Abstract:
บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อยู่ในหมวดหินภูเพซึ่งเป็น หมวดหินที่มีอายุมากที่สุดใน กลุ่มหินสระบุรี โดยมีลักษณะเด่นเป็นหินปูนสีเทาเข้ม มีการแทรกสลับกับหินดินดาน กึ่งชนวนและหินเชิร์ต ซึ่งในพื้นที่นี้มีโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อนมาก การศึกษาอายุโดยการทำลำดับชั้นหิน ทางชีวภาพ และการศึกษาซากดึกดำบรรพ์จะเป็นตัวช่วยวิเคราะห์โครงสร้างทางธรณีวิทยา ตัวอย่างหินทั้งหมด 27 ตัวอย่าง ทำเป็นแผ่นหินบางเพื่อศึกษาศิลาวรรณนา สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ bioclastic packstone, crinoidal packstone - crinoidal rudstone และ calcareous shale และซากดึกดาบรรพ์ที่พบ ได้แก่ ไครนอยด์ ฟอแรม ไบรโอซัว สาหร่าย และฟิวซูลินิด จากการศึกษาทางธรณีวิทยา และการศึกษาศิลาวรรณนาของหินคาร์บอเนต ในบริเวณพื้นที่ศึกษาพบว่า การสะสมตัวของตะกอนอยู่บริเวณน้าทะเลตื้น อยู่ระหว่างบริเวณที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากสภาพอากาศแต่ได้รับ อิทธิพลจากพายุ โดยจัดเป็น carbonate mid ramp และการศึกษาในครั้งนี้ยังสามารถปรับปรุงแผนที่ธรณีวิทยา ในพื้นที่ศึกษา