Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74963
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดสรรเวลาของแรงงานเด็ก ในชุมชนแออัดของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors affecting the allocation of child labour's time in urban Bangkok low income housing areas
Authors: เพชรรัตน์ อนันทวรรณ
Advisors: สุมาลี ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เด็ก -- การจ้างงาน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
แรงงานเด็ก
Children -- Employment -- Thailand -- Bangkok
Child labor
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการคือ ประการแรกเพื่อวิเคราะห์การจัดสรรเวลาของแรงงานเด็กในชุมชนแออัดของกรุงเทพมหานคร ในการกระทำกิจกรรมที่ผ่านตลาดแรงงาน ซึ่งหมายถึง การทำงานในตลาดแรงงาน และกิจกรรมที่ไม่ผ่านตลาดแรงงาน ซึ่งหมายถึง การศึกษา การทำงานบ้าน และการพักผ่อน และประการหลัง เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดสรรเวลาของแรงงานเด็กดังกล่าวผลการวิจัยพบว่าแรงงานเด็กส่วนใหญ่จัดสรรเวลาเพื่อการทำงานในตลาดแรงงานไม่มากนักกล่าวคือแรงงานเด็กร้อยละ 85.4 ทำงานในตลาดแรงงานวันละ 8 ชั่วโมง มีเพียงส่วนน้อยคือร้อยละ 14.6 เท่านั้นซึ่งทำงานในตลาดแรงงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง สำหรับการจัดสรรเวลาเพื่อทำงานบ้าน พบว่าส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณวันละ 2 ชั่วโมง และมีชั่วโมงพักผ่อนวันละประมาณ 15-16 ชั่วโมง ซึ่งนับว่าพอเพียงต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการจัดสรรเวลาเพื่อการทำงานทั้งงานนอกบ้านและงานในบ้าน รวมทั้งการจัดสรรเวลาเพื่อพักผ่อนของแรงงานเด็ก ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของแรงงานเด็กไม่มากนัก เนื่องจากแรงงานเด็กมีเวลาพักผ่อนเพียงพอ แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้พบว่าแรงงานเด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้จัดสรรเวลาเพื่อการศึกษา เพื่อพัฒนาสติปัญญาและทักษะในการทำงาน แม้ว่าจะอยู่ในวัยที่ควรได้รับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในสายสามัญหรือสายอาชีพ ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ซึ่งในระยะยาวอาจมีผลกระทบต่อสังคมในแง่คุณภาพและผลิตภาพสยองแรงงาน สำหรับการศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดสรรเวลาของแรงงานเด็ก พบว่าถ้ารายได้ของครัวเรือน (ยกเว้นรายได้ของแรงงานเด็ก) เพิ่มขึ้น แรงงานเด็กจะมีชั่วโมงทำงานในตลาดแรงงานน้อยลง และแรงงานเด็กซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนจะมีชั่วโมงทำงานน้อยกว่า เนื่องจากการทำงานอาจถือได้ว่าเป็นกิจกรรมรองและถ้าอัตราค่าจ้างของแรงงานเด็กสูงขึ้น จะเป็นปัจจัยจูงใจให้ครอบครัวส่งเด็กเข้าทำงานในตลาดแรงงานมากขึ้น ส่วนอายุของแรงงานเด็กนั้นถ้าแรงงานเด็กมีอายุมากขึ้น ชั่วโมงทำงานจะเพิ่มสูงขึ้นซึ่งสอดคล้องกับความจริงที่ว่า ถ้าเด็กมีอายุน้อยย่อมมีข้อจำกัดทางร่างกายในการทำงาน สำหรับประเภทของงานนั้น หากแรงงานเด็กทำงานอาชีพอิสระจำนวนชั่วโมงทำงานจะน้อยกว่าแรงงานเด็กซึ่งทำงานในสถานประกอบการภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมาย เนื่องจากงานอาชีพอิสระที่เด็กทำมักอยู่ในรูปของการช่วยกิจการของพ่อแม่ ส่วนประเภทของชุมชนแออัดนั้นพบว่าแรงงานเด็กซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนแออัดที่ได้รับการปรับปรุงแล้วจะมีชั่วโมงทำงานน้อยลงเนื่องจากเป็นชุมชั้นที่องค์กรของรัฐและเอกชนได้ยื่นมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ กัน ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น ผลที่ได้จากการศึกษาทั้งหมดในครั้งนี้ สามารถนำไปสู่ข้อเสนอแนะทางด้านนโยบายในการแก้ปัญหาแรงงานเด็กในประเทศไทยต่อไป
Other Abstract: This thesis has two objectives. First is to study the allocation of time of child labor in low income housing areas in Bangkok in both market and non-market activities. Second is to identify the important factors determining such time allocation. Results of the study show that about 85.4 percent of child labor in low income housing areas allocated between 1-8 hours a day for market activities, only a small portion of 14.6 percent worked more than 8 hours a day. Major portion of child labor allocated about 2 hours a day in housework and has sufficient resting time of about 15-16 hours a day. It can therefore be concluded that child's allocation of time for both market and non-market activities and for leisure have little effects on their physical and mental conditions. However this study also found that major part of the child labor does not allocate enough time for education to improve working skills, even though they are at the age that should allocate their time for academic or vocational education either in school or out of school. This in the long run may have adverse social effect in terms of quality and productivity of labor force. For the study of the determinaits of time allocation, it was found that if household's income increased allocation of time to work of child labor would become less. If the child is still in school, working hours will be less because work is considered secondary activity while schooling is the main activity. As for the child's wage, it was found that if the wage rate increased, it would become an incentive for household to send their children into the labor market. The longer working hours were found among children with older age which corresponds with the fact that children with younger age have physical constraints for market work. The children engaged in doing independent work were found to have less working hours than children working in an enterprise under Labor Law. This corresponds with the fact that their work was mainly to help in their parents 'occupation. Types of low income housing area were also found to influence child labor's allocation of time in the way that in improved housing areas, working hours would be less since there were helps available from both government and private organization in improving their living conditions. The study results have significant implications for policy to reduce the problem of child labour in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74963
ISBN: 9745692999
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Petcharat_an_front_p.pdf984.4 kBAdobe PDFView/Open
Petcharat_an_ch1_p.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Petcharat_an_ch2_p.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Petcharat_an_ch3_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Petcharat_an_ch4_p.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Petcharat_an_ch5_p.pdf981.49 kBAdobe PDFView/Open
Petcharat_an_back_p.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.