DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์เพื่อเสริมทักษะการทำงาน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา
dc.contributor.advisor พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
dc.contributor.author พรปภัสสร ปริญชาญกล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2020-01-16T09:43:09Z
dc.date.available 2020-01-16T09:43:09Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741750994
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64110
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์ในสถาบันราชภัฏ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์ของผู้เรียนสาขาวิชาศิลปศาสตร์ ในสถาบันราชภัฏ และศึกษาผลจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์ที่เสริมสร้างทักษะการทำงานในด้านทักษะการปฏิบัติ การแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2546 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบประเมินความสามารถในการทำงานเป็นทีม ซี่งวัดสองช่วง คือ ช่วงแรก คือ ช่วงก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ช่วงที่สองคือช่วงเสร็จสิ้นการทดลองสอนหนึ่งเดือน ส่วนแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวัด 2 ครั้ง คือ ก่อนเรียน และหลังเสร็จสิ้นการเรียน ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การรายงานตนเอง และแฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินทักษะในการปฏิบัติ สำหรับรูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างเสริมและรับรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ในขณะเดียวสันผู้สอนเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงผลการเรียนรู้ในแฟ้มสะสมงานเพื่อสะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคน วิธีการสอนเชิงประสบการณ์ประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 4 ขั้นตอน คือ การสร้างประสบการณ์จากการปฏิบัติกิจกรรม เป็นขั้นให้ผู้เรียนลงมือหรือทำกิจกรรมจากสภาพจริง ขั้นการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นขั้นการนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยใช้การพูดและการเขียนขั้นการสรุป เป็นขั้นสรุปผลการเรียนรู้ โดยสรุปสู่หลักการหรือสู่มุมมองหรือแบบแผนที่กว้างขึ้น และขั้นการประยุกต์ใช้ เป็นขั้นของการนำสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้โดยการจัดโครงงาน จัดกิจกรรม ผลิตเครื่องมือและสื่อประชาสัมพันธ์ซึ่งนำที่ผลิตขึ้นไปใช้ในชีวิตจริง ผลการทดลองสรุปได้ดังนี้ 1. การจัดการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์ในสาขาวิชาศิลปศาสตร์ในสถาบันราชภัฎ แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือการจัดการสอนเชิงประสบการณ์ในชั้นเรียน นอกชั้นเรียน และการผสมผสานระหว่างการสอนเชิงประสบการณ์ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน 2. หลังการทดลองนักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. หลังการทดลองนักศึกษากลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. หลังการทดลองนักศึกษากลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการทำงานเป็นทีมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. หลังการทดลองนักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการปฏิบัติสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6. หลังการทดลองหนึ่งเดือนกลุ่มทดลองมีความสามารถในด้านทักษะการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to assess the state of experiential instruction, and to develop an experiential instruction model to enhance work skills for Liberal Arts Students in Rajabhat Institutes and, finally, to study the result of implementing the experiential Instruction model in three aspects: practical skill, problem solving skill, and team working. The sampling group consisted of 30 second year students in Mass Communication program in Rajabhat Institutes, academic year 2003. Quantitative and qualitative methods were applied in this research. The research instruments for quantitative findings were learning achievement tests, problem-solving ability test and teamwork ability assessment. The research instrument for qualitative finding were observation form to record the students’ studying behavior, interview, self- report, and portfolio for work skills assessment. Experiential Instruction Model emphasizes learning from a direct experience in which learners have to do real practice in situation which help learners to acquire and gain knowledge from new experiences. Experiential Teaching Model consists of four steps as follows: direct experience approach, increasing awareness, reviewing and reflecting on experience and applying substitute experiences into practice. The results were as follows: 1. The experiential instruction for Liberal Arts Students in Rajabhat Institutes were divided into three models as: experiential teaching inside classroom, outside classroom and mixture between inside and outside classroom. 2. After experiment, average score of learning achievement of experiment group was statistically significant at 0.05 level higher than their pretest experiment score. 3. After experiment, average score of problem solving ability of experiment group was statistically significant at 0.05 level higher than their pretest experiment average score. 4. After experiment, average score of their ability in working as a team of experiment group was statistically significant at 0.05 level higher than their pretest experiment average score. 5. After experiment, average score of their ability in practice of experiment group was statistically significant at 0.05 level higher than their pretest experiment average score. 6. One month after experiment, the score of working skill and learning achievement of experiment group was statistically significant at 0.05 level.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การเรียนรู้แบบประสบการณ์ en_US
dc.subject การทำงานเป็นทีม en_US
dc.subject การแก้ปัญหา en_US
dc.title การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์เพื่อเสริมทักษะการทำงาน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ en_US
dc.title.alternative A development of experiential instruction model to enhance work skills for liberal arts students in Rajabhat Institutes en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record