DSpace Repository

การกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการระดมเครือข่ายโดยมิชอบตามกฎหมายว่าด้วยการขายตรงและตลาดแบบตรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีระพงษ์ บุญโญภาส
dc.contributor.author อภินพ สุจิภิญโญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-03-29T04:18:53Z
dc.date.available 2012-03-29T04:18:53Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18863
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en
dc.description.abstract ความผิดเกี่ยวกับการระดมเครือข่ายโดยมิชอบตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 เป็นดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจขายตรงหรือในการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง โดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว ซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดรายได้มหาศาลจากการกระทำความผิด และส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ แต่ไม่อาจนำมาตรการตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาบังคับใช้ได้ เนื่องจากไม่ใช่ความผิดมูลฐาน ทำให้อาชญากรสามารถนำรายได้เหล่านั้นไปใช้เป็นต้นทุนในการกระทำความผิดครั้งต่อไป จนกลายเป็นวงจรอาชญากรรม จากการศึกษาพบว่า ความผิดดังกล่าวมีลักษณะที่สอดคล้องกับแนวความคิดในการกำหนดความผิดมูลฐาน กล่าวคือ เป็นความผิดที่มีรูปแบบและวิธีการดำเนินการในลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรม ได้รับผลตอบแทนจากการกระทำความผิดสูง เป็นความผิดที่มีลักษณะสลับซับซ้อนยากแก่การปราบปราม และเป็นภัยต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะแนวทางในการกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการระดมเครือข่ายโดยมิชอบตามกฎหมายว่าด้วยการขายตรงและตลาดแบบตรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมถึงข้อเสนอแนะด้านอื่น ๆ เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมประเภทนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น en
dc.description.abstractalternative The offence on wrongfully network mobilization in accordance with Article 19 of the Direct Sales and Direct Markets Act B.E. 2545 is relating to the business in a manner of inducing any person to join a direct sales or direct marketing network and promising to grant benefits which will be calculated from the number of person joining the network. This leads to a considerable number of income generating from the offences and it will seriously affect the national economic. However, the anti-money laundry measure cannot be enforced against this circumstance, since it is not the predicate offence. Consequently, a criminal can spend such incomes as the costs for potential offences and this will become the criminal circle. From the study, it is found that the nature of such offence can be in compliance with the concept of the predicate offence. That is, it is an offence in manner of criminal organization and it can obtain a high and considerable income generating from such offence. Further, it is very complicated for suppression and provides an impact on economic security. Therefore, the writer proposes a recommendation on the provision of wrongfully network mobilization of the direct sales and direct market act law being as the predicate offence in accordance with the Anti-Money Laundry Act, as well as other recommendations to counter this crime more effectively. en
dc.format.extent 3035766 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.70
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ความผิดฐานฉ้อโกง en
dc.subject อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ en
dc.subject การฟอกเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en
dc.subject การเงินนอกระบบ en
dc.subject การขายตรง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en
dc.subject การตลาดโดยตรง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en
dc.subject พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 en
dc.title การกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการระดมเครือข่ายโดยมิชอบตามกฎหมายว่าด้วยการขายตรงและตลาดแบบตรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน en
dc.title.alternative The provision of wrongfully network mobilization of the direct sales and direct markets act law being as the predicate offence in accordance with the anti-money laundry act en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.70


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record