DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิราภรณ์ โพธิศิริ
dc.contributor.author รักษพล สนิทยา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
dc.date.accessioned 2015-08-10T09:45:22Z
dc.date.available 2015-08-10T09:45:22Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44245
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย อาศัยข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการ “สำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2554” ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (จำนวนประชากรตัวอย่าง = 23,304) การศึกษานี้ใช้อาการหรือความรู้สึกด้านอารมณ์ ร่างกายและความคิด จำนวน 6 อาการ ได้แก่ คิดมาก/วิตกกังวลใจ รู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจ รู้สึกหมดหวังในชีวิต รู้สึกว่าชีวิตไม่มีคุณค่า รู้สึกไม่มีความสุขและเศร้าหมอง และรู้สึกเหงาเป็นตัวแปรตามในการศึกษา และใช้วิธีการถดถอยพหุโลจีสติกในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุที่รายงานปัญหาทางสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับอายุ และสัดส่วนผู้สูงอายุเพศหญิงที่รายงานปัญหาสุขภาพจิตมีสูงกว่าผู้สูงอายุเพศชายในทุกกลุ่มอายุ ในทั้งหมด 6 อาการ สำหรับภาวะสุขภาพจิต พบว่า มีเพียงร้อยละ 46.06 ของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะสุขภาพจิตในระดับดี นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวแปรเพศ อายุ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพกาย ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส เขตที่อยู่อาศัย สถานภาพในครัวเรือน การทำงาน การเข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน/ชุมชน ระดับรายได้ และความเพียงพอของรายได้ มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุไทย อย่างไรก็ตามหลังควบคุมตัวแปรอิสระตัวอื่นๆ พบว่า ตัวแปรเพศ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพกาย ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส เขตที่อยู่อาศัย สถานภาพในครัวเรือน การเข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน/ชุมชน ระดับรายได้ และความเพียงพอของรายได้เท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุไทย en_US
dc.description.abstractalternative This research aims to examine the current state of mental health as well as factors associated with mental health of the elderly, using the secondary data drawn from the 2011 Survey of Older Persons in Thailand conducted by the National Statistical Office, Thailand. The sample used for the current study is 23,304 subjects. This study accounts for the state of emotion, body and mind including feeling worried, feeling annoyed/irritated, feeling desperate, feeling that life has no value, feeling unhappy, and feeling lonely as a dependent variable. The multinomial logistic regression technique is employed for the data analysis. Based on the statistical analysis, it is found that the proportion of elderly who reported mental health problems is positively correlated with age. Besides, the proportion of elderly females who reported mental health problems was higher than that of elderly males in all age groups and in 6 symptoms. Only 46.06 percent of the elderly have good mental health. Further, it is found that sex, age, functional limitation, self-rated health status, education level, marital status, location of residence, status in household, employment status, community activities participation, income level and income sufficiency are significantly associated with the elderly’s mental health. However, after controlling for relevant socio-economic characteristic, it is found that only sex, functional limitation, self-rated health status, education level, marital status, location of residence, status in household, community activities participation, income level and income sufficiency influence the elderly’s mental health. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.484
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ไทย en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ไทย -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ -- สุขภาพจิต en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ -- สุขภาพจิต -- ไทย en_US
dc.subject Older people -- Thailand en_US
dc.subject Older people -- Thailand -- Psychological aspects en_US
dc.subject Older people -- Psychological aspects en_US
dc.subject Older people -- Mental health en_US
dc.subject Older people -- Mental health -- Thailand en_US
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย en_US
dc.title.alternative Factors influnencing psychological health of Thai elderly population en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Wiraporn.P@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.484


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record