Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่มกับโปรแกรมการศึกษาทางอาชีพด้วยตนเองต่อวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนชั้นมัธมศึกษาปีที่ 3 กลุ่ม ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมแพศึกษา จังหวัดขอนแก่น จำนวน 24 คน โดยสุ่มแบบจำแนกชั้นภูมิเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน กลุ่มทดลอง (A) ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่ม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวม 12 ครั้ง โดยมีผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม กลุ่มทดลอง (B) ได้รับโปรแกรมการศึกษาทางอาชีพด้วยตนเอง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวม 12 ครั้ง โดยมีครูแนะแนวของโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ กลุ่มควบคุม (C) ไม่ได้รับการช่วยเหลือด้วยวิธีใด ๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพ มาตรวัดทัศนคดิของจอห์น โอ ไคร์ทส ซึ่งแปลและเรียนเรียงโดย ดร. พรรณราย ทรัพยะประภา ใช้การวิจัยแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-Posttest Control Group Design) ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนวุติภาวะทางอาชีพ จากการทดสอบก่อนการทดลอง และหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ดดยวิธีของเซฟเฟ (Scheffe) พบว่า กลุ่มทดลอง (A) ที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่มมีคะแนนวุฒิภาวะสูงกว่ากลุ่มทดลอง (B) ที่ได้รับโปรแกรมการศึกษาทางอาชีพด้วยตนเองและกลุ่มควบคุม (C) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่ากลุ่มทดลอง (B) ที่ได้รับโปรแกรมการศึกษาทางอาชีพด้วยตนเองมีคะแนนวุฒิภาวะทางอาชีพสูงกว่ากลุ่มควบคุม (C) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05