dc.contributor.advisor |
ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ |
en_US |
dc.contributor.author |
วิชญะ ศรีพิพัฒนกุล |
en_US |
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
en_US |
dc.date.accessioned |
2015-09-18T04:21:21Z |
|
dc.date.available |
2015-09-18T04:21:21Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
en_US |
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45998 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
en_US |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบวรรณยุกต์ภาษาไทยอีสาน จังหวัดศรีสะเกษ ใน 5 ชุมชนภาษาคือ 1) ชุมชนภาษาไทยอีสาน 2) ชุมชนภาษาไทยอีสาน-กูย 3) ชุมชนภาษาไทยอีสาน-เขมร 4) ชุมชนภาษาไทยอีสาน-กูย-เขมร และ 5) ชุมชนหลากภาษา สมมติฐานของงานวิจัยมี 2 ข้อ คือ 1) เมื่อวิเคราะห์ด้วยการฟัง ประกอบการใช้กล่องวรรณยุกต์ของ Gedney (1972) รูปแบบการแยกเสียงรวมเสียงและระบบวรรณยุกต์ที่พูดโดยผู้บอกภาษาจาก 5 ชุมชนภาษาเหมือนกัน 2) เมื่อวิเคราะห์โดยวิธีการทางกลสัทศาสตร์ สัทลักษณะของวรรณยุกต์ภาษาไทยอีสานที่พูดในชุมชนภาษาแต่ละชุมชนจะต่างกันในด้านระดับความสูง-ต่ำ ลักษณะการขึ้น-ตก และพิสัยระดับเสียง ข้อมูลของงานวิจัยนี้ได้จากผู้บอกภาษาชาวไทยอีสาน เพศหญิง ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนดังกล่าวข้างต้น จำนวน 15 คน โดยวิธีเก็บข้อมูล 2 ส่วน ข้อมูลส่วนที่ 1 เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการฟัง ประกอบกับการใช้กล่องวรรณยุกต์ของ Gedney ส่วนที่ 2 ได้จากบันทึกเสียงและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Praat เวอร์ชัน 5.3.35 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้บอกภาษา 15 คนออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยอีสานที่มีรูปแบบการแยกเสียงรวมเสียงและระบบวรรณยุกต์ 2 แบบ ทั้ง 2 รูปแบบเหมือนกันที่การแยกเสียงรวมเสียงในแถว B C และ DL แต่จะมีความต่างกันในส่วนของการแยกเสียงในแถว A ระบบวรรณยุกต์ที่ออกเสียงโดยผู้บอกภาษาส่วนใหญ่ (13 คน) ประกอบด้วยวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง (วรรณยุกต์ 1 ต่ำ-ขึ้น วรรณยุกต์ 2 สูง-ตก วรรณยุกต์ 3 สูง-ระดับ วรรณยุกต์ 4 ต่ำ-ระดับ วรรณยุกต์ 5 กลาง-ตก) และระบบวรรณยุกต์ที่ออกเสียงโดยผู้บอกภาษาส่วนน้อยประกอบด้วยวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง (วรรณยุกต์ 1 ต่ำ-ขึ้น วรรณยุกต์ 2 ต่ำ-ตก วรรณยุกต์ 3 สูง-ตก วรรณยุกต์ 4 สูง-ระดับ วรรณยุกต์ 5 ต่ำ-ตก วรรณยุกต์ 6 กลาง-ตก) ผลการวิเคราะห์ทางกลสัทศาสตร์แสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างระหว่างสัทลักษณะของวรรณยุกต์ภาษาไทยอีสานที่พูดในชุมชนภาษาต่างๆระดับหนึ่ง ความต่างที่ชัดเจนที่สุดจะอยู่ในส่วนของพิสัยระดับเสียงของวรรณยุกต์ภาษาไทยอีสานที่ออกเสียงโดยผู้บอกภาษาจากชุมชนภาษาไทยอีสาน-กูย และไทยอีสาน-เขมร ซึ่งแคบกว่าของชุมชนภาษาอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด ระดับความสูง-ต่ำของวรรณยุกต์ 2 และ 5 ที่ออกเสียงโดยผู้บอกภาษาบางคนในชุมชนภาษาไทย อีสาน-กูย และชุมชนหลากภาษา แสดงให้เห็นความต่างจากที่ออกเสียงโดยผู้บอกภาษาชุมชนอื่นๆอย่างสังเกตเห็นได้ ลักษณะการขึ้น-ตกของวรรณยุกต์ภาษาไทยอีสานที่ออกเสียงโดยผู้บอกภาษาส่วนใหญ่ในชุมชนภาษาอื่นๆ พบว่าไม่ค่อยมีความแตกต่าง |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This research aims to analyze and compare the Northeastern Thai tones produced in five different types of speech communities in Sisaket province which are 1) Northeastern Thai, 2) Northeastern