Abstract:
วิทยานิพนธ์เรื่องตัวละครผู้สูงอายุในนวนิยายไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด และกลวิธีการนำเสนอตัวละครผู้สูงอายุที่ปรากฏในนวนิยายไทยระหว่าง พ.ศ.2525-2548 ที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าของผู้สูงอายุในสังคมไทย โดยศึกษาจากนวนิยายของนักเขียนที่เคยได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรท์)หรือรางวัลจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ที่ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ.2525-2548 ซึ่งมีผู้สูงอายุเป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่อง จำนวน ๙ เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า ในด้านแนวคิด นวนิยายทุกเรื่องมีแนวคิดเน้นความสำคัญและคุณค่าของผู้สูงอายุ โดยสามารถสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุคือทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าสำหรับครอบครัว และสังคม พร้อมทั้งแสดงให้เห็นว่าอายุไม่ใช่อุปสรรคของการอยู่ร่วมกันระหว่างคนต่างวัย หากบุคคลยอมรับความแตกต่างบนพื้นฐานของความเข้าใจ ด้านกลวิธีการนำเสนอตัวละครผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ 1) กลวิธีการนำเสนอตัวละครเอก โดยแบ่งออกเป็น กลวิธีการนำเสนอตัวละครเอกเดี่ยว และกลวิธีการนำเสนอตัวละครเอกคู่ขนาน 2) กลวิธี การนำเสนอตัวละครรอง โดยแบ่งออกเป็น กลวิธีการนำเสนอตัวละครรองเดี่ยว และกลวิธ การนำเสนอตัวละครรองรองคู่ขนาน ทั้งแนวคิดและกลวิธีการนำเสนอตัวละครผู้สูงอาย สามารถแสดงคุณค่าของผู้สูงอายุในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ การเป็นที่พึ่งให้แก่บุตรหลาน การเป็นผู้สืบทอดความคิดจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ทำหน้าที่แทนบิดามารดา ปลูกฝังคุณธรรมให้แก่ชนรุ่นหลัง เป็นสื่อแสดงความรู้สึกและความต้องการของผู้สูงอายุในสังคมไทย