Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69280
Title: ตัวประกอบสมรรถนะพยาบาลหน่วยอภิบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ โรงพยาบาลของรัฐ
Other Titles: Factors of critical care nurse's competencies, governmental hospital
Authors: นฤมล กิจจานนท์
Advisors: พวงเพ็ญ ชุณหปราณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Paungphen.C@Chula.ac.th
Subjects: พยาบาล
ผู้ป่วยหนัก
บริการการพยาบาล
Nurse
Critically ill
Nursing services
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวประกอบและตัวแปรที่อธิบายตัวประกอบสมรรถนะของพยาบาล หน่วยอภิบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ โรงพยาบาลของรัฐ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือพยาบาลหน่วยอภิบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติอย่างน้อย 2 ปี จำนวน1082 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ให้พยาบาลหน่วยอภิบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติประเมินระดับ ความสำคัญของสมรรถนะพยาบาลหน่วยอภิบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .9932 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ สะกัดตัวประกอบด้วยวิธีตัวประกอบภาพพจน์ หมุนแกนคัวประกอบแบบ ออโรกอนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ตัวประกอบสมรรถนะที่สำคัญของพยาบาลหน่วยอภิบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติมีจำนวน 9 ตัวประกอบ มีค่า ความแปรปรวนรวมกันคิดเป็นร้อยละ 57.8 และเมื่อพิจารณาตามค่าความแปรปรวนพบว่า 1) ตัวประกอบสมรรถนะด้านภาวะผู้นำ เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุดคือร้อยละ 39.8 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบจำนวน 64 ตัวแปร 2) ตัวประกอบสมรรถนะด้านความรู้ความสามารถในการพยาบาลผู้ป่วยโรคระบบต่าง ๆ เป็นตัวประกอบ สมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 6.6 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบจำนวน 29 ตัวแปร 3) ตัวประกอบสมรรถนะด้านเทคนิคทางการปฏิบัติการพยาบาล เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 2.5 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบจำนวน 20 ตัวแปร 4) ตัวประกอบสมรรถนะด้านความรู้ความสามารถในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ เป็นตัวประกอบ สมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 2.5 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบจำนวน 9 ตัวแปร 5) ตัวประกอบสมรรถนะด้านความเชี่ยวชาญพิเศษทางการพยาบาล เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 1.8 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบจำนวน 9 ตัวแปร 6) ตัวประกอบสมรรถนะด้านความรู้ความสามารถพื้นฐานทางการพยาบาล เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 1.4 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบจำนวน 8 ตัวแปร 7) ตัวประกอบสมรรถนะด้านการประชาสัมพันธ์ เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ1.2 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบจำนวน 4 ตัวแปร 8) ตัวประกอบสมรรถนะด้านการบริหารงาน เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 1.0 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบจำนวน 5 ตัวแปร 9) ตัวประกอบสมรรถนะด้านการเฝ้าระวังอาการผิดปกติ เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความ แปรปรวนได้ร้อยละ 1.0 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบจำนวน 4 ตัวแปร
Other Abstract: The purposes of this research were to study the factors of critical care nurse’s competencies and the variables which described those major factors. A sample of 1,082 critical care nurses in governmental hospitals all over the country, who has been at least two years of experience were selected. The research instrument was a questionaire consisted of ten competencies of critical care nurse. The reliability of the instrument, calculated by the Cronbach Alpha Coefficient, was .9932. The data were analysed by Immage Factoring method with Varimax Orthogonal rotation. The results were as follows: There were nine significant factors of critical care nurse’s competencies; 1) Leadership, a major factor of critical care nurse's competencies, which described by 64 items, can be accounted for 39.8 percent of total variance, 2) General nursing care, which described by 29 items, can be accounted for 6.6 percent of total variance, 3) Nursing technique, which described by 20 items, can be accounted for 2.5 percent of total variance, 4) Critical care nursing, which described by 9 items, can be accounted for 2.5 percent of total variance, 5) Nursing Specialist, which described by 9 items, can be accounted for 1.8 percent of total variance, 6) Basic nursing care, which described by 8 items, can be accounted for 1.4 percent of total variance, 7) Pubic relation, which described by 4 items, can be accounted for 1.2 percent of total variance, 8) Management, which described by 5 items, can be accounted for 1.0 percent of total variance, 9) Monitoring, which described by 4 items, can be accounted for 1.0 percent of total variance. All these factors can accumulated 57.8 percent of the variance.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69280
ISSN: 9746386603
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narumol_ki_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ367.3 kBAdobe PDFView/Open
Narumol_ki_ch1.pdfบทที่ 1455.17 kBAdobe PDFView/Open
Narumol_ki_ch2.pdfบทที่ 22.19 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_ki_ch3.pdfบทที่ 32.02 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_ki_ch4.pdfบทที่ 41.51 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_ki_ch5.pdfบทที่ 51.42 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_ki_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.