Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71134
Title: บทบาทของสื่อมวลชนและสื่อระหว่างบุคคลกับการแพร่กระจายข่าวเหตุการณ์สำคัญในกลุ่มนิสิตมหาวิทยาลัย
Other Titles: The roles of mass and interpersonal communication in the flow of important news among college students
Authors: ศุภรัตน์ ยุทธนาระวีศักดิ์
Advisors: รจิตลักขณ์ แสงอุไร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Rachitluk.S@chula.ac.th
Subjects: สื่อมวลชน
สื่อมวลชนกับการเผยแพร่ข่าวสาร
สื่อบุคคล
ข่าว
การเผยแพร่ข่าวสาร
การแพร่กระจายข้อมูล
Mass media
Mass media and publicity
Publicity
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการแพร่กระจายข่าวเหตุการณ์สำคัญ ที่เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน โดยดูบทบาทของสื่อมวลชนและสื่อระหว่างบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการแพร่กระจายข่าว เพื่อให้ทราบถึงโครงสร้างทางการสื่อสารของกลุ่มนิสิตมหาวิทยาลัยในข่าวเหตุการณ์สำคัญ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้เลือกข่าวเหตุการณ์สำคัญที่สื่อมวลชนเผยแพร่มาทดสอบ คือ ข่าวผลการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ปี พ.ศ.2542 และข่าวการเสียชีวิตของดาราวัยรุ่น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 800 คน ค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าร้อยละและ ไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. อัตราการแพร่กระจายข่าวเหตุการณ์สำคัญขึ้นอยู่กับความสนใจของนิสิตมหาวิทยาลัยมากกว่าความสำคัญที่สื่อมวลชนนำเสนอ 2. อัตราการแพร่กระจายข่าวมีความสัมพันธ์กับระดับความสนใจข่าวของนิสิตมหาวิทยาลัย 3. ระดับความสนใจข่าวของนิสิตมหาวิทยาลัยมีความสัมพันธ์กับระดับการบอกเล่าข่าว 4. ระดับความสนใจข่าวของนิสิตมหาวิทยาลัยมีความสัมพันธ์กับระดับการติดตามข่าว
Other Abstract: This thesis aimed to study the news diffusion of important news in the mass media among college students. The research tried to find out whether and how the roles of mass media presentation of important news and interpersonal media affected the communication structure of college students. The study had selected some important breaking news in the focus of the mass media as the cases for instance, the no-confidence debate of individual ministers in the 2542 parliament session and the death of a teen star. The research samples were 800 students from Chulalongkorn University. The statistics tools used to test the research hypothesis were percentage and Chi-square. Research conclusions : 1. The important news diffusion rates depended on the interest in the news of the students rather than the important of news in the focus of the mass media. 2. The diffusion rate correlated with the news interesting level of the college students. 3. The news interest levels had some correlation with the news narrating levels among students. 4. The news interest levels correlated with the news pursuing levels of the students.
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การหนังสือพิมพ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71134
ISBN: 9743316701
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supharath_yu_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ813.54 kBAdobe PDFView/Open
Supharath_yu_ch1_p.pdfบทที่ 1849.3 kBAdobe PDFView/Open
Supharath_yu_ch2_p.pdfบทที่ 22.1 MBAdobe PDFView/Open
Supharath_yu_ch3_p.pdfบทที่ 3753.88 kBAdobe PDFView/Open
Supharath_yu_ch4_p.pdfบทที่ 43.54 MBAdobe PDFView/Open
Supharath_yu_ch5_p.pdfบทที่ 51.14 MBAdobe PDFView/Open
Supharath_yu_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก999.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.