบดื่มนมมากมี 47.2% การบริโภคอาหารมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.01) ตามสถานภาพสมรสบิดามารดา, เศรษฐานะครอบครัว, ค่าใช้จ่ายที่ได้รับ, กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน, ประเภทโรงเรียนและระดับชั้นเรียน เกี่ยวกับการออกกำลังกาย พบว่านักเรียนออกกำลังกายเป็นประจำ 33.6% และไม่ออกกำลังกายเลย 20.3% ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา โดยระบุว่าไม่มีเวลาและสถานที่(60.4% และ 33.4%) ทั้งนี้การออกกำลังกายมีความแตกต่างอย่างชัดเจน(p<0.01) ระหว่าง เพศ ประเภทโรงเรียน และระดับชั้นเรียน เกี่ยวกับสุขภาพจิต มีผู้ระบุว่ามีความสุขน้อยและนอนไม่หลับต้องพึ่งยาอยู่ 6.0%, รู้สึกมีปมด้อย 10.8%, และมีผู้ที่มักหงุดหงิด ฉุนเฉียว 19.5% โดย 60.7% ของนักเรียนทั้งหมด ระบุว่ามีความเครียดจากการเรียนและส่วนใหญ่จะใช้วิธีการฟังเพลงหรือร้องเพลงเป็นการผ่อนคลายความเครียด(57.7%) สุขภาพจิตมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ตามเพศ, ความเจ็บป่วย/มีโรคประจำตัว, เศรษฐานะครอบครัว, ค่าใช้จ่ายที่ได้รับ, สภาพการอยู่อาศัย, สถานภาพสมรสของบิดามารดา กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน ส่วนการปฏิบัติตนเทียบตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติระดับปานกลางถึงมาก มีเพียงการออกกำลังกายที่ถูกระบุว่าน้อย(39.6%) จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และความเครียดจากการเรียนของนักเรียน ยังเป็นประเด็นสำคัญต่อการจัดให้มีกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพแก่นักเรียนให้เพิ่มมากขึ้น
Other Abstract: The purpose of this study was to determine health promoting behaviors of high - school students in Bangkok metropolis, particularly in selected eating habits, physical exercise, mental health condition and health behavior regarding to the national health recommendation. A cross-sectional descriptive survey was conducted with the 2,874 sample students in 26 random schools in Bangkok. The pre-tested questionnaires were distributed and collected by the researcher under the supervision of the teachers during December 1998 to February 1999. All distributed questionnaires were obtained. The results of the study revealed that the students were female 62.6% and male 36.7%, The mean age of the student was 16.9 years. They were being studied in public-high school 35.4%, private-high school 15.4%, public vocational school 8.5%, and private vocational school 40.7%. Regarding eating habits, the majority of students stated that they ate 5-group of foods, 3 meals a day. adequate water intake, cooked and cleaned food. However, around one-third of students preferred high fat and tastety food and did not use sharing-spoon. Furthermore, 39.3% drank a lot of bottle beverages, and only 47.2% preferred milk. Significant differences (p<0.01) in selected eating habits were found according to marital status of parents, family economics, monthly pocket, health promoting activities at schools, types and levels of schools. [Pertaining] to physical activity, 33.6% of students had regularly exercised, and 20.3% stated no exercise at all within the last 6 months with the reasons of no time (60.4%) and nowhere (33.4%) to do so. Distinction of the significant differences(p<0.01) were found in gender, types and levels of schools. For mental health status, 6.0% of students were unhappy and insomnia with sleeping pills intake, 10.8% felt inferiority complex, 19.5% were quick temper. Sixty percent of students indicated that they had stressed on studying and 57.7% used music to alleviate their stress. Significant differences(p<0.05) of mental health status were found in gender, illness condition and personal sickness, family economic, monthly pocket, residency status, marial status of parent and health promoting activities at schools. As to the ten national health habits recommendation, physical exercise was showed the lowest mean score and 39.6% stated as low exercise. This study indicated that eating habits, physical exercise, and stress in studying were crucial issues and health promoting activities at schools should be more created and promoted.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68605
ISBN: 9743322884
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ninlapa_ji_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.01 MBAdobe PDFView/Open
Ninlapa_ji_ch1_p.pdfบทที่ 11 MBAdobe PDFView/Open
Ninlapa_ji_ch2_p.pdfบทที่ 21.82 MBAdobe PDFView/Open
Ninlapa_ji_ch3_p.pdfบทที่ 31.04 MBAdobe PDFView/Open
Ninlapa_ji_ch4_p.pdfบทที่ 41.82 MBAdobe PDFView/Open
Ninlapa_ji_ch5_p.pdfบทที่ 51.24 MBAdobe PDFView/Open
Ninlapa_ji_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.