DSpace Repository

การวิเคราะห์เปรียบเทียบโมเดลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ : การประยุกต์ใช้โมเดลมูลค่าเพิ่มที่มีการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบและการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของตัวลวง

Show simple item record

dc.contributor.advisor โชติกา ภาษีผล
dc.contributor.advisor ศิริชัย กาญจนวาสี
dc.contributor.author เรืองเดช ศิริกิจ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-06-10T03:58:34Z
dc.date.available 2013-06-10T03:58:34Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32111
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาผลของข้อสอบที่เกิดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ (DIF) และการทำหน้าที่ต่างกันของตัวลวง (DDF) ในแบบสอบประเมินความรู้วิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2. เพื่อศึกษาผลของข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกัน และผลของตัวแปรคุณลักษณะของนักเรียนและสถานศึกษาต่อการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์เมื่อใช้โมเดลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาต่างกัน 4 โมเดล และ 3. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพโมเดลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ เมื่อใช้โมเดลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา 4 โมเดล ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์หรือ TIMSS ปี 2007 กลุ่มตัวอย่างของโครงการประกอบด้วย นักเรียน ครูคณิตศาสตร์ ที่สอนนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยและผู้บริหารสถานศึกษาที่นักเรียนกลุ่มตัวอย่างศึกษา จำนวน 150 สถานศึกษา และจำนวนนักเรียน 5,412 คน โดยศึกษาเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ จากแบบสอบประเมินความรู้วิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 14 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการใน 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบและการทำหน้าที่ต่างกันของตัวลวง ด้วยโปรแกรม DDFS 1.0 ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มในโมเดลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา โดยประยุกต์ใช้โมเดลมูลค่าเพิ่ม (Value-Added Model) ด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงแบบลดหลั่น (HLM) ด้วยการวิเคราะห์ 2 ระดับ และขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 โมเดลที่ต่างกัน คือ โมเดล 1 “Undetected DIF-DDF & Adjusted” โมเดล 2 “Detect DIF & Adjusted” โมเดลที่ 3 “Detect DIF-DDF & Unadjusted” โมเดล 4 “Detect DIF-DDF & Adjusted” ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวแปรเพศเป็นคุณลักษณะที่พบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ และการทำหน้าที่ต่างกันของตัวลวงในแบบสอบวิชาคณิตศาสตร์ มากที่สุด โดยพบว่าข้อสอบส่วนใหญ่ที่เกิดการทำหน้าที่ต่างกัน (DIF) มีจำนวนข้อสอบที่เพศหญิงมีโอกาสที่จะตอบถูกมากกว่าเพศชาย ในขณะที่ข้อสอบที่เกิดการทำหน้าที่ต่างกันของตัวลวง (DDF) ข้อสอบส่วนใหญ่เพศชายมีโอกาสที่จะเลือกตอบมากกว่าเพศหญิง 2. ผลของข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันในแบบสอบวิชาคณิตศาสตร์ต่อการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า ข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันในแบบสอบวิชาคณิตศาสตร์ไม่มีผลต่อการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา (จากการเปรียบเทียบ โมเดล 1 และ 2, โมเดล 1 และ 4, โมเดล 2 และ 4) ส่วนผลของตัวแปรคุณลักษณะของนักเรียนและสถานศึกษาต่อการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ พบว่าคุณลักษณะของนักเรียนและสถานศึกษา มีผลต่อการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยการการจัดอันดับคุณภาพการจัดการศึกษา ระหว่างโมเดล 1 และ 3, โมเดล 2 และ 3 และระหว่างโมเดล 3 และ 4 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพโมเดลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ พบว่าโมเดลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ที่มีการควบคุมอิทธิพลของตัวแปรระดับนักเรียน และระดับสถานศึกษาให้ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาวิชำคณิตศาสตร์ใกล้เคียงกัน โดยโมเดล 4 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R²) สูงสุดเท่ากับ 52.04% รองลงมาได้แก่โมเดล 1 และโมเดล 2 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R²) เท่ากับ 51.96% และ 51.86% ตามลำดับ en
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were 1. to study the effects of differential item functioning and differential distractor functioning on mathematics test in grade 8. 2. to study the effects of DIF - DDF and effects of student-school characteristics on a quality assessment of mathematics subject when using 4 different assessment models. 3. to compare the efficiency of the model of a quality assessment of mathematics subject. The data used in this research is the secondary data from the 2007 Trends in International Mathematics and Science Study (TIMSS), collected from 5,412 students in 150 schools from Thailand, studying only mathematics subjects. The data were based on 14 assessment tests of knowledge in mathematics. The data analysis was analyzed in three steps. The first step was the detection of the differential item functioning (DIF) and differential distractor functioning (DDF) by using the DDFS program. In the second step, to controlled characteristics of student and school in the quality assessment models of mathematics and was analyzed by applying the value-added model with Hierarchical Linear Models (HLM) with two levels of analysis. Finally in the third step, to compared the quality assessment models of mathematics subject. HLM and SPSS for Windows were used in analyzing the data. The research results were as follows: 1. Sex was the characteristic that found DIF and DDF more than other characteristics in the mathematics test and for the item that found DIF, most of items that, favors the Female group and for DDF, most of the distractor was relatively more attractive for the male than female. 2. The differential item functioning and differential distractor functioning in mathematics tests did not affect on a quality assessment of mathematics subject. (to compare model 1 and 2, model 1 and 4, model 2 and 4) and the student and school characteristics affect a quality assessment of mathematics subject. There was a statistically significant difference at the .05 (to compare model 1 and 3, model 2 and 3, model 3 and 4) 3. The comparison of the efficiency of quality assessment models of mathematics subject reveal that different models cause the result of the quality assessment to differ. Model 4 gives the highest proportion variance explained (R²) of 52.03%, while that of Model 1 is 51.96% and Model 2 is 51.86%. en
dc.format.extent 8511460 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.327
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน en
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน -- การประเมิน en
dc.subject การสอบ -- การออกแบบและการสร้าง en
dc.subject การประเมินผลทางการศึกษา en
dc.subject Mathematics -- Study and teaching en
dc.subject Mathematics -- Study and teaching -- Evaluation en
dc.subject Examinations -- Design and construction en
dc.subject Educational evaluation en
dc.title การวิเคราะห์เปรียบเทียบโมเดลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ : การประยุกต์ใช้โมเดลมูลค่าเพิ่มที่มีการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบและการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของตัวลวง en
dc.title.alternative A comparative analysis of the model of a quality assessment of mathematics subject : an application of differential item functioning and differential distractor functioning en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาเอก es
dc.degree.discipline การวัดและประเมินผลการศึกษา es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor aimornj@hotmail.com
dc.email.advisor skanjanawasee@hotmail.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.327


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record