dc.contributor.advisor |
อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ |
|
dc.contributor.advisor |
ทวี คุปต์กาญจนากุล |
|
dc.contributor.author |
วิไล เตียวยืนยง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.coverage.spatial |
พระนครศรีอยุธยา |
|
dc.date.accessioned |
2017-11-21T04:11:48Z |
|
dc.date.available |
2017-11-21T04:11:48Z |
|
dc.date.issued |
2537 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56023 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537 |
en_US |
dc.description.abstract |
ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งที่มีผลทำให้โลกร้อนขึ้น โดยนาข้าวเป็นแหล่งหนึ่งที่ปล่อยก๊าซมีเทนเนื่องจากกิจกรรมมนุษย์ การศึกษาการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวชนิดนาสวนและนาข้าวขึ้นน้ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการโดยวางแผนการทดลองแบบ randomized complete blocks ทำ 3 ซ้ำ ปลูกข้าวแบบนาหว่านด้วยวิธีการปลูกข้าวชนิดนาสวน ใช้ข้าวพันธุ์ กข 23,พันธุ์สุพรรณบุรี 90 และวิธีการปลูกข้าวชนิดนาข้าวขึ้นน้ำ ใช้ข้าวพันธุ์หันตรา 60, พันธุ์เล็บมือนาง 111 เก็บตัวอย่างก๊าซมีเทนโดยใช้กล่องครอบดักก๊าซใน 4 ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวคือ ระยะแตกกอ ระยะตั้งท้อง ระยะสร้างเมล็ด ระยะเมล็ดแก่ 6 ช่วงเวลา ตั้งแต่เวลา 6.00 ถึง 22.00 นาฬิกา วิเคราะห์ตัวอย่างก๊าซมีเทนด้วยวิธี gas chromatography (Flame Ionization Detector, FID) ผลการศึกษาพบว่า การปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวชนิดนาสวนและนาข้าวขึ้นน้ำตลอดฤดูกาลปลูกข้าวของพันธุ์สุพรรณบุรี 90, พันธุ์ กข. 23, พันธุ์เล็บมือนาง 111 และพันธุ์หันตรา 60 คือ 68.66, 63.720, 32.870 และ 15.200 กรัมต่อตารางเมตร ตามลำดับ หากประเมินการปล่อยก๊าซมีเทนจากพื้นที่ปลูกข้าวนาปีของประเทศไทยด้วยพันธุ์สุพรรณบุรี 90, พันธุ์ กข 23, พันธุ์เล็บมือนาง 111 และพันธุ์หันตรา 60 คือ 5.539, 5.140, 2.652 และ1.226 เทระกรัมต่อปี ตามลำดับ (1 เทระกรัมเท่ากับ 1 ล้านต้น) ต้นข้าวเป็นทางผ่านก๊าซมีเทนสู่อากาศ อัตราเฉลี่ยของการปล่อยก๊าซมีเทนจากพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 90, พันธุ์ กข 23, พันธุ์เล็บมือนาง 111 และพันธุ์หันตรา 60 คือ 20.570, 18.920, 7.216 และ 3.332 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อชั้วโมง ตามลำดับ ระยะตั้งท้องของต้นข้าวนั้นพันธุ์ กข 23 และพันธุ์สุพรรณบุรี 90 มีอัตราการปล่อยก๊าชมีเทนสูงสุด ในขณะที่พันธุ์เล็บมือนาง 111 และพันธุ์พันตรา 60 เกิดขึ้นในระยะสร้างเมล็ด ดังนั้นลำดับของอัตราการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวสูงสุดคือพันธุ์สุพรรณบุรี 90, พันธุ์ กข 23, พันธุ์เล็บมือนาง 111 และพันธุ์หันตรา 60 ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวทั้งสองวิธีคือ ต้นข้าว พันธุ์ข้าว ความสูง ของพันธุ์ข้าว มวลชีวภาพของพันธุ์ข้าว ระดับน้ำภายในแปลงนา ความชื้นของดิน สภาพการขาดก๊าซออกซิเจนของดิน และความเป็นกรดเป็นด่างของดิน |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Methane is a greenhouse gas effected global warming. Rice cultivation has been a methane emission resulted from haman activity. Field study about methane emission and factors affected the emission from lowland rice and floating rice was conducted in Phra Nakhon Si Ayutthaya provice. Experimental design was randomized complete blocks with 3 replications. Planting rice was sown broadcast for two cultural practices. Rice varieties were RD 23, Suphanburi 90 for lowland rice and Huntra 60, Leb Mue Nahng 111 for floating rice. Closed chamber was collection method. Four rice plant stages of growth consisting of tillering, booting, grain development, and maturation were measured. During 6.00 a.m. – 22.00 p.m. a day gas sample was collected 6 times. Gas chromatography (flame ionization detector, FID) was an analytical technique for methane. The results showed that total amounts of methane emission from rice field planted with Suphanburi 90, RD 23, Leb Mue Mahng 111, and Huntra 60 rice varieties were 68.666, 63.720, 32.870, and 15.200 gram/square meter, respectively. The annual methane emission from rice fields in Thailand during wet season crop estimated base on Suphanburi 90, RD 23, Leb Mue Nahng 111, and Huntra 60 rice fields were 5.539, 5.140, 2.652, and 1.226 teragram, respectively. (1 teragram=1 million metric ton). Rice plant was methane emission route from rice fields that travelled through the atmosphere. Average methane emission rate from Suphanburi 90, RD 23, Leb Mue Nahng 111, and Huntra 60 rice fields were 20.570, 18.920, 7.216, and 3.332 milligram/square meter/hour, respectively. Booting stage was the highest methane emission rate of RD 23 and Suphanburi 90. In part of grain development stage was the high test for Huntra 60 and Leb Mue Nahnbg 111. Therefore, order of the highest methane emission rate from rice fields with consideration of rice varieties were Suphanburi 90, RD 23, Leb Mue Nahng 111, and Huntra 60. Factors affecting the methane emission from lowland rice and floating rice fields were rice plant, rice variety, height of rice plant, biomass of rice plant, water level within rice field, soil moisture, anoxic condition of soil, and soil pH. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ข้าว -- การปลูก -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา |
en_US |
dc.subject |
ก๊าซเรือนกระจก -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา |
en_US |
dc.subject |
ก๊าซจากพืช -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา |
en_US |
dc.subject |
มีเทน -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา |
en_US |
dc.subject |
มีเทนในบรรยากาศ -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา |
en_US |
dc.subject |
Rice -- Planting -- Environmental aspects -- Thailand -- Phra Nakhon Si Ayutthaya |
en_US |
dc.subject |
Greenhouse gases -- Thailand -- Phra Nakhon Si Ayutthaya |
en_US |
dc.subject |
Gases from plants -- Thailand -- Phra Nakhon Si Ayutthaya |
en_US |
dc.subject |
Methane -- Environmental aspects -- Thailand -- Phra Nakhon Si Ayutthaya |
en_US |
dc.subject |
Atmospheric methane -- Thailand -- Phra Nakhon Si Ayutthaya |
en_US |
dc.title |
การปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวชนิดนาสวนและนาข้าวขึ้นน้ำ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
en_US |
dc.title.alternative |
Methane emission from lowland rice fields and floating rice fields in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Orawan.Si@chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|