DSpace Repository

การนำเสนอรูปแบบการบูรณาการเชิงผสานรวมความรู้สู่การจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยภายใต้องค์การบริหารส่วนตำบลหลังการกระจายอำนาจทางการศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร
dc.contributor.advisor พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
dc.contributor.author อุไรวาส ปรีดีดิลก
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-06-23T06:29:50Z
dc.date.available 2017-06-23T06:29:50Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53097
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการบูรณาการเชิงผสานรวมความรู้สู่การจัด โปรแกรมการศึกษาปฐมวัยภายใต้องค์การบริหารส่วนตำบลหลังการกระจายอำนาจทางการ ศึกษา ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การเตรียมการสร้างรูปแบบฯ (2)การสร้างรูปแบบฯ (3) การทดสอบภาคสนาม (4) การปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบฯ ผลการวิจัยดังนี้ รูปแบบการบูรณาการเชิงผสานรวมความรู้สู่การจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยภายใต้ องค์การบริหารส่วนตำบลหลังการกระจายอำนาจทางการศึกษา ประกอบด้วย 6 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1) ความนำ 2) วัตถุประสงค์ 3) แนวคิดพื้นฐาน ประกอบด้วย การให้เด็กเป็นศูนย์กลางการพัฒนา โดยคำนึงถึงบริบทและ ระดับชั้นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก และการดำเนินงานโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยในลักษณะพึ่งตนเอง 4) หลักการของรูปแบบฯ ประกอบด้วย การให้บริการดูแลและอบรมเลี้ยงดูเด็กที่มีมาตรฐาน การจัดโปรแกรมการศึกษา ปฐมวัย โดยคำนึงถึงและตอบสนองต่อความต้องการของเด็ก ผู้ปกครองและชุมชน การจัดการศึกษาที่บูรณาการหลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการศึกษาปฐมวัย โดยการเชื่อมแนวคิดทางการศึกษาอื่นๆ ตลอดจนแนวนโยบายในการจัดการศึกษาของรัฐเข้าด้วยกัน การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม และการให้ทุกภาคส่วนได้แก่ ผู้ปกครอง ชุมชน ส่วนราชการต่างๆ เข้ามามีบทบาทร่วมในการจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัย 5) กระบวนการของรูปแบบมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การวิเคราะห์ระบบความสัมพันธ์ภายใต้บริบทของการจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยขององค์การบริหารส่วนตำบล (2) การกำหนดกลไกในการดำเนินการจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัย (3) การบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติในการจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัย (4) การประเมินผลการปฏิบัติงานตามรูปแบบฯ 6) ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของรูปแบบ รูปแบบการบูรณาการเชิงผสานรวมความรู้สู่การจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยภายใต้องค์การบริหารส่วนตำบลหลังการกระจายอำนาจทางการศึกษานี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามความหลากหลายของบริบทเพื่อ ให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของแต่ละชุมชน en_US
dc.description.abstractalternative This was a research and development study, its propose was to propose a model of knowledge integration for early childhood program organization under subdistrict administrative organization after educational decentralization, The research process was diving into 4 stage (1) preparation for model construction (2) model construction (3) field test (4) modification and proposing model. The research findings were as follows: The proposed model of knowledge integration for early childhood program organization under subdistrict administrative organization after educational decentralization comprised of six important parts including: 1) Introduction, 2) Objectives, 3) Fundamental concepts consisted of (1) providing the child as center of development concerning with context and level of relationships among the child’s surroundings; (2) operation of early childhood program through self dependence; (4) Principles of the proposed model including: (1) Standard Educare Service, (2) Meeting Needs of Children, Parents, and Community, (3) Associate Knowledge Integration, (4) Resource Management Effectively, and (5) Team Cooperation, 5) Process of model consisted of five steps including (1) an system analysis of relationship with in the context of early childhood program organization of subdistrict administrative organization after educational decentralization, (2) creating mechanism of early childhood program organization of subdistrict administrative organization after educational decentralization (3) knowledge integration for early childhood program organization, (4) evaluation of model implementation; 6) Factors leading to model success. The proposed model of knowledge integration for early childhood program organization under subdistrict administrative organization after educational decentralization can be applied for implementing in child development centers under various context for an appropriateness of each unique community. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1295
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การศึกษาปฐมวัย en_US
dc.subject องค์การบริหารส่วนตำบล en_US
dc.subject การบริหารการศึกษา en_US
dc.subject Early childhood education en_US
dc.subject Local government en_US
dc.title การนำเสนอรูปแบบการบูรณาการเชิงผสานรวมความรู้สู่การจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยภายใต้องค์การบริหารส่วนตำบลหลังการกระจายอำนาจทางการศึกษา en_US
dc.title.alternative A proposed model of knowledge integration for early childhood program organization under subdistric administrative organization after education decentralization en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline การศึกษาปฐมวัย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Udomluck.K@Chula.ac.th
dc.email.advisor pruet.s@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.1295


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record