DSpace Repository

ภารกิจด้านการดูแลสุขภาพของผู้ให้บริการภาครัฐระดับตำบล

Show simple item record

dc.contributor.advisor กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ en_US
dc.contributor.advisor จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ en_US
dc.contributor.author มโน มณีฉาย en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-09-17T04:01:34Z
dc.date.available 2015-09-17T04:01:34Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45398
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract การบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขมีลักษณะเหมือนกับประเทศอื่นๆ ปัจจัยอื่นที่นอกเหนือจากปัจจัยด้านสุขภาพ ส่งผลทางอ้อมต่อสถานะทางสุขภาพของประชาชน ในขณะที่การจัดบริการสุขภาพในระดับท้องถิ่นเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ จากหลายมุมมองพบว่า ตำบลนั้นมีศักยภาพสูงที่สุด โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นหน่วยงานด้านสุขภาพและไม่ใช่ด้านสุขภาพในระดับท้องถิ่น ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทยตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผลการดูแลสุขภาพประชาชนระหว่างสองหน่วยงานในระดับตำบลที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานการดูแลสุขภาพประชาชนโดยเฉพาะการสร้างความชัดเจนในการจัดบริการสุขภาพ ซึ่งมีความทับซ้อนกันระหว่างหน่วยงานทั้งสองในระดับตำบล การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับแนวคิดของภารกิจการดูแลสุขภาพประชาชนระดับตำบล โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ร่วมกับมีการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจแนวคิดการกระจายอำนาจด้านสุขภาพและประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพให้มากขึ้น มีการปรับปรุงการใช้ภาษาของกิจกรรมการดูแลสุขภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการจัดบริการสุขภาพระดับตำบล และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพแบบสอบถามได้รับการพัฒนาตามประเด็นที่พบเพื่อระบุกิจกรรมการดูแลสุขภาพของทั้งสองหน่วยงานในการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ รวมทั้งการศึกษาความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการของผู้ให้บริการภาครัฐระดับตำบล เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ มีการตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถามให้ตรงตามเนื้อหาก่อนนำไปสำรวจข้อมูลจากผู้ให้บริการภาครัฐระดับตำบลของหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขและนอกกระทรวงสาธารณสุข สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน หลังจากนั้นนำแบบสอบถามไปขอความคิดเห็นเกี่ยวกับภารกิจการดูแลสุขภาพที่มีการดำเนินการทั้งสองหน่วยงานในระดับตำบลจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เชิงอนุมาน ได้แก่การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และพบว่าความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการเป็นวิธีการที่เป็นนวตกรรมใหม่ จากการทบทวนเอกสารทางวิชาการพบกิจกรรมการดูแลสุขภาพจำนวน 393 กิจกรรม นำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงลักษณะการใช้ภาษาให้ชัดเจน สามารถจำแนกออกเป็น 595 กิจกรรม หลังจากสำรวจข้อมูลพบว่า มีตำบลตอบแบบสอบถามร้อยละ 73.0 (276/378)โดยจำแนกเป็นรพ.สต. 317 แห่ง และอบต. 135 แห่ง โดยมีผู้ปฏิบัติงานภาครัฐระดับตำบลตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 59.0 (441/748) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจสามารถจำแนกภารกิจการดูแลสุขภาพได้ 3 ภารกิจ คือ (1) การจัดบริการรักษาพยาบาลและการให้คำปรึกษา (2) การสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและคุ้มครองบริโภคและ (3) การสนับสนุนงานด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชน การศึกษากิจกรรมการดูแลสุขภาพพบว่า กิจกรรมการดูแลสุขภาพที่ทั้งสองหน่วยงานเกี่ยวข้องและดำเนินการร่วมกันมีจำนวน 106 กิจกรรม (ร้อยละ 17.8) กิจกรรมการดูแลสุขภาพที่รพ.สต.ดำเนินการเองโดยมี อบต.ร่วมสนับสนุนด้านต่างๆ จำนวน 18 กิจกรรม (ร้อยละ13.0) กิจกรรมการดูแลสุขภาพที่ดำเนินการโดย รพ.สต.จำนวน 7 กิจกรรม (ร้อยละ 5.1) และกิจกรรมการดูแลสุขภาพที่ดำเนินการโดยอบต.เพียงหน่วยงานเดียว มีจำนวน 4 กิจกรรม (ร้อยละ 2.9) ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการระหว่างบุคลากรของรพ.สต.และอบต.ซึ่งมีผลกระทบที่สำคัญต่อระบบการจัดบริการสุขภาพระดับตำบล แบ่งได้เป็น 4 ระดับคือ มาก ปานกลาง น้อยและไม่มีความสัมพันธ์ ซึ่งพบว่าความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการระดับมากพบในนายก อบต.กับบุคลากรของ รพ.สต. ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการในระดับปานกลางพบในรองนายก อบต.หรือประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกับบุคลากรของรพ.สต และความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการในระดับน้อยในกลุ่มบุคลากรของอบต.ตำแหน่งอื่นๆกับบุคลากรของรพ.สต. จากการสำรวจข้อมูลระดับตำบลพบว่าบุคลากรของรพ.สต.และอบต.มีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการระดับมากร้อยละ 58.5 ระดับปานกลางร้อยละ 12.0 ระดับน้อยร้อยละ7.4 และไม่มีความสัมพันธ์เลยร้อยละ 22.2 การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดภารกิจการดูแลสุขภาพของหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขและนอกกระทรวงสาธารณสุขโดยวิธีผสมผสานทำให้เกิดความชัดเจนขึ้น คำสำคัญ: ภารกิจการดูแลสุขภาพ การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ ผู้ให้บริการภาครัฐระดับพื้นที่ ประเทศไทย en_US
