Abstract:
หินโผล่ของหมวดหินมอนเทอเรย์ (The Monterey Formation) บริเวณด้านตะวันตกเฉียงใต้ ของชายฝั่งแคลิฟอร์เนียปรากฏลักษณะของรอยแตกและลักษณะทางธรณีวิทยาโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง ในหลายระดับ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการแปรสัณฐานทางธรณีวิทยายุคนีโอซีน ในกระบวนการมุดตัว ของแผ่นเปลือกโลกฟาราลอนใต้แผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ วิวัฒนาการของชั้นหินคดโค้งและรอย เลื่อนย้อนมุมต่ำตะวันตกและวิวัฒนาการของระบบรอยเลื่อนแบบขวาเข้าซานแอนเดรียส นอกจากนี้ ยังมีลักษณะเป็นชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมและเส้นทางการเคลื่อนที่ของของไหลที่สำคัญอีกด้วย จากการสำรวจภาคสนามและเก็บข้อมูลของรอยแตกและลักษณะทางธรณีวิทยาโครงสร้างอื่น ที่พบในระดับกลาง (Mesoscopic scale) บริเวณหินโผล่หน้าผาตลอดแนวชายหาดอาร์โรโยเบอร์โร เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร รวมทั้งการบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์รอยแตกโดยอาศัยภาพถ่ายและ การกำหนดตำแหน่งข้อมูลในตาข่ายมิติสเตอริโอกราฟิกชนิดพื้นที่เท่าและแผนภาพกุหลาบ สามารถ สรุปผลได้ดังนี้ (1) หินโผล่ในพื้นที่ศึกษาปรากฏลักษณะรอยแตกที่มีความสัมพันธ์กัน 6 ประเภท ได้แก่ รอยแตกที่ตั้งฉากกับชั้นหิน รอยแตกในแนวดิ่ง รอยแตกในแนวระดับ รอยเลื่อนย้อน รอยเลื่อนปกติ และรอยเลื่อนตามแนวระดับ (2) มีแรงหลักมากระทำแบบบีบอัดในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตก เฉียงใต้ ซึ่งสัมพันธ์กับลักษณะธรณีแปรสัณฐานของพื้นที่ (3) รอยแตกมีความสัมพันธ์หลักกับการเกิด ชั้นหินคดโค้งและรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำและมีความสัมพันธ์รองกับการเกิดรอยแตกเฉือน (4) มีลำดับขั้น กลไกการเกิดและวิวัฒนาการของรอยแตก 4 ลำดับขั้นได้แก่ ลำดับขั้นการสะสมตัว ลำดับขั้น การดึง ออก ลำดับขั้นการเฉือนและการบีบอัด และลำดับขั้นการบีบอัด