Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของรูปแบบความผูกพัน (attachment styles) ที่มีต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (work-life balance) ของบุคคลทั่วไปไม่จำกัดเพศและอายุ ที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 201 คน ตอบแบบสอบถามที่ประเมินรูปแบบความผูกพัน และความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ตามลำดับ แล้วทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติ ผลการวิเคราะห์พบว่า 1. ความวิตกกังวลในความผูกพัน (β1 = .16, p < .05) สามารถทำนายการรบกวนจากชีวิตการทำงานไปสู่ชีวิตนอกเหนือการทำงานได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของการรบกวนจากชีวิตการทำงานไปสู่ชีวิตนอกเหนือการทำงานได้ร้อยละ 4 (R 2 = .04, p < .05) 2. ความวิตกกังวลในความผูกพัน (β2 = .34, p < .001) สามารถทำนายการรบกวนจากชีวิตนอกเหนือการทำงานไปสู่ชีวิตการทำงานได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของการรบกวนจากชีวิตนอกเหนือการทำงานไปสู่ชีวิตการทำงานได้ร้อยละ 9 (R 2 = .09, p < .001) 3. ความวิตกกังวลในความผูกพัน (β3 = .17, p < .05) และจำนวนชั่วโมงการทำงาน (β4 = .29, p < .001) สามารถร่วมกันทำนายการรบกวนจากชีวิตการทำงานไปสู่ชีวิตนอกเหนือการทำงานได้ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของการรบกวนจากชีวิตการทำงานไปสู่ชีวิตนอกเหนือการทำงานได้ร้อยละ 12 (R 2 = .12, p < .001)
Description:
โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2013