Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9433
Title: การปรับปรุงต้นทุนการผลิตมาตรฐานในอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ โดยใช้ต้นทุนตามกิจกรรม
Other Titles: Standard production cost revision in the refractory industry using activity-based costing
Authors: สุวัฒน์ มหาสุวีระชัย
Advisors: สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suthas.R@Chula.ac.th
Subjects: การผลิต
อุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ
การบัญชีต้นทุนกิจกรรม
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยในภูมิภาคเอเชียช่วงหลังปี 2539 ทำให้การคำนวณต้นทุนของผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องแม่นยำกลายมาเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งในการอยู่รอดของอุตสาหกรรม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ถูกจัดทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงต้นทุนการผลิตมาตรฐานในอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟให้มีความถูกต้องแม่นยำขึ้นกว่าระบบต้นทุนมาตรฐานแบบเดิม โดยอาศัยทุนตามกิจกรรมซึ่งเป็นระบบการบริหารต้นทุนที่มุ่งความสนใจไปที่กิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ ซึ่งค่าใช้จ่ายต่างๆ จะถูกจำแนกเข้าเป็นต้นทุนของกิจกรรมแล้วจึงรวบรวมต้นทุนเหล่านั้นเข้าเป็นต้นทุนของผลิตภัณฑ์ต่อไป จากการศึกษาและวิเคราะห์ระบบต้นทุนเดิมอันประกอบไปด้วยต้นทุนการผลิตคงที่และต้นทุนการผลิตแปรผันซึ่งในต้นทุนการผลิตแปรผันยังแบ่งเป็นวัตถุดิบทางตรงและโสหุ้ยการผลิตแปรผัน ไม่พบปัญหาของการคำนวณต้นทุนวัตถุดิบทางตรง แต่พบว่าการคำนวณโสหุ้ยการผลิตแปรผันและการคำนวณโสหุ้ยการผลิตคงที่นั้นยังมีความคลาดเคลื่อนที่น่าสนใจอยู่มากโดยเป็นผลมาจากการเลือกตัวผลักดันต้นทุนและใช้วิธีการจัดสรรต้นทุนที่ไม่เหมาะสม จึงได้ใช้ปรับปรุงด้วยวิธีการของต้นทุนตามกิจกรรมโดยเริ่มจากการวิเคราะห์และระบุกิจกรรมได้เป็น 126 กิจกรรมซึ่งมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวผลิตภัณฑ์ที่ถูกแบ่งออกเป็น 21 ผลิตภัณฑ์เป็นจำนวน 93 กิจกรรม เลือกตัวหลักดันต้นทุนซึ่งแบ่งเป็นตัวผลักดันทรัพยากรและตัวผลักดันกิจกรรม โดยตัวผลักดันทรัพยากรสามารถถูกระบุได้ด้วยการระบุทางตรงที่อาศัยระบบศูนย์ต้นทุนและระบบบัญชีที่มีความละเอียดสูง และตัวผลักดันกิจกรรมที่ใช้ในการปันส่วนกิจกรรมที่ใช้ในปันส่วนกิจกรรมเข้าสู่วัตถุประสงค์กิจกรรมได้เลือกใช้ทั้งตัวผลักดันแบบจำนวน ตัวผลักดดันแบบเวลาและตัวผลัดกันตามมูลค่าซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละกิจกรรม จากนั้นจึงจัดทำรายการความต้องการกิจกรรมของผลิตภัณฑ์ ทำการคำนวณต้นทุนตามกิจกรรมและอัตรากิจกรรม แล้วจึงจัดรวมต้นทุนกิจกรรมและอัตรากิจกรรมเข้าเป็นต้นทุนการผลิตสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ 21 ชนิด แยกไปตามกระบวนการผลิต ต้นทุนการผลิตที่คำนวณด้วยวิธีต้นทุนตามกิจกรรมมีความแตกต่างจากต้นทุนการผลิตที่คำนวณด้วยวิธีการแบบเดิม โดยมีค่าสูงกว่าเดิม 14 ผลิตภัณฑ์และต่ำกว่าเดิม 7 ผลิตภัณฑ์ จากการวิเคราะห์หาสาเหตุความแตกต่างระหว่างการคำนวณต้นทุนก่อนและหลังการปรับปรุง พบว่าต้นทุนโสหุ้ยการผลิตแปรผันและโสหุ้ยการผลิตคงที่ตามวิธีของต้นทุนกิจกรรมมีความถูกต้องแม่นยำและสามารถอธิบายได้ชัดเจนว่าวิธีการคำนวณแบบเดิม เช่น สำหรับผลิตภัณฑ์อิฐอลูมินาต่ำนั้นคำนวณได้โสหุ้ยการผลิตแปรผันต่ำกว่าเดิม 17% ซึ่งเป็นผลจากการเลือกใช้ตัวผลักดันต้นทุนที่เหมาะสม และคำนวณได้โสหุ้ยการผลิตสูงกว่าเดิมถึง 85% ซึ่งเป็นผลจากการเลือกใช้ตัวผลักดันต้นทุนและวิธีการคำนวณที่สอดคล้องกับสภาพการใช้ทรัพยากรกว่าระบบเดิม สรุปได้ว่าการปรับปรุงต้นทุนมาตรฐานโดยใช้ต้นทุนกิจกรรมนั้น ทำให้ได้ต้นทุนการผลิตมาตรฐานที่มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้นและสามารถอธิบายให้เข้าใจถึงที่มาของต้นทุนการผลิตได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ส่วนสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การที่โรงงานตัวอย่างนั้นมีลักษณะผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันอีกทั้งยังมีลักษณะของต้นทุนร่วมหรือต้นทุนของหน่วยงานบริการที่มีมูลค่าสูงซึ่งลักษณะดังกล่าวมีความสอดคล้องหรือเหมาะสมกับจุดเด่นของต้นทุนกิจกรรม แต่ไม่ได้เป็นข้อสรุปว่าการใช้ต้นทุนตามกิจกรรมจะให้ผลดีมีความถูกต้องหรือให้ผลที่น่าเชื่อถือและมีความเหมาะสมกับลุกษณะอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่อย่างใด การเลือกใช้วิธีการใดๆ ควรต้องเลือกดูจากจุดเด่นและจุดด้อยของวิธีการ, วัตถุประสงค์, การลงทุน และลักษณะของอุตสาหกรรมจึงจะให้ผลที่เหมาะสมได้
