DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมพลศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะแบบองค์รวมสำหรับเด็กอนุบาล

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมบูรณ์ อินทร์ถมยา
dc.contributor.advisor จีระพันธุ์ พูลพัฒน์
dc.contributor.author ยงยุทธ ฮิ้นเจริญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-02-23T10:56:08Z
dc.date.available 2019-02-23T10:56:08Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61215
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en_US
dc.description.abstract พัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมพลศึกษา เพื่อพัฒนาสุขภาวะแบบองค์รวมสำหรับเด็กอนุบาล ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กิจกรรมพลศึกษา 12 กิจกรรม กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายและหญิงระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งได้จากการที่ผู้วิจัยทำการสุ่มแบบง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบสุขภาวะแบบองค์รวม ด้วยการทดสอบมิติทางด้านร่างกาย มิติทางด้านจิตใจและปัญญา และมิติทางด้านสังคมไม่แตกต่างกัน ใช้ระยะเวลาการจัดกิจกรรม 6 สัปดาห์ๆ ละ 4 คาบๆ ละ 30 นาที ทดสอบสุขภาวะแบบองค์รวมในมิติทางด้านร่างกาย มิติทางด้านจิตใจและปัญญา และมิติทางด้านสังคม ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กิจกรรมพลศึกษาทั้ง 12 กิจกรรม มีการพัฒนาสุขภาวะแบบองค์รวมในมิติทางด้านร่างกาย มิติทางด้านจิตใจและปัญญา และมิติทางด้านสังคม สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กิจกรรมพลศึกษาทั้ง 12 กิจกรรม มีการพัฒนาสุขภาวะแบบองค์รวมในมิติทางด้านร่างกาย มิติทางด้านจิตใจและปัญญา และมิติทางด้านสังคม สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาตามปกติ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en_US
dc.description.abstractalternative To develop and to study the efficiency of physical education activities management model to enhance holistic health of kindergarteners between the experimental group that received physical education activities management using twelve physical education activities and the control group which received regular physical education activities management. The subjects were kindergarteners (boys and girls) in the 3rd year of kindergarten level. They were randomly divided into 2 groups with 20 students in both groups; experimental and control group; and then the holistic health was tested in 3 dimensions: physical dimension, intelligent and mental dimension ,and social dimension. The mean scores in both groups were not significantly different at .05 level. Duration of this research were 6 weeks, 4 sessions a week which and lasted 30 minutes in each session. The holistic health in physical dimension, intelligent and mental dimension, and social dimension were initially measured before the experiment, and finally after the experiment. The obtained data were then statistically analyzed in terms of the means, standard deviations, and t-test. The research results were as follows: 1. After the experiment, the experimental group that received physical education activities management in 12 activities had mean scores of holistic health (physical dimension, intelligent and mental dimension, and social dimension) higher than before experiment with statistically significant difference at .05 level. 2. After the experiment, the experimental group that received physical education activities management in 12 activities had mean scores in holistic health (physical dimension, intelligent and mental dimension, and social dimension) higher than before experiment when compared with the control group that received regular physical education activities management with statistically significant difference at .05 level. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1671
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject นักเรียนอนุบาล en_US
dc.subject การศึกษาขั้นอนุบาล en_US
dc.subject การศึกษาปฐมวัย en_US
dc.subject กิจกรรมการเรียนการสอน en_US
dc.subject พลศึกษาสำหรับเด็ก en_US
dc.subject Kindergarten en_US
dc.subject Early childhood education en_US
dc.subject Activity programs in education en_US
dc.subject Physical education for children en_US
dc.title การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมพลศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาวะแบบองค์รวมสำหรับเด็กอนุบาล en_US
dc.title.alternative A development of physical education activities management model to enhance holistic health of kindergarteners en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline พลศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Inthomya.s@gmail.com
dc.email.advisor Cheerapan.B@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.1671


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record