DSpace Repository

การนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ละครของบ้านเรียนมรดกใหม่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
dc.contributor.author พบจันทร์ ลีลาศาสตร์สุนทร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-08-21T07:14:43Z
dc.date.available 2013-08-21T07:14:43Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35678
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อวิเคราะห์ที่มา แนวคิด และเป้าหมาย ของการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ละครของบ้านเรียนมรดกใหม่เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต การวิจัยในครั้งนี้จึงเป็นเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นการหาความรู้โดยพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงในทุกมิติ เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดล้อมนั้นซึ่งให้ความสนใจข้อมูลด้านความรู้ ความรู้สึกนึกคิด ความหมาย ค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคลและใช้เวลาในการศึกษาติดตามสังเกต และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการเป็นวิธีหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ละครของบ้านเรียนมรดกใหม่เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นมี ”ที่มา”จากทัศนคติและแนวคิดของผู้นำ องค์กร”ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง”ในฐานะ “ผู้อาวุโสสูงสุด”และ“ครู” ที่พร้อม จะเป็นตัวอย่าง ด้วยการฝึกฝนมี “เป้าหมาย” อยู่ที่ “การสร้างคนให้มีวัฒนธรรมการดูละครและการแสวงหาความรู้” และมี “แนวคิด” ที่จะพัฒนาตนเองทั้งครูและผู้เรียนโดยใช้ยึดหลักว่า ละครกับการศึกษาและพุทธศาสนาเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นเรื่องเดียวกัน และเมื่อองค์ประกอบหลัก 3 ประการคือ นักแสดงหรือครู/ เรื่องราวหรือ เนื้อหาที่สอน/ และผู้ชม หรือผู้เรียนอยู่ในบรรยากาศที่ หล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียว เมื่อนั้นละครที่แท้จริงหรือการเรียนรู้ที่แท้จริง จึงจะเกิดขึ้น 2. การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ละครของบ้านเรียนมรดกใหม่เป็นการจัดการศึกษาเป้าหมายชัดเจนที่ จะเลือกศึกษาอย่างลึกซึ้งเท่าที่จำเป็น “ใบไม้ในกำมือ”, ฝึกพิจารณาแยกแยะข้อดีที่ต้องรักษาและข้อด้อยที่ต้องพัฒนา, เน้นการ ศึกษาในแนวดิ่ง” ต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาต้นไม้เล็ก เกื้อกูลกันด้วย อาวุโสนิยม”, เรียนรู้แบบบูรณาการทุกกลุ่มสาระเรียนรู้ เพื่อนำ ไปสู่การเรียนรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิต นอกจากนี้ยังมีวิธีการฝึกตนให้เป็น ผู้พร้อมจะเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการฝึกฝนทักษะชีวิต 6 ประการ ซึ่งให้ความสำคัญกับการพึ่งตนเอง ลดการ ยึดติดวัตถุและฝึกพิจารณาถึง ผู้อื่นมากกว่า ตนเอง ได้แก่ การพร้อมใจกัน, ทำพร้อมใจกันเลิก, การทำแล้วทำเล่าจนทำได้, การอยู่อย่างต่ำทำอย่างสูง, การแผ่วที่ผลทำที่เหตุ, การที่ไม่มีเรื่องที่เล่าไม่ได้มีแต่นักแสดงที่เล่าไม่เป็น, การเป็นอย่างที่กิน เป็นอย่างที่อ่าน และเป็นอย่างที่สอนพร้อมกันนั้น ยังบูรณาการกับการฝึกทักษะด้านการละคร 7 ประการตามแนวทาง “โพชฌงค์ 7” ได้แก่ เรียนรู้รูปแบบ(สติ), ฝึกรูปแบบ (ธัมมวิจยะ), ฝึกรูปแบบจนไม่ติดยึดกับรูปแบบ(วิริยะ), หนีรูปแบบ เข้าหา เนื้อใน(ปิติ), หาวิธีฝังเนื้อในในรูปแบบ (ปัสสัทธิ), รูปแบบเนื้อในเป็นหนึ่งเดียว(สมาธิ), รูปแบบเนื้อในไหลเลื่อนเคลื่อนไปด้วยตัวเอง (อุเบกขา) กระบวนการฝึกทักษะละคร 7 ข้อดังกล่าวนั้นจะนำพาผู้เรียนให้ขบคิด ตั้งคำถามและฝึกฝนตนและเรียนรู้อยู่เป็นเนืองนิตย์อันเป็นแนวทางที่นำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจากแนวทางดังกล่าวพบว่า ครูและผู้เรียนต้องเป็นผู้แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา พร้อมที่จะเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่น โดยกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้จะมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ การทดลองทดสอบผ่าน สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบละคร ดนตรี การศึกษางานศิลปะและการทำโครงงาน ส่วนการประเมินผลนั้นจะเน้นที่ การทำได้ ทำเป็น ประกอบกับการทำบันทึกของการเรียนรู้ทั้งจากครูและผู้เรียนเอง en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was: 1) to analyze cause, concept and goal of organizing non formal education, using pedagogic theatre in Moradokmai Home School for lifelong learning. This study was a Qualitative Research, using Documentary Research, Non formal