Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72405
Title: การจำลองแบบหาค่าความร้อนผ่านรูปร่างรอบนอกของอาคารในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Simulation of heat gain through building envelope for buildings in Bangkok Metropolis
Authors: มิศรชัย อภิพัฒนะมนตรี
Advisors: ทวี เวชพฤติ
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: อาคาร -- การออกแบบ
อาคาร -- การอนุรักษ์พลังงาน
ความร้อน -- การถ่ายเท
Buildings -- Design
Buildings -- Energy conservation
Heat -- Transmission
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยหาค่าความร้อนที่ผ่านเข้าสู่อาคารที่มีรูปร่างลักษณะ และทิศทางการวาง อาคารต่าง ๆ วิจัยหารูปร่างของอาคารที่เหมาะสมเพื่อให้ได้รับความร้อนน้อยที่สุด เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับสถาปนิกและวิศวกรได้ใช้พิจารณาเป็นแนวทางในการออกแบบอาคารเพื่อการประหยัดพลังงานต่อไป เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดทำมาก่อน นอกจากนี้ ยังได้วิจัยถึงแนวทางการลดความร้อนที่ผ่านเข้าสู่อาคารโดยการใช้อุปกรณ์บังแดดภายนอกอาคารและฉนวนกันความร้อนชนิดต่าง ๆ วิทยานิพนธ์นี้เริ่มตั้งแต่การหาค่าตัวประกอบต่าง ๆเพื่อใช้ในการคำนวณหาค่าความร้อนสำหรับ กรุงเทพมหานคร การหาค่าความร้อนที่ผ่านเข้าสู่อาคารจะหาในรูปของค่าความร้อนเฉลี่ยตลอดปี การหาค่าความร้อนที่ผ่าน เข้าสู่อาคารนี้จะคำนวณโดยใช้แบบจำลองของอาคาร ซึ่งจะทำการแปรเปลี่ยนปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของอาคาร เพื่อให้ได้อาคารที่มีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ และศึกษาผลของการแปรเปลี่ยนปัจจัยที่มีต่อค่าความร้อนที่ค่านวณได้ และคำนวณหารูปร่างอาคารที่เหมาะสมเพื่อให้ได้รับความร้อนน้อยที่สุด เมื่อกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ของอาคารมาให้ สำหรับแนวทางการลดความร้อนที่ผ่านเข้าสู่อาคาร จะคำนวณหาสัมประสิทธิ์ร่มเงาประสิทธิผลของอุปกรณ์บังแดดภายนอกแบบต่าง ๆ ที่ใช้โดยทั่วไปและเปรียบเทียบการใช้ฉนวนกันความร้อนที่ใช้ทั่วไป 4 ชนิด ได้แก่ ใยหิน ใยแก้ว โพลียูรีเทนโฟม และโพลีสไตรีนโฟม
Other Abstract: This thesis studied heat gain through the building envelopes, and their optimum shape to minimize heat gain. From the results, architects and engineers could consider as the guideline to design the appropriate building for energy conservation. In addition, this thesis investigated ways and means to reduce heat gain by using external shading devices and thermal insulating materials. At first this thesis investigated factors which were used to calculate heat gain through building envelopes in Bangkok. The average heat gain, which was averaged throughout the year, was presented. To calculate average heat gain, the building envelope was simulated by varying its shape, fenestration area and orientation of the building to obtain various models. The effects of the variation of configuration factors to the average heat gain were analyzed, and optimum shape of the building to minimize average heat gain was calculated when materials, fenestration area and orientation were defined. To provide guidelines for reduction of heat gain through the buildings, the effective shading coefficients of general external shading devices were calculated, and comparisons were made with the four thermal insulating materials, namely, rockwool, fiberglass, polyurethane foam and polystyrene foam.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72405
ISBN: 9745685178
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Misarachai_ap_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.07 MBAdobe PDFView/Open
Misarachai_ap_ch1_p.pdfบทที่ 1751.41 kBAdobe PDFView/Open
Misarachai_ap_ch2_p.pdfบทที่ 21.66 MBAdobe PDFView/Open
Misarachai_ap_ch3_p.pdfบทที่ 31.52 MBAdobe PDFView/Open
Misarachai_ap_ch4_p.pdfบทที่ 42.03 MBAdobe PDFView/Open
Misarachai_ap_ch5_p.pdfบทที่ 51.25 MBAdobe PDFView/Open
Misarachai_ap_ch6_p.pdfบทที่ 61.54 MBAdobe PDFView/Open
Misarachai_ap_ch7_p.pdfบทที่ 7843.95 kBAdobe PDFView/Open
Misarachai_ap_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก11.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.