DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างความว้าเหว่ อารมณ์ซึมเศร้า การเห็นคุณค่าในตนเอง การควบคุมตนเอง ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ กับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไป

Show simple item record

dc.contributor.advisor กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
dc.contributor.advisor สมบุญ จารุเกษมทวี
dc.contributor.author จริยา ปานเกษม
dc.contributor.author รวิสรา ลิ้ม
dc.contributor.author ลันชกร ศรีประเสริฐวงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2018-03-21T02:34:21Z
dc.date.available 2018-03-21T02:34:21Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57875
dc.description โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความว้าเหว่ อารมณ์ซึมเศร้า การเห็นคุณค่าในตนเอง การควบคุมตนเอง ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ กับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไป โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี จำนวน 151 คน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไป มาตรวัดความว้าเหว่ มาตรวัดอารมณ์ซึมเศร้า มาตรวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง มาตรวัดการควบคุมตนเอง และมาตรวัดความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ผลการวิจัยสนับสนุนสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้อินเทอร์เน็ตมาเกินไป กล่าวคือ ความว้าเหว่มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .32, p < .01, หนึ่งหาง) อารมณ์ซึมเศร้ามีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .32, p < .01, หนึ่งหาง)การเห็นคุณค่าในตนเองมีสหสัมพันธ์ทางลบกับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.30, p < .01, หนึ่งหาง) การควบคุมตนเองมีสหสัมพันธ์ทางลบกับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.44, p < .01, หนึ่งหาง) ความไม่มั่นคงทางอารมณ์มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .29, p < .01, หนึ่งหาง) ในส่วนของสมมติฐานที่เกี่ยวกับข้องกับการที่ความว้าเหว่ อารมณ์ซึมเศร้า การเห็นคุณค่าในตนเอง การควบคุมตนเอง และความไม่มั่นคงทางอารมณ์ร่วมกันทำนายการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปนั้น พบว่า ได้รับการสนับสนุนในบางส่วน กล่าวคือ ตัวแปรอิสระทั้งหมดร่วมกันทำนายการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ร้อยละ 24 (R2= .24, p < .001) แต่มีเฉพาะการควบคุมตนเองเท่านั้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติในการทำนาย (β = -.34, p < .001) en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this research study was to examine the relationships among loneliness, depressive mood, self-esteem, self-control, neuroticism, and internet excessive use. Data were collected from 151 undergraduate students from Chulalongkorn University. Participants responded to a set of questionaires measuring internet excessive use, loneliness, depressive mood, self-control, and neuroticism As hypothesized, singnifiacant associations were found between internet excessive use and the variables examined. Internet excessive use was significantly and positively correlated with loneliness (r = .32, p < .01, one-tailed), narcissim (r = .29, p < .01, one-tailed), and depressive mood (r = .32, p < .01, one-tailed). Signifiacant negative correlations were found between internet excessive use and self-esteem (r = -.30, p < .01, one-tailed) as well as self-control (r = -.44, p < .01, one-tailed).In terms of how these variables predicted internet excessive use, the hypothesis was partitially supported. When examined together, loneliness, depressive mood, self-esteem, self-control and neuroticism singnifiacantly predicted internet excessive use and accounted for 24 of its variance (R2= .24, p < .001). However, only the standardized regression coefficient of self-control (β = -.34, p < .001) was significant. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject ผู้ติดอินเทอร์เน็ต -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject อินเทอร์เน็ตกับวัยรุ่น -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject อินเทอร์เน็ต -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject Internet users -- Psychological aspects en_US
dc.subject Internet addicts -- Psychological aspects en_US
dc.subject Internet and teenagers -- Psychological aspects en_US
dc.subject Internet -- Psychological aspects en_US
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างความว้าเหว่ อารมณ์ซึมเศร้า การเห็นคุณค่าในตนเอง การควบคุมตนเอง ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ กับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไป en_US
dc.title.alternative Relations among loneliness, depreessive mood, self-esteem, self-control, neuroticism, and internet excessive use en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Kullaya.D@Chula.ac.th
dc.email.advisor Somboon.J@Chula.ac.th,somboon.kla@gmail.com


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record