interviews, Observations, and Surrounded Circumstances to compile the facts in every aspects in order to related with Faith Values and Idealism of individuals. The study was validated by an expert. The research findings were as follows: 1. Cause of organizing non formal education, using pedagogic theatre for lifelong learning in Moradokmai Home School. has derived from viewpoint and vision of leader of the organization; Janaprakal Chandruang. As the top senior member, and as the master, he has been dedicating to be a model by drilling himself at all time, in order to reach the goal of estrablishing culture of watching theatre and culture of searching for wisdom. He has initiated concept of developing oneself, for both teacher and student; under the principles that Theatre, Education and Buddhism are the same direction of thoughts. When 3 main components of theatre and education, which are actor or teacher/story or topic of learning/and audience or student, are in harmonious circumstances, and become one, then true theatre and true education will be arised in that moment. 2. Organizing non formal education, using pedagogic theatre in Moradokmai Home School leads to lifelong learning by which its members; teachers and students have a clear goal of specific selection for what to learn; followed Buddhist approach “leaves in one handful”. They practice how to distinguish between good points and weak points of their skills and learn how to sustain good points and develop weak points. They emphasis on vertical learning approach when “big tree” gives shade to “little tree”, learning and sharing wisdom by seniority system. They integrate all learning subjects for practical implements in real life. They practice 6 philosophies; emphasized on self reliance, diminishing materialism, considering public needs more than personal needs which are “To meet together in harmony and disperse in harmony, “To do the skill until you master in it”, “To live life simply to give more”, “To learn from process more than product”, “To practice to tell untold story of their own” and ” To be what you eat, read and teach ”. Apart from that they also need to practice 7 disciplines of doing theatre; followed Buddhism approach of ”7 factors of enlightenment “ which are Mindfulness. Investigation, Energy. Joy. Tranquillity, Concentration, and Equanimity which lead to life long learning or unending education among its members. In order to follow this direction, teachers and students have to be eager for a new knowledge all the time, and willingly to be a model for the others, through the learning process and activiities that emphasis on hands on expreriences through theatre, music, arts, and projects, following by the evaluations that emphasis on the result of accomplishment from what they aim to do, as well as portfolios from both teachers and students. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1473
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject บ้านเรียนมรดกใหม่ en_US
dc.subject การศึกษานอกระบบโรงเรียน en_US
dc.subject การวางแผนหลักสูตร en_US
dc.subject การศึกษาต่อเนื่อง -- การศึกษาและการสอน en_US
dc.subject การจัดการศึกษาโดยครอบครัว en_US
dc.subject ละครเพื่อการศึกษา en_US
dc.subject Moradokmai Home School en_US
dc.subject Non-formal education en_US
dc.subject Curriculum planning en_US
dc.subject Continuing education -- Study and teaching en_US
dc.subject Home schooling en_US
dc.subject Drama in education en_US
dc.title การนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ละครของบ้านเรียนมรดกใหม่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต en_US
dc.title.alternative Proposed guildelines for organizing non formal education using pedagogic theatre of Moradokmai Home School to enhance lifelong learning en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การศึกษานอกระบบโรงเรียน en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor wirathep.p@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1473


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record