dc.description.abstractalternative Like other countries, Thailand health services system has been managed by health ministry of central government. As health status of the population could indirectly be affected by non-health determinants whereas public services provided and managed locally has been proposed as a more efficient system, Thailand has entered an era of health decentralization. As an optimal level from various perspectives, Tambon was chosen as potentially the most optimal level, in which Tambon Health Promoting Hospital (THPH) and Subdistrict Administrative Organization (SAO) are the two main local public health and non-health providers representing the Ministry of Health and Ministry of Internal Affairs, respectively.However, unsatisfactory progress after the first few years of implementation resulted in the need for in-depth explanation as well as identification of opportunity for improvement. One of the critical concerns was unclearly defined overlapping roles between the two organizations. To clarify concepts and scopes of healthcare tasks at Tambon level, a sequence of qualitative and quantitative research methods was conducted. Relevant documents and literatures were reviewed to gain a better understanding of health decentralization concepts and experiences as well as producing initial list of healthcare tasks. To clarify the list, applied linguistic research technique was done. In-depth interviews were conducted with key stakeholders and qualitatively analyzed. Questionnaire was developed based on the identified themes, covering both traditional determinants of health decentralization as well as some novel issues including informal relationship between staff of the two organization and how it affect the progress of national movement toward health decentralization. The questionnaire was validated then used in the national survey of health and non-health staff of the two organizations at Tambon level, selected using multi-stage cluster sampling technique. The list of healthcare tasks was presented to panels of experts and health practitioners to determine if each of the tasks should be accounted for and implemented by either local organization. Data were analyzed during descriptive and inferential statistics as well as exploratory factor analysis. Informal relationship was also explored using innovative approaches. A total of 393 healthcare tasks were initially identified from the review of documents and literature. After linguistic adjustments, the list was expanded to have 595 clearly defined tasks. Survey responses were received from 73.0% (276/378) Tambons (317 THPHs and 135 SAOs) and 59.0% (441/748) staff. Based on the exploratory factor analysis, healthcare tasks could be classified into (1) curative and counseling services, (2) health promotion, disease prevention, and public health support, and (3) environmental health services. It was revealed that 106 (17.8%) healthcare tasks were accounted for and implemented by both THPH and SAO, 18 (13.0%) were accounted for by THPH but implemented by SAO, 7 (5.1%) were accounted for and implemented only by THPH, and 4 (2.9%) were accounted for and implemented only by SAO. Informal relationships were classified into four levels: strong, moderate, weak and no informal relationship, mainly because of potential impact on local health services system. Strong informal relationship existed when the Chief Executive of SAO had any relationship degree with any THPH staff. When the Deputy Chief Executive of SAO or Chairman of the SAO Council had such relationship, the Tambon was classified as moderate level. Tambon with some other relationship patterns was categorized as weak. Approximately 58.5, 12.0, 7.4 and 22.2% of the surveyed Tambon have strong, moderate, weak, and no informal relationship, respectively. Healthcare tasks of local health and non-health organizations have been clearer as a result of empirical evidence from this mixed method research. KEYWORDS: Healthcare Tasks, Health Decentralization, Local Public Providers, Thailand en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.902
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การกระจายอำนาจในการจัดการ -- ไทย th
dc.subject การบริหารรัฐกิจ -- ไทย th
dc.subject สถานบริการสาธารณสุข -- ไทย th
dc.subject การบริหารสาธารณสุข -- ไทย th
dc.subject สาธารณสุข -- ไทย th
dc.subject สาธารณสุขมูลฐาน -- ไทย th
dc.subject Decentralization in management -- Thailand en_US
dc.subject Public administration -- Thailand en_US
dc.subject Health facilities -- Thailand en_US
dc.subject Public health administration -- Thailand en_US
dc.subject Public health -- Thailand en_US
dc.subject Primary health care -- Thailand en_US
dc.title ภารกิจด้านการดูแลสุขภาพของผู้ให้บริการภาครัฐระดับตำบล en_US
dc.title.alternative HEALTH CARE TASKS OF PUBLIC PROVIDERS AT TAMBON LEVEL en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Krit.Po@chula.ac.th en_US
dc.email.advisor Jiruth.S@chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.902


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record