Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71743
Title: พลวัตของผลผลิตมวลชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดินในระบบวนเกษตร ที่มีความหลากหลาย
Other Titles: Dynamic of biomass productivity and soil fertility in the diversified agroforestry systems
Authors: ปานแก้ว รัตนศิลป์กัลชาญ
Advisors: จิรากรณ์ คชเสนี
อุษณีย์ ยศยิ่งยวด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: นิเวศวิทยาของดิน
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทดลองของระบบวนเกษตรที่มีความหลากหลายโดยพัฒนามาจากระบบหมู่บ้านป่าไม้ ในพื้นที่สวนป่าแม่เมาะขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2531 โดยติดตามการเปลี่ยนแปลงพลวัตของผลผลิตมวลชีวภาพ, ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และขบวนการอื่นๆ ในระบบนิเวศอย่างต่อเนื่อง การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาพลวัตการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลชีวภาพรวมผลผลิตมวลชีวภาพของต้นสัก อัตราการรอดตายของต้นสัก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน การศึกษาในดินประกอบไปด้วย ฟอสฟอรัสที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ปริมาณฟอสฟอรัสรวม อินทรีย์วัตถุคาร์บอนรวม ค่าความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก อลูมินั่มที่สกัดได้ ค่าพีเอช และอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจนผลการศึกษาพบว่าในแปลงระบบวนเกษตรที่มีความหลากหลายสูงกว่าจะมีผลผลิตมวลชีวภาพรวม ผลผลิตมวลชีวภาพของต้นสัก และอัตราการรอดตายของต้นสักสูงกว่าในแปลงที่มีความหลากหลายตํ่ากว่า ทั้งนี้ไม่พบว่าในแปลงที่มีความหลากหลายสูงมีการเพิ่มขึ้นของสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมากกว่าแปลงที่มีความหลากหลายตํ่ากว่า แต่จะพบว่าแปลงที่ความหลากหลายสูงมีค่าพีเอชสูงและปริมาณ อลูมินั่มที่สกัดได้ต่ำ ในขณะเดียวกันพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างอินทรีย์วัตถุ ปริมาณไนโตรเจนรวม และปริมาณฟอสฟอรัสรวมกับผลผลิตมวลชีวภาพรวมในแปลงสัก+ซ้อค่าสูงมาก แต่ปริมาณอลูมินั่มที่สกัดไต้ก็ มีค่าสูงมากด้วย ค่าความสัมพันธ์เหล่านี้แสคงว่าผลผลิตมวลชีวภาพรวมที่เพิ่มสูงขึ้นในแปลงที่มีความหลากหลาย สูงกว่าไม่ได้เป็นผลมาจากความสัมพันธ์โดยตรงกับสารอาหาร แต่เป็นเพราะว่าความเป็นพิษของอลูมินั่มน้อย และการหมุนเวียนของสารที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง
Other Abstract: The experimental trial on diversified agroforestry systems have been developed at Mae Moh Forest Village System, Mae Moh district, Lampang province since 1989. The dynamic of system productivity, soil fertility, and other ecosystem processes have been closely monitoring. The purposes of this study are monitoring total system productivity, teak productivity, teak survivorship, and soil fertility dynamic. The soil study includes available and total phosphorus, total nitrogen, organic matter, total carbon, cation exchange capacity, extractable aluminum pH and C:N ratio. The results show that the more diversified of agroforestry plots have higher total system productivity, teak productivity, and teak survivorship than the less diversified plots. There are no significant difference between the more diversified plots and the less diversified plots in an incresse of nutrient availability. However, the more diversified plot are less acidic and low in extractable aluminum when compared with the less diversified plots. Although there are high correlations of organic matter, total nitrogen and total phosphorus in the of teak + gmelina plots, the extractable aluminum in the soil is also high. These correlations can be inferred that higher productuvity in the higher resulted from nutrient correlation per so, that because of less aluminum toxicity, efficiency! of nutrient cyclings.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71743
ISBN: 9746363611
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pankaew_ra_front_p.pdf886.52 kBAdobe PDFView/Open
Pankaew_ra_ch1_p.pdf866.2 kBAdobe PDFView/Open
Pankaew_ra_ch2_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Pankaew_ra_ch3_p.pdf712.03 kBAdobe PDFView/Open
Pankaew_ra_ch4_p.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Pankaew_ra_ch5_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Pankaew_ra_ch6_p.pdf610.45 kBAdobe PDFView/Open
Pankaew_ra_back_p.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.