DSpace Repository

แนวทางการตีความข้อบทเรื่องแรงงานในความตกลงเขตการค้าเสรี : กรณีศึกษาเขตการค้าเสรีประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศชิลี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทัชชมัย ฤกษะสุต
dc.contributor.author มนลดา นาคภิบาล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial สหรัฐอเมริกา
dc.coverage.spatial ชิลี
dc.date.accessioned 2011-05-29T03:34:02Z
dc.date.available 2011-05-29T03:34:02Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15241
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en
dc.description.abstract เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในระหว่างการเจรจาทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศสหรัฐอเมริกา ประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจ คือ ประเด็นเรื่องข้อบทด้านแรงงาน เนื่องจากเป็นประเด็นที่ยังคงมีความไม่ชัดเจน การพิจารณาข้อบทด้านแรงงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาทำกับประเทศชิลีจึงสามารถหยิบยกเป็นข้อบทด้านแรงงานต้นแบบได้ในฐานะที่ประเทศชิลีเป็นประเทศที่มีรูปแบบ วิถีชีวิต ลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับประเทศไทย การวิจัยนี้จึงมุ่งพิสูจน์ว่าพันธกรณีตามข้อบทด้านแรงงานในความตกลงดังกล่าวนั้นยังคงมีความ ไม่ชัดเจน โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อบทด้านแรงงานในความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศชิลี มาตรฐานหลักขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ Core Labor Standards ตามกฎหมายการค้าของประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายแรงงานของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงพิจารณาประเด็นอันเกิดจากคดีพิพาทที่มีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นคู่กรณีเพื่อพิจารณาดูว่าข้อบทเรื่องแรงงานที่ปรากฏตามพันธกรณีนั้น มีประเด็นอะไรบ้างที่แสดงถึงความไม่ชัดเจน เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและความเป็นไปได้ในการตีความหากประเทศไทยต้องทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศสหรัฐอเมริกาในอนาคต ผู้ศึกษาสรุปได้ว่า ข้อบทด้านแรงงานในความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศชิลี ยังคงมีความไม่ชัดเจนในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ (1) การตีความคำนิยาม เช่น การเลือกปฏิบัติควรครอบคลุมถึงผู้สมัครงานและลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ด้วยหรือไม่ (2) ความหมายของคำนิยาม เช่น สิทธิในการรวมตัวกันและการเจรจาต่อรองควรรวมข้อกำหนดเรื่องหลักเกณฑ์พื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้างด้วยหรือไม่ ,ความหมายของมาตรการด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงานควรมีลักษณะอย่างไร (3) ขอบเขตการบังคับใช้ เช่น ข้อบังคับตามความตกลงเขตการค้าเสรีจะมีขอบเขตการบังคับกับประเทศคู่ภาคีที่ละเมิดพันธกรณีด้านแรงงานในประเทศที่ 3 ด้วยหรือไม่ (4) ความแตกต่างในการบังคับใช้กฎหมายแรงงานระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย เช่น การติดตามตรวจสอบของเจ้าหน้าที่รัฐที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีมาตรฐานการบังคับใช้ที่สูงกว่าประเทศไทย เป็นต้น เพื่อนำประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดจากข้อพิพาทเหล่านี้เป็นแนวทางให้กับคณะผู้แทนเจรจาการค้าของประเทศไทยพิจารณาประกอบการตัดสินใจทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยต่อไป en
dc.description.abstractalternative Thailand is negotiating a Free Trade Agreement with the US. One of the most interesting aspects is “Labor” because its inclusion is confusing and unclear. The best Labor Chapter model for Thailand to apply and use for the precedent is the Labor Chapter in the US - Chile Free Trade Agreement. This is because Chile is similar to Thailand in several sectors such as the economy, society, and social life. This thesis aims to prove that the Labor Chapter in US - Chile Free Trade Agreement is unclear and difficult to interpret in the same way. The author investigates legal documents relating to Labor Chapter in US - Chile Free Trade Agreement, ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work, Core labor Standards of Bipartisan Trade Promotion Authority Act of 2002 and US labor law. The author also investigates the problems from US case study such as NAFTA and analyses the problematic point of Labor Chapter for being the guideline for Thai representatives. The author concludes that the Labor Chapter in US - Chile Free Trade Agreement has many problems such as (1) The Interpretation of definitions. For example, whether the word discrimination should cover pregnancy or not. (2) Whether the coverage of some definitions such as the right to organize should include basic regulation regarding employee’s right or not and what should be the meaning of occupational safety. (3)The Scope of Free Trade Agreement enforcement, i.e. the case of The violation of labor obligation in third country by any party, should it be under the Labor Chapter or not. (4)Labor law compliance, i.e. the enforcement of labor law in the US is more efficient than that in Thailand. If the Thai Representatives acknowledge these conclusions, they shall better perform in negotiating with US in Thai - US Free Trade Agreement. en
dc.format.extent 1938387 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1923
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject กฎหมายแรงงานระหว่างประเทศ en
dc.subject องค์การแรงงานระหว่างประเทศ en
dc.subject กฎหมายแรงงาน -- ไทย en
dc.subject กฎหมายแรงงาน -- ชิลี en
dc.subject กฎหมายแรงงาน -- สหรัฐอเมริกา en
dc.subject เขตการค้าเสรี en
dc.title แนวทางการตีความข้อบทเรื่องแรงงานในความตกลงเขตการค้าเสรี : กรณีศึกษาเขตการค้าเสรีประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศชิลี en
dc.title.alternative The guideline to interpret labor chapter in free trade agreement : a study on US - Chile Free Trade Agreement en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.1923


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record