Thai-Kui, 3) Northeastern Thai-Khmer, 4) Northeastern Thai-Kui-Khmer, and 5) Multilingual community. There are two hypotheses. First, by auditory analysis along with the use of Gedney (1972) tone box, the pattern of tone split-mergers and the tone system(s) in the speech of the language participants from five communities are similar. Second, when analyzed by an acoustic method, the characteristics of the Northeastern Thai tones produced in each community are different in pitch height, pitch contour, and pitch range. The data of this research was collected from fifteen female native speakers of Northeastern Thai who live in the communities stated previously by two processes. The first part of the data was collected and analyzed via an auditory method with the use of Gedney’s tonebox. The second part was collected and analyzed by using Praat version 5.3.35. The results show that there are two patterns of tone split-mergers and two tone systems produced by fifteen speakers. Both patterns show similarities in the split-mergers of the tone in columns B, C, and DL but an important difference in column A. The majority speakers’ (thirteen speakers) tone system consists of five tones (Tone 1: low-rising, Tone 2: high-falling, Tone 3: high-level, Tone 4: low-level, Tone 5: mid-falling) and the minority speakers’ consists of six tones (Tone 1: low-rising, Tone 2: low-falling, Tone 3: high-falling, Tone 4: high-level, Tone 5: low-level, Tone 6: mid-falling). The results of the acoustic analysis suggest that there are some differences in the characteristics of the Northeastern Thai tones spoken in five communities. The major difference is the pitch range of the Northeastern Thai tones spoken in the Northeastern Thai-Kui and Northeastern Thai-Khmer communities which is significantly narrower than other communities. The pitch height of tone 2 and tone 5 produced by some speakers of Northeastern Thai-Kui and the Multilingual community shows noticeable difference from those produced by the rest of the speakers. The pitch contour of the Northeastern Thai tones produced by most speakers shows the least dissimilarity. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.712 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ภาษาไทยถิ่นอีสาน -- สัทศาสตร์ |
th |
dc.subject |
ภาษาไทยถิ่นอีสาน -- หน่วยเสียง |
th |
dc.subject |
ภาษาไทยถิ่นอีสาน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- ศรีสะเกษ |
th |
dc.subject |
ภาษาศาสตร์ |
th |
dc.subject |
ภาษาไทยถิ่นอีสาน -- วรรณยุกต์ |
th |
dc.subject |
Northeastern Thai language -- Phonetics |
en_US |
dc.subject |
Northeastern Thai language -- Phonemics |
en_US |
dc.subject |
Northeastern Thai language -- Thailand, Northeastern -- Sisaket |
en_US |
dc.subject |
Linguistics |
en_US |
dc.title |
วรรณยุกต์ภาษาไทยอีสาน จังหวัดศรีสะเกษ ใน 5 ชุมชนภาษา |
en_US |
dc.title.alternative |
NORTHEASTERN THAI TONES IN FIVE SPEECH COMMUNITIES IN CHANGWAT SISAKET |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ภาษาศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
theraphan.l@chula.ac.th |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2014.712 |
|