dc.contributor.author |
รัตนา จักกะพาก |
|
dc.contributor.author |
ระวี สัจจโสภณ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.date.accessioned |
2018-05-07T04:30:27Z |
|
dc.date.available |
2018-05-07T04:30:27Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58703 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่อง สื่อเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย : สภาพการณ์ปัจจุบัน ความคาดหวัง แนวโน้มในอนาคต และการกำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุก เป็นการวิจัยแบบสหวิธี (Multi-Methodology) โดยผสมผสานการวิจัยเชิง ปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ของการ วิจัย (1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของสื่อเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อ และความคาดหวังต่อสื่อสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย (3) เพื่อศึกษาแนวโน้มใน อนาคตของสื่อเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทยและจัดทำยุทธศาสตร์เชิงรุกของสื่อเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขัน้ ตอนตามวัตถุประสงค์การวิจัย คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของสื่อเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย เป็นการวิเคราะห์ เอกสารเกี่ยวกับสภาพการณ์ปัจจุบันของสื่อเพื่อผู้สูงอายุและการศึกษารายละเอียดของสื่อต่างๆ ที่เสนอเกี่ยวกับ ผู้สูงอายุ โดยพิจารณาในประเด็นหลัก ต่อไปนี ้ประเด็น/เนือ้ หาสาระที่นำเสนอ ความถี่/ความบ่อยครั้งในการ นำเสนอ ความต่อเนื่องในการนำเสนอ ความหลากหลายของช่องทางในการนำเสนอ รูปแบบรายการ/วิธีการ นำเสนอ และช่องทางการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุต่อสื่อเพื่อผู้สูงอายุ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาพฤติกรรมการเปิ ดรับสื่อ ปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อ และความ คาดหวังต่อสื่อสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยการ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุรายบุคคล (In-depth interview) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ปัญหาอุปสรรคใน การใช้สื่อ ความคาดหวังต่อสื่อสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย และแนวโน้มในอนาคตของสื่อเพื่อผู้สูงอายุใน ประเทศไทย ประชากร คือ ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึน้ ไป) ใน 5 ภูมิภาค ประกอบด้วย ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ที่อาศัยอยู่ทัง้ ในเขตเมืองและเขตชนบท รวมถึงประชากร ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึน้ ไป) ใน 5 ภูมิภาค จำนวน 600 คน ผู้วิจัย กำ หนดวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling Design) ผู้วิจัยจึงทำ การเลือก เฉพาะเจาะจง (Purposive Selecting) เฉพาะจังหวัดที่มีศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ใน 5 ภูมิภาค 5 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยภาคกลาง คือ จังหวัดนครปฐม ภาคเหนือ คือ จังหวัด เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดขอนแก่น ภาคตะวันออก คือ จังหวัดตราด ภาคใต้ คือ จังหวัด ตรัง และกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะเป็นเขตการปกครองพิเศษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ( X ) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการเปรียบเทียบความแตกต่าง โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) กรณีที่ตัวเเปรอิสระจำเเนกได้มากกว่า 2 ระดับและเมื่อทราบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการของ Scheffé ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี ้ 1) ผลการศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของสื่อเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย จากการวิเคราะห์ เอกสาร พบว่า สื่อสำหรับผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ประกอบด้วย สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อ ภาพยนตร์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อกิจกรรม สื่อพืน้ บ้าน สื่ออินเทอร์เนต และสื่อมือถือ โดยผลการวิจัยส่วนใหญ่ เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ผู้สูงอายุในเขตชนบทเปิดรับสื่อประเภทสื่อบุคคลมากที่สุด ในขณะที่ผู้สูงอายุในเขต เมืองจะเปิดรับสื่อประเภทสื่อโทรทัศน์มากที่สุดเนือ้ หาสาระที่สื่อนำเสนอแบ่งได้เป็น 5 ด้าน คือ เนือ้ หาสาระ เกี่ยวกับด้านสุขภาพอนามัยและการนันทนาการ ด้านการปรับตัวด้านสังคมและการพัฒนาจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ และการออม ด้านกฎหมายและสวัสดิการสังคม และด้านข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ โดย เนื้อหาที่สื่อเพื่อผู้สูงอายุนำเสนอส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยและการ นันทนาการ 2) ผลการศึกษาพฤติกรรมการเปิ ดรับสื่อ ปัญหาอุปสรรคในการใช้สื่อ และความคาดหวังต่อ สื่อสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย พบว่า การเปรียบเทียบพืน้ ที่ที่อาศัยของผู้สูงอายุกับพฤติกรรม ปัญหาและ อุปสรรคการใช้สื่อต่างๆ พบว่า พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประเภทต่างๆ พฤติกรรมการรับชมรายการโทรทัศน์ พฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุ และพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์รายวันของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเมืองและ เขตชนบท/ปริมณฑล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม และ ปัญหาและอุปสรรคการใช้สื่อต่างๆ ของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเมืองและเขตชนบท/ปริมณฑล ไม่แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเปรียบเทียบอายุของผู้สูงอายุกับพฤติกรรม ปัญหาและอุปสรรคการใช้สื่อ ต่างๆ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุแตกต่างกันมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อประเภทต่างๆ พฤติกรรมการรับชมรายการ โทรทัศน์ พฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุ และพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ 0.05 ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุแตกต่างกันมีพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์รายวัน และปัญหาและอุปสรรคการ ใช้สื่อต่างๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 การเปรียบเทียบเพศของผู้สูงอายุกับพฤติกรรม ปัญหาและ อุปสรรคการใช้สื่อต่างๆ พบว่า พฤติกรรมการรับชมรายการโทรทัศน์ พฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุ และ พฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์รายวันของผู้สูงอายุที่เป็นเพศชายและเพศหญิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพฤติกรรมการเปิดรับสื่อประเภทต่างๆ พฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม และปัญหาและ อุปสรรคการใช้สื่อต่างๆ ของผู้สูงอายุที่เป็นเพศชายและเพศหญิง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลการศึกษาแนวโน้มในอนาคตของสื่อเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทยและจัดทำยุทธศาสตร์ เชิงรุกของสื่อเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย |
en_US |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนสนับสนุนโครงการส่งเสริมการทำงานวิจัยเชิงลึกในสาขาวิชาที่มีศักยภาพสูง ปีงบประมาณ 2553 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2220 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ผู้สูงอายุ -- ไทย |
en_US |
dc.subject |
ผู้สูงอายุ -- การสื่อสาร |
en_US |
dc.subject |
สื่อมวลชนกับผู้สูงอาย |
en_US |
dc.subject |
อินเทอร์เน็ตกับผู้สูงอายุ |
en_US |
dc.subject |
การวางแผนผู้สูงอายุ |
en_US |
dc.title |
โครงการวิจัย เรื่อง สื่อเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย : สภาพการณ์ปัจจุบัน ความคาดหวัง แนวโน้มในอนาคตและการกำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุก :รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
en_US |
dc.title.alternative |
Media for the elderly in Thailand : current situations, expecations, future trends, and proactive strategic planning |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |
dc.email.author |
Ratana.C@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2011.2220 |
|