Other Abstract: Since the economic crisis of Asia in late 1997, precise production costing became and crucial factor for the survival of many industries. The purpose of this thesis is to improve standard production costing in refractory business to be more accurate by using Activity-Based Costing (ABC). ABC is a cost management system which focuses on the activities related to the production output. The expenses are charged as cost for each activity, and then combined into cost of each product. From the analysis of existing costing system, which consists of fix cost and variable cost, which includes direct raw material and variable overhead cost, none of the problem in calculation of direct raw material is found. However, the calculation of variable overhead cost and fix overhead cost seems to have significant variance resulted from inappropriate cost driver and cost allocation method. Activity-Based Costing is applied to solve the problem. From the analysis, 126 activities are identified. Among these activities, there are 93 activities related to 21 products of the factory. The next step is to select cost drivers, both resource and activity drivers. Direct trace is selected as resource drivers retrieved from high-accuracy accounting system. Selected activity drivers, which are used for allocation of the activities into cost objects, includes transaction driver, duration driver and baht-based driver. Then, product's bills of activities are made and activity cost and activity rate are calculated to provide production costs of 21 different products, from different production processes. Production cost calculated by Activity-Based Costing is different from the conventional system. The production costs are higher in 14 products and lower in 7 products. From the analysis of the difference between the two systems, the result shows that variable overhead cost and fixed overhead cost from activity-based costing are more accurate and explicit than the traditional system. For example, for fireclay bricks, variable overhead cost is 17% lower, resulted from proper selection of cost driver. From appropriate cost driver selection and calculation that complies to utilize of resources, fixed overhead cost is 85% higher than that of traditional system. We may conclude that the improvement of costing by using activity-based costing provides more accurate and reasonable production cost. However, please note that the sample factory has certain characters that match with strength of activity-base costing. It has high variety of products, different production lines and high common cost or services department. We cannot conclude that activity-base costing will provide accurate result or suitable for other industries. To select costing system, the management should consider strength and weakness of the system, objective, investment and nature of its industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9433
ISBN: 9743332774
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwat_Ma_front.pdf775.49 kBAdobe PDFView/Open
Suwat_Ma_ch1.pdf723.66 kBAdobe PDFView/Open
Suwat_Ma_ch2.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Suwat_Ma_ch3.pdf911.17 kBAdobe PDFView/Open
Suwat_Ma_ch4.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Suwat_Ma_ch5.pdf916.07 kBAdobe PDFView/Open
Suwat_Ma_back.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.